ReadyPlanet.com


วีธีหาราคาหุ้นที่เหมาะสม 7 วิธี ( Valuation ) มี ( P/ E , FCF , DDM, EVA , DCF , BSC , DC )


การหาราคาหุ้นวิธีที่ 1      {   P" = ราคาของหุ้นที่เหมาะสม =  ( P/ E ) * E"  }

วิธีการหาราคาหุ้นด้วย  P/E
P = ราคาตลาด
E = EPS กำไรต่อหุ้น

E" = กำไรสุทธิประมาณการช่วงระยะเวลาข้าหน้า
P" = ราคาหุ้นที่เหมาะสมช่วงระยะเวลาข้างหน้า

 
การคำนวณ PE นั้น คนส่วนใหญ่จะเอา ค่า P กับ E ของปัจจุบันมาคำนวณ ซึ่งคำนวณออกมาแล้วจะถูกหรือแพง ผมมองว่ามันเป็นปัจจุบัน ไม่สามารถบอกอนาคตได้

ตัวอย่าง

หุ้นตัวนึง มีราคาตลาด (P) อยู่ที่ 5 บาท และมีกำไรต่อหุ้น (E) อยู่ที่ 0.25 เพราะฉะนั้น PE ของหุ้น ณ ปัจจุบันจะอยู่ที่ 20 เท่า ถามว่าแพงหรือไม่ โดยส่วนตัว VI จะมอง PE อยู่ที่ต่ำกว่า 10 เท่าถึงจะดี แต่ถ้าหากอยู่ในเกณฑ์ 12-15 ก็ถือว่าพอลงทุนได้ ซึ่งผมมองว่าเราไม่ควรนำเอา PE ในปัจจุบันมาประเมินอนาคต

ประเมินอนาคตด้วย E กัน
ในอนาคตหากเรา ประเมินว่า ปีหน้า หรืออีกหลายปีข้างหน้า กำไรต่อหุ้นจะเพิ่มจาก 0.25 เป็น 0.40 คือเพิ่มขึ้นอีก 0.15 บาทต่อหุ้น เพราะฉะนั้น PE จะเหลือแค่ 12.5 เท่า ซึ่งราคาปัจจุบันก็ถือว่ายังน่าสนใจลงทุน และยังไม่แพงจนเกินไป

แต่ หากเราประเมินว่าธุรกิจนี้จะแย่ลง (ด้วยปัจจัยอะไรก็ตามแต่) และกำไรต่อหุ้นจะลดลงเหลือ 0.15 เท่า ลดลงอีก 0.10 จะทำให้ค่า PE เพิ่มเป็น 33 เท่า ซึ่งก็ถือว่าแพงมาก ขนาดแค่ 20 เท่าก็คิดว่าแพงแล้วนะเนี่ย

ส่วน ตัว P ผมว่าหากเราประเมิน E ในอนาคตได้ เราก็จะประเมิน P ในอนาคตได้แบบคร่าวๆ และในความเป็นจริงตัว P มันจะปรับขึ้นหรือลงไปหาจุดที่เหมาะสมของมันเอง

แต่การประเมิน E นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ผมเคยอ่านหนังสือเขาบอกว่าถึงแม้ PE จะสูงก็ใช่ว่าราคาจะปรับสูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้ นั่นเป็นเพราะ ตัว E มันเพิ่มขึ้นทุกๆ ปีนั่นเอง

รอติดตามวิธีต่อไปกันนะครับ  เร็วๆนี้



ผู้ตั้งกระทู้ Cockpit Investment Center ( CFA ) :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-16 23:28:04 IP : 124.121.75.119


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3284872)

การหาราคาหุ้น วิธีที่ 2    DCF หรือ Discounted cash flow

เป็นการหามูลค่าของสินทรัพย์ 1 ใน 3 วิธีอันได้แก่

1. Cost approach
2. Market approach
3. Income approach

โดย DCF เป็นเครื่องมือนึงของวิธีที่ 3 โดยทำการคาดการณ์รายได้ของบริษัทที่จะทำได้ใน 5-10 ปีข้างหน้า แล้วทำการหามูลค่าปัจจุบันด้วย discounted rate ที่เหมาะสม

โดยมีตัวแปรที่ใช้คำนวณหลักๆ คือ
1. มูลค่าของผลตอบแทนในแต่ละปี (CF) ซึ่งมีหลาย model เช่น Net income, Dividend, Free cashflow, etc...
2. discounted rate (i) อันนี้แล้วแต่ model ที่จะใช้ ถ้าเป็น dividend approach model ก็อาจใช้ required return ของ investor เลย แต่ถ้าเป็น net income หรือ free cash flow ต้องใช้ WACC ของกิจการ หรือใช้ Return from risk free investment ก็จะได้อีกความหมายหนึ่ง แต่ถ้าจะเอาลึกๆจริงๆ จะใช้อันไหนก็ได้ แต่ความหมายของ NPV ที่คำนวณได้ก็จะเปลี่ยนไปตาม discounted rate ที่ใช้เอง
3. ระยะเวลาที่จะทำ projection (N ปี) ให้ project ไปเท่าที่เราจะคาดการณ์ได้ก็พอ เพราะไม่งั้นจะยิ่งเดายิ่งมั่วเข้าป่าไป ซึ่ง cash flow หลังจากช่วงที่เรา project ได้ เราก็จะคิดเป็น terminal value อยู่แล้วไม่ต้องห่วงว่าจะไม่เอามารวมในมูลค่ากิจการ

ซึ่งไอ้การเดา เอานี่แหละที่มันจะทำให้เกิดความผิดพลาด ดังนั้นเราจึงต้องเลือกกิจการที่มี DCA - Durable competitive advantage หรือความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะได้คาดการณ์กระแสเงินสดล่วงหน้าได้แม่นยำ

เสร็จแล้วก็หา NPV ซะ จากสูตรไปเปิดในหนังสือที่ไหนก็มี

NPV = Sum of [CFi/(1+i)^n] ; n=1-->N

โดย NPV ที่คำนวณได้ คือมูลค่าของสินทรัพย์ หรือกิจการนั้น
หากเราสามารถซื้อ Asset นี้ได้ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมัน
ก็เรียกว่ามี Margin of safety
ซึ่งเหมือนกับแนวคิดเรื่อง Safety factor ในการออกแบบ
และการกำหนด Safety factor ก็ขึ้นกับความมั่นใจในการคำนวณของเรานั่นเอง
สำหรับคุณบัฟเฟต เค้าใช้ Safety factor ประมาณ 2 เท่านะ คือหา NPV ได้เท่าไรก็จะซื้อที่ครึ่งราคา
และเข้าใจว่าเค้าใช้ FCF แต่ละปีแทนค่าใน CFi ในสูตรข้างบน
วิธีการประเมินราคาหุ้นนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี โดยแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ Discounting Model กับRelative Model

1. Discounting Model วิธีการประเมินราคาหุ้นแบบนี้มีวิธีคิดโดยอยู่บนพื้นฐานที่ว่า มูลค่าของหุ้นจะเกิดจากการคิดกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตแล้วปรับ ลดมาอยู่ในมูลค่าปัจจุบัน วิธีที่คิดจะได้เห็นกันบ่อยๆก็คือ Dividend discounted model โดยประเมินจากปันผลที่คาดที่ว่าจะได้รับในอนาคต หรือวิธี Discount cash flow โดยหลักมีคิดคล้ายๆกัน คือเอากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นอิสระ คือไม่ต้องใช้ลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์เพื่อรักษาสภาพของธุรกิจเอาไว้ แล้วคำนวณมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน

2. Relative Model วิธีนี้จะใช้การประเมินมูลโดยการเปรียบเทียบ พื้นฐานมาจากความคิดที่ว่า ของ 2 สิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ควรมีมูลค่าใกล้เคียงกัน ของที่มีคุณภาพที่สูงกว่าก็ควรมีมูลค่าสูงกว่า โดยสิ่งที่เอามาวัดเป็นคุณภาพของหุ้นนั้นก็มีใช้กันอยู่หลายอย่าง เช่น p/e, p/bv, p/fcf, p/sales ฯลฯ

จากพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นทั้ง 2 รูปแบบ ก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันพอสมควร

พวก กลุ่ม Discount มีข้อดีคือสามารถพิสูจน์ออกมาเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ชัดเจนทำให้ดูว่ามี ความน่าเชื่อถือสูง แต่กลับมีข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องประมาณอนาคตของบริษัทออกมาเป็นตัวเลขเป็นไปเป็นระยะเวลาหลาย ปี ซึ่งการประมาณตัวเลขเหล่านี้ให้ได้ใกล้เคียงความจริงเพียงแค่ปีสองปีก็นับ ว่ายากมากแล้ว ยิ่งเราต้องประมาณออกไปนานเท่าไหร่ โอกาสที่จะคาดการณ์ผิดก็ยิ่งสูงมากขึ้นเรื่อยๆ และวิธีนี้ยังมีเลขอีกตัวที่ต้องใช้คืออัตราส่วนคิดลด หรือ โดยการคิดก็มีหลายแบบอีก บางคนอาจจะใช้ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย หรือ อัตราผลตอบแทนที่ต้องการในการลงทุน ซึ่งแต่ละคนก็คิดได้ต่างกันไป จากการที่ต้องมีการประมาณตัวเลขผลประกอบการในอนาคต และอัตราส่วนคิดลด ทำให้ราคาที่คำนวณได้จากวิธี Discount นั้นแตกต่างกันมาก คน 2 คนที่มีข้อมูลหุ้นตัวหนึ่งเท่าๆกันอาจจะประเมินราคาออกมาห่างกันเป็นเท่าตัว ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะฉะนั้นการใช้งานจริงก็อาจจะยากเอามากๆ และเสียเวลาคิดนานมากเช่นกันกว่าจะได้คำตอบที่น่าเชื่อถือออกมา บางครั้งวิธีผมมองว่าเป็นวิธีแบบสั่งได้ อยากได้ราคาเป้าหมายเท่าไหร่บอกมา แก้ตัวเลขนิดๆหน่อยราคาเป้าหมายก็เปลี่ยนไปคนละเรื่องแล้ว แต่ผลลัพธ์คือ ปวดหัวเวลาคิด แถมยังเอามาใช้งานจริงไม่ค่อยได้

วิธีการหาราคาหุ้น กลุ่ม Relative นี้มีข้อดีอย่างหนึ่งเลยคือง่าย ... ไม่ต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซับซ้อนอะไรเลยครับ เพิ่งแค่ บวก ลบ คูณ หาร เป็นก็หาได้ไม่ยาก แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่มากเช่นกัน คือดูไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ พิสูจน์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้การประเมินก็ยังมีข้อจำกัดสำหรับหุ้นบางประเภทอยู่พอสมควร
dcf ใช้สำหรับบริษัทที่สามารถทราบ free cash flow ในระยะยาวๆ ได้
สามารถใช้เป็นราคาที่ควรจะเป็นในระยะยาว
เหมาะสำหรับคนที่ลงทุนในหุ้นหลายๆปี
การลงทุนเป็นลักษณะ stand alone
DCF ยุ่งยากในการคาดคะเนกระแสเงินสดในอนาคต
ประมาณว่า ต้องใช้สมมติฐานมาเกี่ยวข้องด้วย
แต่ถ้าได้ข้อมูลดี มูลค่าหุ้นที่คำนวณได้น่าจะแม่นยำกว่า
DCF จะใช้ได้ดีมากๆเมื่อเราสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดของบริษัทในระยะยาวได้ค่อน ข้างใกล้เคียง

ข้อเสีย
คำนวณ free cash flow & terminal value ให้ถูกต้องในระยะยาวได้ยาก
การคำนวณยุ่งยากกว่า
ไม่ได้เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาเกี่ยวข้อง
dcf หากจะใช้ค่าการเติบโตของfcfก็ต้องรู้ว่ากิจการกำลังจะทำอะไรในอนาคต หากใช้ค่าในอดีต ก็เสี่ยงน่าดู ปรกติไม่ค่อยใช้วิธีนี้เท่าไหร่ครับ เพราะมองไกลๆไม่ค่อยเห็น ไม่เหมาะกับ dcf คือ
1. แบงค์ ประกัน การเงิน ให้ใช้ cash flow to equity แทน
2. พวก conglomarate หรือ holding company เพราะถือหุ้นบริษัทเยอะไป ขี้เกียจคิดเลข

PE ใช้กำหนดราคาเป้าหมายในระยะสั้น การคำนวณเป็นลักษณะเปรียบเทียบ
คำนวณง่าย และ เข้าใจความหมายได้ง่าย
เอาอารมณ์ของตลาดเข้ามาคิดด้วย
ปัญหาคือ ระวังอย่าไปติดกับ E ปัจจุบัน หรือ E ที่ผ่านมา
กับอีกตัวคือ บางอุตสาหกรรมหรือ บริษัท ถึงแม้จะทำ E ได้ดี
แต่ Cash ที่ได้กับต้องไปลงทุนเพิ่มในทรัพย์สิน เช่น เครื่องจักร
ซึ่งมีโอกาสล้าสมัย เสื่อมค่ามาก ทำให้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในงบดุลนั้น
อาจแฝงเอาความด้อยค่าไว้อยู่มากก็ได้
ต้องพิจารณาอุตสาหกรรมและหุ้นแต่ละตัวไป
p/e ก็ต้องดูคุณภาพของeที่กลายเป็นเงินสดจริง การใช้ค่าตัวคูณก็ต้องประเมินจากความสามารถในการทำกำไรในอนาคต แสดงว่าต้องเข้าใจในธุรกิจก่อนทั้งนั้น

ข้อเสีย
กำหนด pe ที่เหมาะสมได้ยาก (มีหลายแบบให้เลือก เช่นใช้อุตสาหกรรมเดียวกันมาเฉลี่ย หรือ กำหนดเอาตามคุณภาพบริษัท)
ไม่ได้ดูระยะยาว ดูแค่ปีต่อปี
สามารถ mid lead the price ได้ถ้าใช้ pe ของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน

ตัวอย่างการนำไปใช้

การหา FCF เพื่อดูว่าแต่ละปี บริษัทมีเงินสดสุทธิที่แท้จริงที่บริษัทสามารถนำไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ กับผู้ถือหุ้น โดยเฉพาะการจ่ายปันผล หรือ การลงทุนในอนาคต ได้ปีละเท่าไหร่ ส่วนหนึ่งก็เป็นตัวบอกถึงคุณภาพของกำไรด้วย เพราะบางบริษัท มีกำไรสูง แต่ FCF ต่ำเพราะว่าต้องใช้การลงทุนมากเพื่อเพิ่ม growth แต่บางบริษัทสามารถเพิ่ม growth ได้โดยไม่ต้องลงทุนมาก ยกตัวอย่าง 2 บริษัท

บริษัทแรก มีกำไรปีละ 500 ล้านบาท ค่าเสื่อม 400 ล้าน แต่ต้องลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และต้องลงทุนเพิ่มอีก 1500 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ( ยอดขาย ) ในปีต่อไปอีก 15%
FCF = 500+400-200-1500 = -800 ล้านบาท

บริษัท 2 มีกำไรปีละ 500 ล้าน ค่าเสื่อม 50 ล้าน ต้องลงทุน 50 ล้านเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และลงทุน 100 ล้านเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ( ยอดขาย ) ในปีต่อไปอีก 15%
FCF = 500 + 50 -50 – 100 = 400 ล้านบาท

ดังนั้น จะเห็นว่า บริษัท 1 และ 2 มีกำไรสุทธิเท่ากัน แต่มี FCF ต่างกันมาก เพราะแม้ว่าทั้ง 2 บริษัทจะมีการลงทุนเพื่อเพิ่มยอดขาย 15% ในปีหน้าเหมือนกันแต่จำนวนเงินลงทุนต่างกันมากเมื่อเทียบกับกำไรที่เท่ากัน ดังนั้นหากหุ้นทั้ง 2 ตัวมี p/e เท่ากัน เราควรซื้อหุ้นตัวที่ 2 อย่างแน่นอนครับ และโดยทั่วไปหุ้นตัวที่ 2มักจะมี p/e สูงกว่าตัวที่ 1 พอสมควร แต่นักลงทุนมักจะรู้สึกว่าหุ้นตัวที่ 2 เป็นหุ้นแพง และตัวที่ 1 เป็นหุ้นที่ถูก และอาจจะติดกับดับ value trap ได้ครับเพราะหุ้นตัวที่ 1 เป็นหุ้นที่มีคุณภาพกำไรต่ำครับ ลองสังเกตได้ว่า หุ้นอิเลคทรอนิกส์ หรือยานยนต์ บางตัวมีลักษณะคล้ายๆ หุ้นตัวแรกครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น วิธีหาราคาหุ้น DCF วันที่ตอบ 2011-02-17 00:08:41 IP : 124.121.75.119


ความคิดเห็นที่ 2 (3284873)

ข้อมูลสำหรับนักลงทุน  Vi นะครับ สำหรับจะหาหุ้นสักตัว หาราคาที่เหมาะสมเข้าซื้อ 

P/E
P/BV
PEG
Discount cash flow
Net free cash flow
Net Asset Value
1. มีจุดดีและจุดด้อยอย่างไร
2. เหมาะที่จะประยุกต์ใช้กับบริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมใดอย่างไร
ขอขอบคุณ ล่วงหน้าครับ


เป็นคำถามที่ดีครับ

P/E ข้อดีคือวิเคราะห์ไม่ยาก ข้อเสียคือ การใช้ P/E อาจพลาดได้เพราะบริษัทอาจจะมีรายได้หรือรายจ่ายรายการพิเศษแต่ก็แก้ไม่ยาก ด้วยการตัดออก ข้อเสียอีกอย่างคือ P/E ไม่ได้สะท้อนนโยบายทางบัญชีที่ต่างกันเช่น ค่าเสื่อมราคา รวมทั้งไม่ได้สะท้อนถึง Capital expenditure cycle เช่น หุ้นที่เพิ่งตั้งโรงงานกับหุ้นอีกตัวที่เครื่องจักรกำลังหมดอายุไม่ควรมี P/E เท่ากันครับ รวมทั้งไม่ได้สะท้อนถึงหนี้และเงินสดในมือบริษัท บริษัทที่มีเงินสดเหลือเฟือกับบริษัทที่หนี้ท่วม หากปัจจัยที่เหลือเหมือนกันหมดก็ไม่ควร P/E เท่ากันครับ

P/BV ข้อดีคือเป็นตัวบอก downside risk ของหุ้นว่ามีแค่ไหน หุ้นที่ P/BV ต่ำๆ ก็มีความปลอดภัยในการลงทุนสูงกว่าหุ้นที่ P/BV สูงมากๆ แต่ข้อเสียคือ P/BV ไม่ได้บอกถึงความสามารถในการทำกำไร หรือ ROE ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารและวัฒนธรรมที่ดีหรือแย่ขององค์กร รวมทั้ง BV ไม่ได้สะท้อนถึงสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เช่น แบรนด์เนม ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในสินค้า หรือลิขสิทธ์ต่างๆ ได้ รวมทั้ง P/BV เป็นการมองอดีต ไม่ได้มองถึงอนาคต ยกตัวอย่างเช่น มีชายคนนึงได้เงินมา 50 ล้าน แต่ใช้เงินฟุ่มเฟือยและไม่พยายามที่จะหาเงินเพิ่ม ใน 5 ปีข้างหน้าชายคนนี้อาจจะจนกได้ ในทางตรงกันข้าม ชายคนหนึ่งมีหนี้ที่ต้องแบกรับให้ครอบครับ 10 ล้าน แต่หากเป็นคนที่มีความรู้ มีความมานะพยายาม มีความใฝ่ดี ซื่อสัตย์ ใน 5 ปีข้างหน้าก็อาจจะเป็นเศรษฐีได้ ดังนั้น คุณจะซื้อหุ้นที่ BV สูงๆ แต่นับวันมีแต่แย่ลงหรือ P/BV สมเหตุสมผลหรือมีอนาคตล่ะครับ

PEG เป็นการวัดว่า P/E ของหุ้นตัวนั้นต่ำหรือสูงไปโดยพิจารณาประกอบกับการเติบโต ข้อดีคือใช้ง่าย ข้อเสียคือการ forecast growth ก็เป็นสิ่งที่ทำยากและโอกาสผิดสูง รวมทั้งการใช้ PEG ไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงของหุ้น หุ้น 2 ตัวที่ growth เท่ากัน ตัวที่เสี่ยงมากกว่าควรมี P/E ต่ำกว่าครับ

Discount cash flow เป็นการวิเคราะห์ที่น่าจะดีที่สุด เพราะเป็นการปิดจุดด้อยของทุกๆ valuation เนื่องจากเป็นการประมาณการกระแสเงินสดในปัจจุบันและอนาคต และหักด้วยหนี้ซึ่งหมายถึงการพิจารณาอดีต ดังนั้นจะชดเชยข้อด้อยต่างๆ ของวิธี valuation ที่เอ่ยมาแล้วทั้งนั้น ได้แก่

- ใช้ free cash flow ดังนั้นนโยบายค่าเสื่อมราคาไม่มีผล และมีการนำรายจ่ายในการลงทุนมาหักออกด้วย
- มีการบวกด้วยเงินสด เงินลงทุนและหักด้วยหนี้ในตอนท้าย เป็นการสะท้อนถึงอดีตด้วย
- มูลค่ากิจการขึ้นกับกระแสเงินสดในอนาคต และมูลค่า terminate value ดังนั้นอนาคตมีความสำคัญไม่น้อยกว่าอดีต
- การทำ discount cash flow ใช้ discount rate มากน้อยตามความเสี่ยง ดังนั้นมีการนำความเสี่ยงของธุรกิจมาคิดด้วย

ยกตัวอย่างง่ายๆ หากมีครอบครัวหนึ่ง สมมุติหัวโบราณหน่อยนะครับ มีลูกสาวคนหนึ่งและมีชายมาสู่ขอหลายคน และพ่อแม่เป็นคนตัดสินใจเลือกลูกเขยให้ลูกสาวของตนเอง สมมุติว่าลูกเขยทุกคนมีนิสัยดีใกล้เคียงกัน พ่อแม่หลายคนอาจจะเลือกคนที่คิดว่าน่าจะดูแลลูกสาวได้ดีที่สุด คือน่าจะเงินให้มีความเป็นอยู่ที่สบาย อาจจะเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างจะวัตถุนิยมนะครับแต่คิดว่าเข้าใจง่ายสุด

หาก พ่อแม่พิจารณาเลือกลูกเขยจากสินทรัพย์ปัจจุบันเป็นหลักโดยที่ไม่ได้สนใจความ สามารถของลูกเคยที่จะมีผลต่อรายได้ในอนาคตหรือนิสัยการใช้จ่ายที่จะสะท้อน การใช้จ่ายในอนาคต แสดงว่าพ่อแม่คู่นั้นวิเคราะห์โดยใช้ P/BV เป็นหลัก

แต่ หากพ่อแม่พิจารณาโดยดูรายได้ในปัจจุบันของลูกเขยเพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ พิจารณาถึงสินทรัพย์หรือหนี้สินในอนาคต หรือระยะเวลาการหารายได้ หรือความเสี่ยงของงานที่ลูกเขยทำ หรือนิสัยที่อาจจทำให้เสียรายได้ในอนาคต เช่น รายได้เดือนละ 5 แสนแต่มีหนี้ที่ต้องจ่ายถึง 15 ล้าน รายได้ของลูกเขยเดือนละ 5 แสนบาท แต่มีอาชีพเป็นนักกีฬาที่มีระยะเวลาการได้เงินเดือนสูงไม่นานนัก หรือเงินเดือนสูงมากแต่อาชีพที่ต้องมีความเสี่ยงสูง หรือรายได้สูงแต่ชอบเล่นการพนัน แสดงว่าพ่อแม่คู่นี้วิเคราะห์โดยใช้ P/E เป็นหลัก

หากพ่อแม่พิจารณาทุกองค์ประกอบรวมกัน คือสินทรัพย์หรือหนี้สินในปัจจุบัน รายได้ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ระยะเวลาการหารายได้ ความเสี่ยงของงานที่ทำ ก็แสดงว่าพ่อแม่คู่นี้วิเคราะห์โดยใช้ Discount cash flow เป็นหลักครับ

แต่ ก็ไม่ได้หมายความว่าการวิเคราะห์แบบ discount cash flow จะไม่มีวันพลาดนะครับ เพราะการใช้ discount cash flow คือการทำนายอนาคต ซึ่งต้องอาศัยสมมุติฐานหลายอย่างมาก ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวธุรกิจและตัวบริษัทมากในระดับ หนึ่ง และข้อมูลปลีกย่อยหลายอย่างเช่น อายุเครื่องจักร ภาระการลงทุนในอนาคต รวมทั้งควรจะมีการประเมิน corporate governance ของหุ้นด้วย ดังนั้นการมองอะไรที่ยาวๆ ก็มีโอกาสผิดสูงครับ

ดังนั้นผมจึงไม่ได้ ยึดติดการ valuation method อะไรเป็นหลักครับ อาจจะยึด dcf มากที่สุดแต่ก็จะพิจารณาถึง P/E P/BV EV/EBITDA ประกอบด้วย และที่สำคัญที่สุดคือการพิจารณาผู้บริหารครับ หากทุก valuation ดีหมด แต่ผู้บริหารผมทราบว่า corporate governance แย่ ผมอาจจะต้องขอซื้อหุ้นตัวนี้ที่ discount มากๆ หรือไม่ซื้อเลยก็ได้ครับ เพราะอาจจะมีอะไรที่เป็นการ destroy value ของหุ้นได้ในอนาคต ในทางตรงกันข้าม หากผู้บริหารดีมาก ผมก็ยอมจ่าย premium ครับ ซึ่งการ value ผู้บริหารเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและจำเป็นต้องอาศัยการอ่านและติดตามข้อมูล เป็นอย่างมาก



ผู้แสดงความคิดเห็น สำหรับนักลงทุน VI วันที่ตอบ 2011-02-17 00:36:00 IP : 124.121.75.119


ความคิดเห็นที่ 3 (3285061)

การค้นหา “มูลค่าหุ้น” จึงจำเป็นสำหรับผู้ลงทุน เพราะจะทำให้เรารู้ว่า เมื่อไรควร “ซื้อ” และเมื่อไรควร “ขาย” ถึงจะได้กำไรที่ดีที่สุด..

การลงทุนด้วยวิธีนี้ “ต่างจาก” การเก็งกำไรหุ้นอย่างสิ้นเชิง เพราะการเก็งกำไรจะเป็นการหากำไรจากการ “คาดเดา” ทิศทางของราคาเป็นหลักเท่านั้น

ดังนั้น หุ้นที่ดีจึงอาจไม่ใช่หุ้นที่ดีก็ได้ ถ้าหากราคาหุ้นสูงเกินไป

นักลงทุนเอกของโลกที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะไม่ซื้อหุ้นที่มีราคาสูงเกินกว่าราคาที่พวกเขาคิดว่าเป็นมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นตัวนั้น ไม่ว่าหุ้นนั้นจะเป็นหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีเพียงใด

หุ้นปตท.สผ. ช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กำไรโต 5-6 เท่า เมื่อราคาหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขึ้นมา 100% คนก็จะรีบขายออก แต่ถ้าวัดมูลค่าหุ้นจะพบว่า กำไรของบริษัทจะโตเรื่อยๆ และราคาหุ้นยังไปได้อีก ควรจะถือต่อไปอีก เพราะราคาหุ้นยังต่ำกว่ามูลค่าจริง แต่อย่างหุ้นเรือ ก่อนหน้านั้นค่าพีอี 2-3 เท่า คนก็จะคิดว่าราคาถูก ซึ่งจริงๆแล้ว กำไรบริษัทไม่ได้ต่อเนื่อง ทำให้มีราคาแพง จะเห็นว่า วันนี้ราคาหุ้นร่วงลงมา 40-50% และค่าพีอีสูง ”

ดังนั้นเราจึงต้องมาเรียนรู้การหามูลค่าหุื้้นวิธีต่างๆ  หุ้นจากเงินปันผล (Dividend Discount Model) การคิดมูลค่าแบบการใช้ส่วนลดของกระแสเงินสดอิสระ (DCF – Discount Cashflow Model) การวัดมูลค่าหุ้นที่กำลังเติบโต (Growth Stock Valuation) การหามูลค่าหุ้นวัฏจักร (Cyclical Stock) รวมทั้ง การหามูลค่าของวอร์แรนท์ (Warrant)

แต่วิธีการที่ดีที่สุดในมุมมองของเขา ก็คือ โมเดลคิดมูลค่าหุ้นแบบการใช้ “ส่วนลดของกระแสเงินสดอิสระ” (DCF – Discount Cashflow Model) เพราะเป็นวิธีที่คำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อมูลค่าหุ้นไว้อย่างครบถ้วน

วิธีวัดมูลค่าแบบนี้จะเป็นการตีมูลค่าบริษัทจาก “กระแสเงินสดอิสระของบริษัท”

 ค่าของบริษัทจะขึ้นอยู่กับการสร้างกระแสเงินสด โดยผู้ลงทุนจะต้องประมาณการกระแสเงินสดของบริษัท หักด้วยต้นทุน จะเท่ากับมูลค่า เมื่อนำมาเทียบกับราคาหุ้นในตลาด ถ้ามูลค่าหุ้นมากกว่าราคา ก็ควรซื้อและถือไว้ โดยยึดหลักว่า ให้ซื้อคุณค่าของกิจการ ไม่ต้องสนใจราคาหุ้นในตลาด

“หุ้นของบริษัทจะมีค่า ก็ต่อเมื่อบริษัทสามารถผลิตเงินสดได้ แม้ว่าจะมีกำไรมากน้อยเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถสร้างเงินสดได้ หุ้นบริษัทนั้นก็จะไม่มีค่าใดสำหรับนักลงทุนเลย”

แม้วิธีวัดมูลค่าแบบ DCF จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่ก็ไม่เหมาะกับการวัดมูลค่าในธุรกิจบางประเภท เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะทำให้แยกไม่ออกระหว่างกระแสเงินสดของบริษัทกับสินค้าของบริษัท

อย่างไรก็ตาม การหาดูค่า P/E , P/BV ก็มีประโยชน์ เหมือนเป็น “ตะแกรงร่อนหุ้น” ชั้นแรกได้

“หุ้นบางตัวทำให้เราตัดทิ้งไปได้เลย แต่ตัวไหนที่คิดจะซื้อจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วผมจะทำ DCF เสมอในขั้นตอนสุดท้าย เพราะต้องคิดเสมอว่า ถ้าเราต้องถือหุ้นตัวนี้ตลอดไปแม้ภาวะตลาดไม่ดี เงินปันผลในอนาคตที่เราจะได้ ก็คุ้มกับเงินลงทุนของเราด้วย”

 การวัดมูลค่าหุ้นว่า อย่าละทิ้งการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เพราะทั้งสองอย่างต้องประกอบกัน ห้ามนำผลประกอบการในอดีตมาตั้งสมมติฐานว่า ผลประกอบการในอนาคตจะแนวโน้มเดียวกันกับอดีต ต้องพยายามศึกษาด้วยว่า บริษัทกำลังมีแผนงานอะไรบ้างในอนาคต เพื่อให้รู้ว่าอนาคตจะแตกต่างจากอดีตแค่ไหน

ส่วนเคล็ดลับในการวัดมูลค่าหุ้นให้ประสบสำเร็จนั้น ต้องทำการบ้านมาก่อน เพราะนอกเหนือจากวิธีวัดมูลค่าหุ้นที่แท้จริงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสามารถของนักลงทุนในการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคตของบริษัทได้ใกล้เคียงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงด้วย

“นักลงทุนต้องรวบรวมข้อมูลบริษัทก่อนที่จะนำมาประเมินมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้บริหาร ธุรกิจบริษัท ผลกำไร แผนการลงทุนในอนาคต เพื่อให้เห็นภาพของบริษัทเบื้องต้นก่อน”
วัดมูลค่าหุ้น อาจเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งก็ได้  ต้องมีsafty factor ทุกครั้งป้องกันความเสี่ยงสัก 2 เท่า ยิ่งมากยิ่งดี 

“อย่าซื้อหุ้นที่ราคาเท่ากับมูลค่าหุ้นพอดี เพราะนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเท่ากับต้นทุนเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น รวมถึงเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการคลาดเคลื่อนในการวัดมูลค่าหรือเหตุการณ์ร้ายในอนาคตที่บริษัทคาดไม่ถึง นักลงทุนจึงควรลงทุนราคาในกระดานต่ำกว่ามูลค่าพอควร”

สุดท้าย ห้า..มั่นใจในตัวเอง  ถ้าพบว่ามูลค่าหุ้นที่วัดได้ต่ำกว่าราคาในกระดานอย่างมาก นักลงทุนควรมั่นใจในราคานั้น อย่ากลัวที่ทำอะไรไม่เหมือนคนส่วนใหญ่

ปัจจุบันพอร์ตการลงทุนของนรินทร์ มีอยู่เพียง 3-4บริษัท โดยเขาจะซื้อเฉพาะหุ้นที่สามารถมองแนวโน้มการเติบโต 3-5 ปีได้ ซึ่งมีอยู่ไม่มากในตลาดแต่ไม่ใช่ปัญหา

ผมถือคติในตลาดมีหุ้น 500 ตัว เราสนใจแค่ 10 ตัวก็รวยได้เหมือนกัน ถ้าเราทุ่มเทใช้เวลาศึกษาหุ้น 10 ตัวให้รู้ลึกซึ้งกว่าคนอื่น ผมมีหุ้นในพอร์ตแค่ 3-4 ตัวเท่านั้น และมีหุ้นที่ติดตามอยู่แต่ยังไม่ซื้อเพราะราคาแพงเกินไปอีกประมาณไม่เกิน 10 ตัว หุ้นที่มีประวัติไม่ดีผมไม่เคยมองเลย”

สุมาอี้ บอกว่า เป้าหมายผลตอบแทนของเขาจะอยู่ราว 15% ต่อปี จะไม่เน้นกำไรมาก แต่เน้นรักษากำไรให้ได้ทุกปี การไม่ซื้อของแพงช่วยทำให้ไม่เคยขาดทุนหนักๆ ผลตอบแทนในระยะยาวอาจจะดีกว่าคนที่หวังกำไรอย่าง aggressive ซึ่งที่ผ่านมากำไรเกินเป้า 15% ทุกปี แต่ถือว่าส่วนที่เกินมาเป็นเสบียง เพราะในอนาคตจะต้องมีปีที่เราทำผลงานได้ไม่ดีด้วย

ฉะนั้น กฎในการลงทุน จึงต้องซื้อหุ้นต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมด ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายก็ยังได้กำไร อย่าเทรดหุ้นทุกวัน ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด

ควรเน้นหุ้นเติบโตสูง จะเป็นหุ้นที่น่าลงทุนมากกว่า เพราะแม้ downside จะสูงถึง 100% แต่ upside ไม่มีขีดจำกัด เพราะพอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆตัว แม้จะผันผวนมากแต่จะวิ่งไกลกว่าพอร์ตหุ้นที่เต็มไปด้วยบลูชิพในระยะยาวๆ

สุดท้ายการลงทุน วัดกันด้วยข้อมูล เชิ่งคุณภาพ และความมีวินัยในการเข้าซื้อ  หรือคือ เชิงปริมาณ ใครมีวินัยมากกว่ากันใครทำการบ้านมาดี ก็ไปถึงเป้าหมายก่อน ถ้าไม่ท้อถ้อยทุกคนทำไ้ด้   เด็ก finace ข้างถนน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น วิธีหามูลค่าหุ้น วันที่ตอบ 2011-02-18 20:34:14 IP : 124.121.75.152


ความคิดเห็นที่ 4 (3285535)

การหามูลค่าหุ้น หรือราคาที่เหมาะสมไม่ควรเชื่อ ใครเมื่อเข้าบอกว่าราคาที่เหมาะสมควรเป็นเท่านั้นหรือเท่านี้ นักลงทุน ควรพิจรณาจากข้อเท็จจริง และ ถ้าจะให้ดีควรเห็นที่มาของคำตอบด้วยไม่ใช้ สนใจแต่คำตอบ ไม่สนใจวิธีคิด หาคำตอบ ที่เขียนมานี้ก็ต้องการให้นักลงทุน ลงทุนให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุด safety factor ให้น้อยที่สุด

ตัวอย่างวิธีหาคำตอบ หรือมูลค่าหุ้น  ใครมีวิชา ก็มาแบ่งบันกันนะครับ

วิธีหาราคาหุ้นDCF

ผู้แสดงความคิดเห็น Admin การลงทุน ตอบโดยเว็บมาสเตอร์วันที่ตอบ 2011-02-23 09:30:54 IP : 115.87.53.39


ความคิดเห็นที่ 5 (3304763)

 

ขอบคุณมากเลยนะค่ะ ได้ความรู้และความมั่นใจ ขึ้นเยอะเลยค่ะ 

หลังจากอ่านเสร็จแล้ว ตัวเองตั้งใจว่าจะจะเริ่มทำการคำนวณหามูลค่าหุ้นด้วยตัวเองประกอบกับข่าวและข้อมูลอื่นๆ ไม่ใช่ฟังจากโบรกหรือจากคนอื่นบอกมาเท่านั้นค่ะ (เพราะเสี่ยงสูงมาก) 

จะรออ่านบทต่อๆ ไปนะค่ะ (ตัวอย่างตารางที่ให้ข้างบนนี้อ่านไม่ชัดเจนเลยค่ะ และอยากได้อีกซัก 2-3 ตัวอย่างจะเป็นพระคุณอย่างมากเลยค่ะ) ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้สนใจ วันที่ตอบ 2011-08-22 19:34:20 IP : 49.245.14.1


ความคิดเห็นที่ 6 (3343280)

อยากทราบว่า ผลการดำเนินของบริษัทที่ผ่านมามีแต่ขาดทุน  ควรใช้ MODel ใดในการประเมินมูลค่าหุ้นค่ะ  (บริษัทมีสินทรัพย์และหนี้สินมากนะค่ะ)

ผู้แสดงความคิดเห็น AM (am_sleepnot-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-08-27 10:50:36 IP : 158.108.170.204


ความคิดเห็นที่ 7 (3375978)

google เลย https://www.google.co.th/

ผู้แสดงความคิดเห็น googolee วันที่ตอบ 2013-09-19 23:38:59 IP : 125.24.236.193


ความคิดเห็นที่ 8 (3377713)

นอกจากจะดูพื้นฐานราคาแล้วสิ่งที่ไม่ควรละเลยผู้บริหาร

การลงทุนในตลาดหุ้นมานานมาก ได้เห็นเหตุการณ์และพฤติกรรมต่างๆ ของผู้บริหารจำนวนมากในตลาด ทำให้ผมพบความ “ไม่โปร่งใส”ในการบริหารงานบริษัทจำนวนมาก

บางเรื่องเป็น “ความจำเป็น” ทางธุรกิจ บางเรื่องเป็นการกระทำของผู้บริหารที่เอาเปรียบหรือโกงบริษัท บริษัทที่มีอาการหรือพฤติกรรมเหล่านี้มักจะมีลักษณะหรือโครงสร้างของการทำธุรกิจที่ “เอื้ออำนวย” ให้เกิดการโกงได้ง่าย

การโกงนั้นบางทีทำให้บริษัทถึงกับล้มละลาย แต่ส่วนใหญ่แล้วทำให้ผลประกอบการไม่ดีหรือลุ่มๆ ดอนๆ ดังนั้น สำหรับผมแล้ว การลงทุนในหุ้นเหล่านี้จึงเป็นเรื่อง “น่ากลัว” ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าหุ้นไม่ถูกจริงหรือมีประเด็นน่าสนใจจริงๆ แล้ว ผมจะไม่ลงทุน และต่อไปนี้คือบางส่วนของหุ้นที่ผมคิดว่า “น่ากลัว”

หุ้นกลุ่มแรก คือหุ้นของบริษัทที่รับงานจากหน่วยงานของรัฐ เช่น งานรับเหมาก่อสร้างโครงการต่าง ๆ เหตุผลก็เพราะว่างานเหล่านี้มักจะต้องมี “รายจ่ายพิเศษ” ที่คาดการณ์ไม่ได้ รายจ่ายนี้คือรายจ่ายบริษัทต้องจ่ายเพื่อให้ “ได้งานและเพื่อที่จะสามารถส่งมอบงานอย่างไม่ติดขัด” จริงอยู่บริษัทมักจะรวมค่าใช้จ่ายนี้ไว้แล้วเวลาเสนอราคา แต่การเปลี่ยนแปลงระหว่างที่กำลังทำงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้บริษัทขาดทุนได้

นอกจากนั้น บริษัทมีรายจ่ายพิเศษที่ต้องจ่ายออกไปให้คนอื่นโดย“ไม่มีใบเสร็จ”อยู่แล้ว การที่บริษัทจะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารหรือคนที่ทำเรื่องจ่ายจึงเป็นเรื่องง่ายและตรวจสอบไม่ได้ ผลคือกำไรบริษัทอาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่ารายจ่ายพิเศษจะมีมากน้อยแค่ไหน และนี่อาจจะเป็นเหตุผลว่าทำไมหลายบริษัทที่มียอดขายมากมาย แต่กลับไม่มีกำไรอยู่บ่อย ๆ

หุ้นกลุ่มที่สองที่ “น่ากลัว” คือบริษัทที่ขายสินค้าโภคภัณฑ์ผ่านดีลเลอร์รายใหญ่ ๆ หรือตัวแทนที่ผู้บริหารเป็นเจ้าของ ประเด็นก็คือ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท มักมียอดขายสูงมาก แต่มีมาร์จินหรือกำไรต่อยอดขายต่ำ

หากผู้บริหารต้องการทำกำไรให้ตนเองสูงสุด เขาสามารถลดราคาขายให้ดีลเลอร์ที่เป็นบริษัทส่วนตัว อาจเป็นเปอร์เซ็นต์เพียงเล็กน้อย แต่เขาจะได้เงินมาก และนั่นทำให้บริษัทเสียหาย กำไรน้อยลงหรือไม่ได้กำไรเลย ดังนั้น การลงทุนในหุ้นแบบนี้ นักลงทุนจึงคาดผลประกอบการได้ยาก และมีโอกาสเสียหายหนัก ถ้าเจ้าของหรือผู้บริหารไม่โปร่งใส

หุ้นกลุ่มที่สามที่รู้สึกไม่สบายใจ และกลัวว่าผู้บริหารอาจจะไม่โปร่งใส คือบริษัทที่ซื้อกิจการหรือทรัพย์สินขนาดใหญ่ จากบริษัทหรือคนที่ “ตรวจสอบไม่ได้” หรือเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือพอ ประเด็นคือ ราคาที่จ่ายไปอาจจะสูงเกินไปมาก หรือกิจการมีคุณสมบัติแย่หรือกำลังย่ำแย่ลง

แต่เหตุผลที่ซื้อราคาแพงนั้น อาจเป็นเพราะซื้อแล้วมี “เงินทอน” ให้กับผู้บริหารจากคนที่ขาย ซึ่งตรวจสอบไม่ได้ เนื่องจากเป็นบริษัทเอกชนหรือเป็นบุคคลธรรมดา กรณีแบบนี้ในที่สุดแล้ว บริษัทจะเสียหายเนื่องจากกิจการหรือทรัพย์สินที่ซื้อมา ไม่สร้างผลตอบแทนที่ดีคุ้มค่ากับเงินที่บริษัทจ่ายไป

หุ้นกลุ่มที่สี่ที่รู้สึกกลัวตลอดเวลา ถ้าต้องถือหุ้นไว้ คือหุ้นของบริษัทมีลูกหนี้มาก เมื่อเทียบกับยอดขายหรือขนาดทรัพย์สินหรือขนาดของเงินทุนของบริษัท โดยเฉพาะถ้าลูกหนี้นั้นไม่ได้เป็นบริษัทหรือกิจการที่มีขนาดใหญ่มีเรทติ้งดีมาก เหตุผลคือ ลูกหนี้นั้นอาจจะเบี้ยวหนี้หรือกลายเป็นหนี้เสียและทำให้บริษัทเสียหายหนัก บางครั้งอาจจะล้มละลายได้

การที่ลูกหนี้กลายเป็นหนี้เสีย อาจมีได้หลายสาเหตุซึ่งรวมถึงภาวะทางเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมตกต่ำลงอย่างหนัก หรือเป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้บางรายที่เป็นลูกค้ารายใหญ่มาก หรือในกรณีเลวร้ายสุด คือเป็นลูกหนี้ที่เป็นกิจการของผู้บริหาร ที่ตั้งขึ้นเพื่อจะ“โกงบริษัท”ตั้งแต่แรกก็เป็นไปได้

หุ้นกลุ่มที่ห้าที่ไม่ใช่เรื่องของการโกง แต่เป็นบริษัทที่มีหนี้มาก ขณะที่กิจการมีความไม่แน่นอนของผลประกอบการสูง เนื่องจากเป็นกิจการที่ขายสินค้าเป็นวัฏจักร หรือสินค้ามีความเป็นโภคภัณฑ์สูง ประเด็นคือยามเกิดความยากลำบากขึ้น บริษัทอาจไม่สามารถชำระหนี้ได้ ทำให้บริษัทมีปัญหาทางการเงินหนัก บางทีอาจถึงกับล้มละลายได้ หรือกรณีอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นมาก ผลกำไรบริษัทอาจถูกกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้

หุ้นกลุ่มที่หกที่บ่อยครั้งคนในวงการนักเล่นหุ้นชอบมาก เพราะเป็นหุ้นกลุ่มที่อาจจะให้ผลตอบแทนในระยะสั้นหวือหวา แต่สำหรับผมที่เน้นลงทุนในพื้นฐานและเป็นการลงทุนระยะยาวแล้ว กลับเป็นหุ้นที่น่ากลัว เนื่องจากไม่ใคร่เชื่อว่าเป็นสิ่งดี หลายครั้งรู้สึกด้วยว่าเป็น “เกมปั่นหุ้น” ที่อาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวได้มาก และทำให้คนที่รู้ขายทำกำไรไปก่อน แล้วทิ้งให้คนที่มาทีหลัง หรือคนไม่รู้รับความเสี่ยงไป และนี่คือหุ้นบริษัทที่มี “วิศวกรรมการเงิน” หรือการ “ปรับโครงสร้าง” ใหญ่ ๆ ของบริษัทตลอดเวลา โดยที่ผลิตภัณฑ์หรือการดำเนินการหลักของบริษัทไม่ได้เปลี่ยนอะไรที่สำคัญและไม่ใช่ธุรกิจดีเลิศอะไรนัก

บริษัทน่ากลัวในกลุ่มที่หก เช่น บริษัทที่เปลี่ยนแปลงหรือมีธุรกิจใหม่ ที่มีนัยสำคัญสูงอยู่เรื่อยๆ บางทีนอกจากธุรกิจใหม่ ชื่อของบริษัทถูกเปลี่ยนไปตามแนวของธุรกิจใหม่ จนจำไม่ได้ว่าเดิมบริษัทชื่ออะไร ความน่ากลัวอยู่ที่ธุรกิจใหม่นั้น อาจไม่ดีทำให้ผลประกอบการเลวลง เนื่องจากบริษัทอาจไม่มีความสามารถหรือประสบการณ์พอในการทำงาน เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าของเดิมบริษัททำไม่ได้ดีอยู่แล้ว ของใหม่จะทำได้เหนือกว่าคู่แข่งได้อย่างไร!

นอกจากเรื่องของการเปลี่ยนธุรกิจไปเรื่อยๆ แล้ว บริษัท “ใช้เครื่องมือทางการเงิน” พร่ำเพรื่อ โดยไม่มีเหตุผลเพียงพอ เป็นสิ่งที่มักกลัว เช่น การแตกพาร์จาก 1 บาทเหลือ 25 สตางค์ เพื่อ “เพิ่มสภาพคล่อง” ของหุ้น ทั้งที่ราคาหุ้นไม่ถึง 10 บาทอยู่แล้ว หรือการออกวอร์แรนท์แจกให้ผู้ถือหุ้นมากมายหลายชุดต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนวอร์แรนท์มีสัดส่วนอาจเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งบริษัท แบบนี้ถือว่าไม่สมเหตุผล

ประเด็นคือผมคิดว่าผู้บริหารเน้นการ “บริหารหุ้น” มากกว่าบริหารกิจการ ดังนั้นการเข้าไปซื้อหุ้นมีคนบริหารนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะอาจเข้าไปซื้อที่ราคาแพงเกินไปมากได้

หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่จะพูดถึง คือหุ้นที่ “กินก่อน จ่ายทีหลัง” เช่น สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กิจการธุรกิจ สถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการแบบเงินผ่อน บริษัทประกันภัย เป็นต้น บริษัทเหล่านี้เมื่อขายบริการหรือผลิตภัณฑ์ตน พวกเขาจะกำไรทันทีในระยะสั้น แต่ต้นทุนที่จะเกิดในอนาคตยังไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลูกค้าหรือเหตุการณ์ในอนาคตว่าบริษัทจะได้รับเงินคืนหรือไม่

แต่โดยธรรมชาติของคนคือ เราอยาก “กินก่อน” อนาคตไม่แน่นอนอย่าไปคิดมาก เหนือสิ่งอื่นใด ถ้าลูกค้าเสีย เจ้านายอาจลืมไปแล้วว่าใครเป็นคนทำ ดังนั้น สำหรับธุรกิจแบบนี้เป็นสิ่งน่ากลัว เพราะอาจคิดว่าบริษัทกำลังโต กำลังดีขึ้น ทั้งที่อาจจะไม่จริงเพราะในที่สุดบริษัทอาจต้อง “จ่ายหนักทีหลัง” นั่นคือบริษัทเสียหายอย่างหนัก

ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหุ้นที่น่ากลัว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะลงทุนไม่ได้ เพียงแต่ว่าเราจะต้อง Discount หรือลดมูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นลง นั่นคือหุ้นจะต้องมีราคาต่ำพอที่จะคุ้มสำหรับการลงทุน

 


 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น CFA วันที่ตอบ 2013-10-16 10:20:40 IP : 27.130.186.61


ความคิดเห็นที่ 9 (4306783)

 Luckywin98 >สล็อตเว็บตรง< มั่นคง ปลอดภัย มีผู้ใช้งานแล้วมากกว่า 150,352 คนในไทย ฝาก-ถอนกระเป๋าเดียวไม่ต้องโยก ไม่จำกัดครั้ง บริการดีตลอด 24 ช.ม


การลงทุนที่คุ้มค่ากับ >เว็บสล็อต< หนึ่งเดียวในไทยที่การันตีความมั่นคง ด้วยการเปิดให้บริการมาอย่างยาวนาน Luckywin98 ที่นี่ ครบจบในที่เดียว
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Pasana Cotoso วันที่ตอบ 2021-08-31 19:39:39 IP : 1.47.9.187


ความคิดเห็นที่ 10 (4306784)

 >สมัครสล็อต< ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ฝาก-ถอนไม่มีขั้นต่ำ ไม่จำกัดครั้ง ไม่ต้องทำเทิร์น มั่นคง ปลอดภัย รวดเร็วด้วยระบบออโต้ พร้อมแอดมินทีมงานคุณภาพบริการตลอด 24 ช.ม ที่ Luckywin98


เราได้รวบรวมเกม >สล็อตแตกง่าย< ของทุกค่ายดังใว้ให้คุณได้ร่วมสนุกมากกว่า 3,000 เกม โบนัสหนัก ๆ มาพร้อมโปรโมชั่นเด็ด ๆ อีกมากมาย Luckywin98 ที่เดียวเท่านั้น 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น Pasana Cotoso วันที่ตอบ 2021-08-31 19:40:32 IP : 1.47.9.187


ความคิดเห็นที่ 11 (4306785)

  >สล็อต เล่นฟรี< เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา ความสนุกที่ให้คุณมากกว่าการเล่นเกม สมัครสมาชิกฟรี พร้อมสิทธิพิเศษอีกมากมาย ที่ Luckywin98 ครบจบในที่เดียว

 
ผู้แสดงความคิดเห็น Pasana Cotoso วันที่ตอบ 2021-08-31 19:41:03 IP : 1.47.9.187


ความคิดเห็นที่ 12 (4483704)

 Give away a lot, don"t be afraid of being cheated.  918kiss  Earn money for fun and excitement Easy to play, meets every investment need Such a good opportunity Can"t play anymore. You must apply for membership with this website channel 918kiss, which provides a complete game service. Whatever format you like, come and start enjoying our channel 24 hours a day. The best online slots game service sent directly from abroad.

ผู้แสดงความคิดเห็น 918kiss วันที่ตอบ 2023-09-22 14:34:16 IP : 223.206.251.237



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.