ReadyPlanet.com


เป็นมะเร็งปอด ต้องดูแลตัวเองอย่างไร? พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย


เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่มักต้องพบเจอคือ สภาพอากาศแบบปิดที่ส่งผลให้ PM 2.5 เพิ่มปริมาณขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายได้มากมาย (PM 2.5 กลับมาแล้ว! แนะเช็กค่าฝุ่นก่อนเดินทาง ปริมาณเท่าไรอันตรายอย่างไร https://www.pptvhd36.com/health/news/2142) รวมถึงโรคมะเร็งปอด ซึ่งพบในผู้ป่วยชายมากที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศ (มะเร็งปอด รู้เร็วกว่า หายได้ก่อน https://www.smk.co.th/newsdetail/1647) แต่หากตรวจพบเชื้อมะเร็งที่ปอด ผู้ป่วยควรต้องปฏิบัติตัวอย่างไร รวมถึงการปฏิบัติของคนใกล้ชิดและบุคคลในครอบครัว หากพบว่า สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งปอด

ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดดูแลตัวเองอย่างไร

พญ.ธัญนันท์ เรืองเวทย์วัฒนา แพทย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า สิ่งที่สำคัญของผู้ป่วย คือ ควรเข้าใจเป้าหมายและแผนการรักษา เช่น การรักษาเพื่อให้หายขาด หรือเป็นการรักษาเสริม ซึ่งโดยมากมักเสริมกับการผ่าตัดหรือเป็นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น

ผู้ป่วยและผู้ดูแลควรทราบข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของยาเคมีบำบัด และผลข้างเคียงของยาที่ได้รับ โดยปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถจัดการกับผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัดและยาต้านมะเร็งเฉพาะจุดได้ด้วยตนเอง

ผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์ใช่หรือไม่?

ร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถต่อสู้กับความเจ็บป่วย ทนต่อผลข้างเคียงจากการรักษา และช่วยให้ผลตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น การให้ยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่ผอมมากๆ พบว่าได้ผลตอบสนองน้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะโภชนาการดี ผู้ป่วยที่มีภาวะโภชนาการไม่ดีมักจะได้รับยาเคมีบำบัดไม่ครบตามที่กำหนด และมีผลกระทบต่อระบบการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เม็ดเลือดต่ำ ผู้ป่วยควรเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะรับการรักษาดังนี้ คือ

•         รับประทานอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอและครบทั้ง 5 หมู่ คือ แป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ไข่ นม ผัก และผลไม้ ปรุงสุกสะอาด

•         หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอกาสทำให้ท้องเสียได้ง่าย เช่น อาหารค้าง ขนมจีน ส้มตำ หรือยำต่างๆ

•         ควรงดการรับประทานผักสด ผลไม้เปลือกบาง เช่น องุ่น ชมพู่ และผลไม้ที่ไม่มี เปลือก เช่น สตอร์เบอรี่ โดยเฉพาะในช่วง 14 วันแรก หลังได้รับยาเคมีบำบัด

ผู้ป่วยมะเร็งสามารถไปทำงานได้ตามปกติหรือไม่?

ผู้ป่วยมะเร็งสามารถมีกิจวัตรประจำวันไปทำงานได้ตามปกติ ออกกำลังกายได้พอสมควรตามความชอบและเหมาะสม หากมีอาการอ่อนเพลียควรนอนพักฟื้นภายหลังได้รับยาเคมีบำบัด 1-2 วันที่บ้าน พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง อาการอ่อนเพลียจะมากน้อยขึ้นอยู่กับสูตรยาเคมีบำบัด และความ แข็งแรงของผู้ป่วยแต่ละราย

สิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง

ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้

•         หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัดที่มีคนมากๆ เช่น ตลาด โรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้า

•         หากจำเป็นควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

•         ไม่ควรใกล้ชิดกับคนที่ไม่สบาย เด็กที่ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ

อาการผิดปกติแบบใด ต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด

ผู้ป่วยมะเร็งควรสังเกตจดบันทึกอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์ก่อนนัดทันที

•         มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส

•         ท้องเสีย หรือท้องผูกอย่างรุนแรง

•         ปวดมาก

•         หายใจลำบาก

•         คลื่นไส้ อาเจียน อย่างรุนแรง

ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยมะเร็งปอด

เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นหนึ่งคนย่อมมีผลกระทบต่อสมาชิกของครอบครัวเสมอ นอกเหนือจากผู้ป่วยแล้ว ผู้ดูแลก็ต้องการกำลังกายและกำลังใจไม่น้อยไปกว่าผู้ป่วย โดยนำหลักการและแนวคิดไปประยุกต์ใช้ ดังนี้

1.        เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

บ่อยครั้งที่มักจะได้ยินผู้ป่วยโรคมะเร็งและผู้ดูแลพูดว่า “ทุกอย่างอยู่ที่ใจ” โรคภัยในร่างกายที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่จิตใจคนเราสามารถปรับแต่งให้เข้มแข็งกว่าร่างกายได้ เสมอ การรับรู้ข่าวร้ายต้องใช้เวลาและความพยายามกว่าจะทำใจยอมรับได้ ปรับตัวปรับใจ ตามสถานการณ์ เปิดใจรับรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อที่จะเข้าใจแนวทางการรักษา ปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง และเตรียมตัวรับมือด้วยความพร้อม

2.        อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง

หลังจากรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จิตใจมักปฏิเสธไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นจริง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ต้องยอมรับว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องจริงและต้องเผชิญฝ่าฟันไปด้วยกัน ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อยอมรับและเข้าใจรายละเอียดของโรคและเทคโนโลยีความก้าวหน้าทางการแพทย์สำหรับการรักษาแล้ว จึงควรให้ความร่วมมือในการรักษาแผนปัจจุบัน ไม่ปฏิเสธ หลบหนี หรือแสวงหาหนทางที่ผิดไปจากความจริงหรือไม่มีหลักฐานว่ารักษาได้จริง

3.        หยุดพักทั้งกายและใจเพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงยิ่งขึ้น

ช่วงเริ่มต้นของการวินิจฉัยและรักษาเป็นช่วงที่ร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้ามากที่สุด ทั้งการที่จะต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม การรับรู้ข้อมูลใหม่ๆ การต่อสู้กับความรู้สึก ควรต้องใช้เวลาอยู่กับตัวเอง งีบหลับ ทำสมาธิ หรือทำงานอดิเรกเบาๆ ในตอนกลางวัน และการนอนหลับให้เพียงพอในตอนกลางคืน หากมีความเครียดหรือนอนไม่หลับร่างกายจะยิ่งอ่อนล้า ในบางช่วงอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้ยาช่วยให้นอนหลับได้ ลดความตึงเครียดลงได้

4.        เสริมความแข็งแรงของร่างกายด้วยการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยมะเร็งปอดไม่จำเป็นต้องนั่งหรือนอนนิ่งอยู่กับที่ หากการเจ็บป่วยไม่ได้บั่นทอนร่างกายจนเกินไป และแพทย์ไม่ได้ มีข้อห้ามการออกกำลังกายเบาๆ หรือขยับร่างกายโดยการทำงานบ้านอย่างเหมาะสม ฝึกหายใจเข้าออกช้าๆ ทำให้กระดูกและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น จิตใจแจ่มใสเบิกบานและรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น

5.        ใส่ใจคุณค่าอาหาร

ผู้ป่วยมะเร็งมักได้รับคำแนะนำให้ใส่ใจและพิถีพิถันมากขึ้นกับอาหารการกิน มีคำแนะนำ เฉพาะเกี่ยวกับอาหารในช่วงที่ให้เคมีบำบัด คือการรับประทานอาหารที่สุก สะอาด มีคุณค่าครบถ้วนตามหลักโภชนาการ ทั้งเนื้อสัตว์ ข้าว ผัก ผลไม้ รับประทานไข่ขาวให้มากขึ้นเพราะเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีประโยชน์ ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่อ อาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จากการได้รับเคมีบำบัด และสภาวะจิตใจที่หม่นหมอง

6.        เสริมสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง

ควรจัดให้มีกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ช่วยให้ผู้ป่วยมีจิตใจเบิกบาน ไม่เป็นโรคซึมเศร้า สามารถปล่อยวางและหยุดคิดหมกมุ่นเรื่องโรคภัยในร่างกายได้ชั่วขณะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดและชื่นชอบของแต่ละบุคคล เช่น การเข้าวัด ฟังธรรม ทำบุญ ฟังเพลง ท่องเที่ยว หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง

การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การเข้าใจถึงการรักษา และผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสู่ขบวนการรักษาเพื่อลดผลข้างเคียงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ประกันภัยโรคมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงทางการเงินให้คุณในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคมะเร็ง จ่ายเป็นเงินก้อนทันทีที่ตรวจพบโรคมะเร็งครั้งแรก สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/6 หรือ โทร.1596 Line : @smkinsurance พร้อมติดตามอ่านข้อมูลและเนื้อหาสาระดีดีเพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com



ผู้ตั้งกระทู้ อัชชี่ :: วันที่ลงประกาศ 2022-11-21 13:54:35 IP : 49.49.224.5


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.