ReadyPlanet.com


ขนมปังโฮลวีท มีประโยชน์จริงหรือ ?!


 หลายคนเลือกรับประทาน "ขนมปังโฮสวีท" แทน "ขนมปังขาว" เพราะคิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า เป็นความจริงหรือไม่ ได้รวบรวมข้อมูล ข้อแตกต่างกันระหว่างขนมปังทั้งสองชนิด ที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์แตกต่างกัน ดังนี้

"ขนมปังโฮลวีท" คือ ขนมปังที่ทำมาจากเมล็ดข้าวสาลีทั้งเมล็ด ส่วนขนมปังธัญพืช (Whole Grain Bread) หมายถึง ขนมปังที่ทำมาจากเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี หรือธัญพืชไม่ขัดสีชนิดต่าง ๆ รวมกัน ต่างจากขนมปังวีท (Wheat Bread) หรือมัลติเกรน (Multi Grain) ซึ่งอาจทำมาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีบางส่วน

"ขนมปังโฮลวีท" จึงอุดมไปด้วยไฟเบอร์และสารอาหารต่าง ๆ เช่น วิตามินอี วิตามินบี หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ต่างจากขนมปังขาวที่ผ่านกระบวนการแปรรูป ทำให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ น้อยกว่า ทำให้ผู้คนเชื่อว่า ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากขนมปังโฮลวีทมากกว่าขนมปังขาว

ขนมปังโฮลวีทดีกว่าขนมปังขาวจริงหรือ ?!

ขนมปังขาวผ่านการแปรรูปและขัดสี ทำให้ได้รับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เท่ากับขนมปังโฮลวีท โดยขนมปังโฮลวีทและขนมปังขาวมีคุณค่าทางโภชนาการและคุณประโยชน์ที่ส่งผลต่อร่างกาย

การเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของขนมปังโฮลวีทและขนมปังขาว 

ขนมปังโฮลวีทและขนมปังขาวแบบแผ่นน้ำหนัก 25 กรัม มีสารอาหารสำคัญที่แตกต่างกัน ดังนี้


ขนมปังโฮลวีท
            แคลอรี่ 76 กิโลแคลอรี่
            ไขมันทั้งหมด 1.02 กรัม
            น้ำตาล 1.44 กรัม
            ไฟเบอร์ 1.9 กรัม
            โซเดียม 141 มิลลิกรัม
            คาร์โบไฮเดรต 12.79 กรัม

ขนมปังขาว
            แคลอรี่ 66 กิโลแคลอรี่
            ไขมันทั้งหมด 0.83 กรัม
            น้ำตาล 1.42 กรัม
            ไฟเบอร์ 0.7 กรัม
            โซเดียม 122 มิลลิกรัม
            คาร์โบไฮเดรต 12.36 กรัม

- ดัชนีน้ำตาลของขนมปังโฮลวีทและขนมปังขาวที่ส่งผลต่อสุขภาพ ดัชนีน้ำตาล (Glycaemic Index: GI) คือ ค่าแสดงระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารแต่ละอย่าง เนื่องจากอาหารแต่ละอย่างมีคาร์โบไฮเดรตต่างชนิดกัน ส่งผลให้ร่างกายย่อยอาหารเหล่านั้นและเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดต่างกัน

ขนมปังโฮลวีทมีดัชนีน้ำตาลปานกลาง (ประมาณ  56- 69) ส่วนขนมปังขาวมีดัชนีน้ำตาลสูง (ประมาณ 70 หรือมากกว่านั้น) มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อระดับดัชนีน้ำตาลในอาหาร ซึ่งไขมันและไฟเบอร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดดัชนีน้ำตาลของอาหารได้

- วิจัยพบว่า ขนมปังโฮลวีทและขนมปังขาว ส่งผลต่อระบบเมตาบอลิซึม การรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนดีกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ทำให้รู้สึกอิ่มนาน เนื่องจากอุดมไปด้วยไฟเบอร์ทำให้ร่างกายย่อยช้าลง อีกทั้งยังส่งผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร 

- การบริโภคขนมปังธัญพืชไม่ขัดสีอาจลดการอยากอาหาร ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยงานวิจัยชิ้นนี้เปรียบเทียบประโยชน์ของขนมปังทั้งสองชนิดที่ส่งผลต่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร พลังงานที่ได้รับ และฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความอยากอาหาร โดยดำเนินการทดลองกับ ผู้เข้าร่วมการทดลอง ที่รับประทานขนมปังแปรรูปและขนมปังธัญพืชไม่ขัดสีในช่วงมื้อเช้าแต่ละวันและรับประทานอาหารกลางวันตามต้องการ ผลการวิเคราะห์ฮอร์โมนที่ส่งผลต่อความอยากอาหารพบว่า ผู้เข้าร่วมการทดลองรู้สึกอิ่มนานขึ้น ทำให้รับประทานอย่างอื่นได้น้อยลงหลังจากรับประทานขนมปังโฮลวีทในมื้อเช้า

- งานวิจัยชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการบริโภคขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังขาวไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพที่แตกต่างกัน โดยพบร่างกายจะได้รับประโยชน์จากขนมปังธัญพืชหรือขนมปังขาวนั้นหรือไม่ ไม่่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดขนมปังที่รับประทาน แต่ขึ้นอยู่กับจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ตอบสนองต่อขนมปังที่บริโภคเข้าไป  


กินขนมปังโฮลวีทอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ประโยชน์

- ควรเลือกบริโภคคาร์โบไฮเดรตจากแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์และแป้งสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวหรือขนมปังไม่ขัดสี เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นช้าลงเมื่อเทียบกับอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก 

- ผู้ที่ต้องการรับประทานขนมปังจึงอาจเลือกรับประทานขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว เนื่องจากขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น มีปริมาณไฟเบอร์ 2.5 กรัม ส่วนขนมปังขาว 1 แผ่น มีปริมาณไฟเบอร์ 0.9 กรัม รวมทั้งอาจรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์อื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับปริมาณไฟเบอร์ที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

-ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตตามที่แพทย์แนะนำ ผู้ป่วยไม่ควรงดอาหารหมู่ใดหมู่หนึ่ง หรือรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยลง เนื่องจากยังไม่ปรากฏผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การบริโภคคาร์โบไฮเดรตในปริมาณน้อยจะช่วยควบคุมอาการป่วยของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในระยะยาว อีกทั้งอาจก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอันเป็นผลข้างเคียงจากการบริโภคคาร์โบไฮเดรตน้อยลง

 

ขอบคุณข้อมูลจากสินมั่นคงประกันภัย (https://www.smk.co.th/prehealth.aspx)



ผู้ตั้งกระทู้ Tawan :: วันที่ลงประกาศ 2020-09-25 11:32:27 IP : 202.183.242.2


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.