ReadyPlanet.com


รองเท้าเพื่อสุขภาพดีจริงไหม? รองเท้าที่ดีควรเป็นอย่างไร?


รองเท้าเพื่อสุขภาพ นับเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจในยุคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาวออฟฟิศที่ต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่บนส้นสูงจนอาจทำร้ายข้อเท้าหรือโครงสร้างของกระดูกสันหลังได้โดยไม่รู้ตัว (คลิกอ่าน ภัยจากรองเท้าส้นสูง [url]https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=161[/url]) แล้วรองเท้าสุขภาพสามารถช่วยดูแลสุขภาพเท้าได้จริงหรือไม่ รองเท้าที่ดีและเหมาะกับเท้าควรเป็นอย่างไร

 

[size=large][b]รองเท้าเพื่อสุขภาพ คืออะไร?[/b][/size]

 

รองเท้าเพื่อสุขภาพ คือ รองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สวมใส่ไม่เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณบริเวณเท้าหรือข้อต่อที่อาจส่งผลกระทบถึงเข่าและหลัง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพเท้าอันไม่พึงประสงค์อันเกิดจากการอับชื้นและการสะสมของแบคทีเรียภายในรองเท้า เช่น ตาปลา การติดเชื่อราที่เล็บ เป็นต้น นอกจากนี้ หากมีการเลือกใช้รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคหรือทำให้เกิดแผลที่เท้าซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อและอักเสบตามมา

 

นอกจากนี้ ในขณะที่กำลังยืน ร่างกายจะมีการทิ้งน้ำหนักลงไปที่เท้าทั้งสองข้าง ซึ่งหากเป็นรองเท้าส้นสูง รองเท้าหนัง รองเท้าคัทชู หรือรองเท้าแตะแบบคีบ ก็จะยิ่งทำให้เท้าถูกบีบมากขึ้น เมื่ออาการบีบรัดถูกสะสมนานเข้าก็อาจทำให้สุขภาพเท้าและลักษณะการเดินผิดไปจากการลงน้ำหนักตามธรรมชาติ การเลือกใส่รองเท้าเพื่อสุขภาพจึงช่วยให้เท้าได้พัก และยืดอายุการใช้งานของเท้าและหัวเข่าต่อไปได้

 

[size=large][b]เลือกรองเท้าอย่างไร? ให้ดีต่อสุขภาพเท้า[/b][/size]

 

การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมกับสุขภาพเท้าของแต่ละบุคคล ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ เลือกให้เหมาะกับลักษณะเท้าและเลือกให้เหมาะกับขนาดของเท้า เนื่องจากลักษณะเท้าของแต่ละบุคคลมักมีความแตกต่างกัน แบ่งได้ตามความสูงของอุ้งเท้า ได้แก่

 

1. อุ้งเท้าแบน คือ ส่วนโค้งของเท้าหรืออุ้งเท้า มีน้อยหรือไม่มีเลย แบ่งเป็น

o เท้าแบนแบบยืดหยุ่น คือ มีลักษณะแบนเมื่อเหยียบพื้นเท่านั้น แต่ในขณะนั่งยังมองเห็นอุ้งเท้าอยู่ ควรสวมรองเท้าที่มีตรงกลางนูนขึ้นเพื่อช่วยพยุงอุ้งเท้า และเลือกรองเท้าหุ้มส้นเพื่อพยุงไม่ให้ส้นเท้าบิดหรือล้มเข้าด้านใน

o เท้าแบนชนิดติดแข็งหรือถาวร คือ มีเท้าแบนตลอดเวลา ทั้งขณะนั่งและยืน มักมีเท้าส่วนกลางกว้างกว่าปกติ ควรเลือกรองเท้าที่ด้านข้างกว้างและมีพื้นนิ่มใส่สบาย

2. อุ้งเท้าสูง ผู้ที่มีอุ้งเท้าสูง มักมีปัญหาการปวดบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้า เพราะบริเวณนี้เป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักแทนส่วนเว้าของอุ้งเท้าตรงกลางที่สูงกว่าปกติ จึงควรใส่รองเท้าที่มีลักษณะเสริมอุ้งเท้าส่วนกลาง เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจากฝ่าเท้าและส้นเท้ามาที่อุ้งเท้าแทน รองเท้าควรมีพื้นนิ่มและยืดหยุ่น แต่ถ้ามีหน้าเท้ากว้างหรือมีนิ้วหัวแม่เท้าเอียง ควรเลือกรองเท้าที่มีหน้ากว้าง ส้นเตี้ย พื้นและหนังด้านบนนุ่ม จะทำให้เท้าไม่ถูกกัดทับมากจนเกินไป

3. อุ้งเท้าปกติ ควรเลือกรองเท้าให้ขนาดเหมาะสมกับเท้า ด้วยวิธีการดังนี้

o ควรเลือกรองเท้าที่มีความยาวของรองเท้ายาวกว่านิ้วเท้าที่ยาวที่สุดประมาณครึ่งนิ้ว ส่วนที่กว้างที่สุดของเท้าตรงกับส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้า

o ทดลองสวมรองเท้าทั้งสองข้างและทดลองยืน เดิน ก่อนซื้อทุกครั้ง

o ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่าย เพราะเท้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการเดินมาทั้งวัน

o อาจเลือกซื้อรองเท้าที่ปรับขนาดได้ เช่น รองเท้าผูกเชือกจะทำให้ใส่ได้กระชับมากขึ้น และส้นรองเท้าที่ยืดหยุ่นจะช่วยลดแรงกระแทกที่เท้าได้

 

[size=large][b]เลือกรองเท้าผิด ทรมานเท้ากว่าที่คิด[/b][/size]

 

การเลือกใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับรูปเท้าอาจส่งผลทำให้เท้าได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บปวดได้ ไม่ว่าจะเป็น

 

1. การใส่รองเท้าหน้าแคบเกินไป อาจเสียดสีเท้าและทำให้มีนิ้วหัวแม่เท้าเอียงมากขึ้น

2. ทำให้ปวดอุ้งเท้า ข้อเท้า ฝ่าเท้า และส้นเท้า

3. ทำให้ท่าทางการเดินเปลี่ยนไปอาจลามไปปวดถึงข้อเข่า ข้อสะโพก และหลัง

4. ทำให้เอ็นฝ่าเท้าอักเสบเรื้อรัง ทำให้ปวดส้นเท้าบ่อย ๆ ซึ่งจะปวดมากหลังตื่นนอน

 

การใส่รองเท้าให้เหมาะกับขนาดและสรีระรูปเท้าให้มากที่สุดจึงสำคัญต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม และเป็นข้อได้เปรียบสำหรับคนที่มีสุขภาพแข็งแรง มักจะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยน้อยกว่าคนที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือไม่ฟิตร่างกาย เบี้ยประกันสำหรับคนที่ฟิตกว่าจึงควรจ่ายน้อยกว่า ประกันสุขภาพตามฟิต ตามก้าว ..ยิ่งก้าว เบี้ยยิ่งลด.. รับส่วนลดเบี้ยประกันสูงสุด 20% จากราคาปกติ สนใจรายละเอียด คลิก [url]https://www.smk.co.th/producthealthdetail/1[/url] หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance



ผู้ตั้งกระทู้ อัชชี่ :: วันที่ลงประกาศ 2021-12-17 14:55:47 IP : 202.183.242.2


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.