ReadyPlanet.com


ไขข้อข้องใจ ทำไมมะเร็งตับเจอที่กระดูก?


เป็นข่าวน่าใจหายสำหรับแฟนละครกันพอสมควรกับข่าวการเสียชีวิตของพระเอกดังแห่งยุค 90 “ศรัณยู วงศ์กระจ่าง” ที่เสียชีวิตไปด้วยโรคมะเร็งตับ หลังเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา จากการประสบอุบัติเหตุล้มจนกระดูกสันหลังหัก จนหลายคนอาจสงสัย เพราะเหตุใดมะเร็งตับระยะสุดท้ายจึงแสดงอาการทางกระดูกออกมาให้เห็น วันนี้สินมั่นคงประกันภัยมีข้อมูลจากคุณหมอมาฝากกันค่ะ

“ตับ” อวัยวะที่สำคัญของร่างกายมนุษย์

ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีขนาดประมาณหนึ่งในห้าสิบของน้ำหนักตัว นั่นคือหากร่างกายเราหนัก 50 กิโลกรัม ตับก็จะมีขนาดประมาณ 1 กิโลกรัม ลักษะของตับมีรูปร่างคล้ายลิ่มวางอยู่ในช่องท้องและกระบังลมด้านขวาโดยมีซี่โครงหุ้มอยู่ เมื่ออยู่ในร่างกายเราตับจะวางหันลิ่มด้านบางหันเข้าด้านใน โดยตับจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

·      เป็นแหล่งสร้างสารต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ

·      เป็นแหล่งสร้างน้ำดีและน้ำดีช่วยละลายไขมัน

·      เป็นแหล่งสะสมพลังงานและสารอาหาร

·      เป็นแหล่งผลิตพลังงานให้ร่างกาย ในการนำสารอาหารมาสลายให้พลังงาน

·      เป็นแหล่งทำลายพิษต่าง ๆ และยา

·      เป็นเกราะกำบังที่สำคัญให้กับร่างกาย

สาเหตุของการเกิดโรค “มะเร็งตับ”

ผู้ป่วยมะเร็งตับมักถูกเข้าใจผิดว่าป่วยด้วยโรคอื่น ๆ เช่น ปวดกระเพาะ ท้องอืด ไม่อยากรับประทานอาหาร บางก็เข้าใจว่าเป็นอาการของโรคถุงน้ำดีอักเสบ โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ คือ

·      รับประทานผักและผลไม้น้อย

·      รับประทานอาหารปนเปื้อน โดยเฉพาะสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ที่พบมากในถั่วลิสง พริกป่นแห้ง

·      การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

·      ไม่ได้พักผ่อน หรือพักผ่อนน้อย นอนน้อยกว่าวันละ 6-8 ชั่วโมงติดต่อกันเป็นเวลานาน

·      กลั้นอุจจาระอยู่เสมอ

·      มีไขมันเกาะตับ

·      โรคเบาหวาน หรือโรคอ้วน

·      ภาวะตับแข็งจากสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี

อาการของ “มะเร็งตับ”

อาการมะเร็งตับโดยทั่วไปจะสามารถมองเห็นได้ชัดเมื่อโรคพัฒนาจนถึงระยะกลางและระยะสุดท้าย จึงมักจะเสียโอกาสในการผ่าตัด และลุกลามไปจนถึงระยะสุดท้ายในที่สุด เราจึงควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองที่อาจเข้าข่ายต่อการป่วยเป็นมะเร็งตับได้ ด้วยอาการของโรคดังต่อไปนี้

·      เมื่อรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงอย่างต่อเนื่องไม่สามารถบรรเทาลงได้ มีไข้และบวมน้ำโดยไม่ทราบสาเหตุ

·      มีอาการรู้สึกอึดอัดบริเวณส่วนหัวใจ

·      ท้องบวม บริเวณท้องด้านขวารู้สึกเจ็บ รู้สึกไม่สบายหรือถูกกด

·      น้ำหนักลดลงมีอาการไข้และตัวเหลืองโดยหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้

·      มีความอยากอาหารลดลงอย่างเห็นได้ชัด ท้องรู้สึกแน่น อืด การย่อยอาหารไม่ดี บางครั้งปรากฏอาการคลื่นไส้ อาเจียน

·      ปวดท้องด้านขวาบน มีอาการปวดบริเวณตับอย่างต่อเนื่องหรือเป็นบางครั้งบางคราว บางครั้งถ้าเนื้องอกมีการลุกลามอาการเจ็บก็จะรุนแรงขึ้น

·      เลือดออก มักจะมีอาการเลือดไหลทางจมูก เลือดออกตามผิวหนัง คันตามผิวหนัง ตัวเหลือง

อาการดังกล่าวอาจไม่ใช่โรคมะเร็งตับเสมอไป แต่ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและรีบทำการรักษา เพราะมะเร็งตับระยะแรกถูกตรวจพบและได้รับการรักษาอย่างเต็มประสิทธิภาพก็สามารถหายขาดจากโรคมะเร็งได้

เซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูกได้อย่างไร?

เมื่อเป็นมะเร็งที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย มักจะมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ปวด หรือกระดูก ในบางครั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่กระดูก มักจะถูกเรียกว่ามะเร็งกระดูก แต่จริง ๆแล้วเป็นการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจากอวัยวะจุดกำเนิดมะเร็งหลักมาที่กระดูก และมะเร็งหลักที่มักจะมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่กระดูก ได้แก่

·      มะเร็งเต้านม

·      มะเร็งไต

·      มะเร็งปอด

·      มะเร็งต่อมลูกหมาก

·      มะเร็งไทรอยด์

·      มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด multiple myeloma ที่มีการเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวอย่างควบคุมไม่ได้

การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่กระดูกอาจใช้เวลานานเป็นเดือนหรือหลายปี ผู้ป่วยบางรายอาการมักจะทรุดลงเมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก และเป็นอาการแรกที่นำมาสู่การวินิจฉัยของโรคมะเร็ง ส่วนใหญ่ มักเกิดกระดูกหักบริเวณแขน ขา และกระดูกสันหลัง หรือหากมีการหักของกระดูกสันหลังอาจทำให้เกิดเป็นกระดูกทับไขสันหลังได้ อาการที่พบคือ มีอาการปวดหลัง อาการชาหรือแขนขาอ่อนแรง มีความผิดปกติของระบบขับถ่ายและลำไส้ ซึ่งอาการเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

เมื่อเกิดอาการกระดูกหักเพราะมะเร็ง แพทย์จะทำการเอกซเรย์จึงจะสามารถมองเห็นความผิดปกติของกระดูก จากนั้นจะมาหาต่อว่า มะเร็งนั้นเกิดจากตัวกระดูกเองหรือลุกลามออกมาจากอวัยวะอื่น ๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้าเป็นผู้ป่วยที่อายุมากหากพบก้อนมะเร็งบริเวณกระดูก ก็มักจะเกิดจากมะเร็งจากอวัยวะอื่นแพร่กระจายมาที่กระดูก

การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งมาที่กระดูกยังมีการปล่อยสารแคลเซียมออกมาในกระแสเลือด ซึ่งทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ทำให้มีอาการไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก เหน็ดเหนื่อยง่ายหรือมีอาการสับสน ซึ่งอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์เช่นกัน

การรักษา “มะเร็งตับ”

การรักษามะเร็งตับมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะลุกลามของโรค โดยแพทย์เฉพาะทางจะทำการพิจารณาวิธีที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่

1.     การผ่าตัดก้อนมะเร็งตับ เนื่องจากการผ่าตัดรักษามะเร็งตับไม่สามารถผ่าเฉพาะก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็งตับออกไปได้ อาจส่งผลกระทบถึงเนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้เกิดอันตรายจนถึงตับวายได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่จะรักษาด้วยวิธีนี้มีเพียง 10 – 20% ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

2.     การจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Ablation – RF) มักใช้ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 3 – 4 เซนติเมตร โดยใช้เข็มเข้าไปทำลายก้อนเนื้อด้วยความร้อน โดยใช้การอัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบุตำแหน่ง ข้อดีคือเนื้อตับถูกทำลายน้อยมาก ทำลายเซลล์มะเร็งตับแบบถาวร ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

3.     การให้เคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดแดง (Transarterial Chemoembolisation – TACE) เป็นการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ และก้อนเนื้อบริเวณตับมีขนาดใหญ่ประมาณ 7 – 10 เซนติเมตร โดยการสอดกล้องหรือสอดท่อเข้าไปทางหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอกที่ตับ จากนั้นให้ยาฆ่าเซลล์มะเร็งและให้สารอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงก้อนเนื้องอก ทำให้ก้อนเนื้องอกถูกทำลายด้วยเคมีบำบัดและขาดเลือดไปเลี้ยง วิธีนี้ช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน แต่อาจต้องกลับมาทำซ้ำหากเซลล์มะเร็งยังมีอยู่ หรือรักษาก้อนเนื้องอกจนเล็กลง

4.     การจี้ทำลายก้อนมะเร็งตับด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Ablation) คล้ายกับวิธี RF โดยใช้เข็มที่ผลิตความร้อนจากคลื่นไมโครเวฟผ่านรูเล็ก ๆ ที่มีขนาดเพียง 2 – 3 มิลลิเมตรเข้าไปทำลายก้อนเนื้อในตับที่มีขนาดไม่เกิน 5 เซนติเมตร โดยใช้การอัลตราซาวนด์หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระบุตำแหน่ง วิธีนี้ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว

ขอบคุณข้อมูลจาก สินมั่นคงประกันสุขภาพ ..เราประกัน คุณมั่นใจ..  



ผู้ตั้งกระทู้ Four Gal :: วันที่ลงประกาศ 2020-06-12 14:41:45 IP : 49.49.239.121


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.