ReadyPlanet.com


หนี! ซ่อน! สู้! เอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง


 
 
นับเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตระหนกและหวาดกลัวให้กับผู้คนทั้งประเทศและเป็นกระแสข่าวที่ถูกรายงานในหลายสำนักข่าวทั่วโลก กับเหตุกราดยิงที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดหนองบัวลำภู จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 37 คน (สรุปเหตุกราดยิงหนองบัวลำภู https://www.bbc.com/thai/thailand-63159075) สร้างความหวาดวิตกให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองรวมถึงผู้คนในสังคม ถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต และถามหาถึงมาตรการเพื่อควบคุมและป้องกันเหตุร้าย และวิธีเอาตัวรอดเมื่อต้องเจอกับเหตุที่ไม่คาดคิด สินมั่นคงประกันภัยรวบรวมข้อมูลมาฝากค่ะ
 
ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับแจ้งเหตุ
เมื่อรับทราบว่ามีเหตุกราดยิงเกิดขึ้นในละแวกใด ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไป ณ ที่แห่งนั้นทันที หรือหากอยู่ในละแวกใกล้เคียง ให้รีบเดินทางออกจากพื้นที่ทันที พร้อมแจ้งเหตุกับคนรู้จัก พ่อแม่พี่น้อง และเพื่อนร่วมงานผ่านช่องทางการติดต่อทั้งโทรศัพท์และ Social Media
คอยระมัดระวังรอบ ๆ ตัวอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะถึงสถานที่ปลอดภัย เช่น สถานีตำรวจ หรืออาคารบ้านเรือนที่ห่างไกลจากจุดเกิดเหตุ
 
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีเหตุกราดยิง
รศ.นพ.รัฐพลี ภาคอรรถ ศัลยแพทย์จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเสวนา เรื่อง การหลบหนีและการเอาตัวรอดในเหตุการณ์กราดยิงในที่สาธารณะ หรือ Escape and Survive in Mass Shooting ซึ่งจัดขึ้นโดย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ว่า หากต้องประสบเหตุอยู่ท่ามกลางเหตุกราดยิงในที่สาธารณะ สิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งและโดยเร็วที่สุดคือการหลบหนี การหลบซ่อน และการต่อสู้ (Run - Hide - Fight) โดยมีข้อควรปฏิบัติดังนี้
 
1. หลบหนี (RUN)
หนีจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด รวมถึงสังเกตและจดจำทางเข้าออก วางเแผน และเตรียมพร้อมในการหลบหนีออกจากสถานที่นั้นอย่างรวดเร็วที่สุต โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางหนีที่คับแคบ
มีสติอยู่เสมอขณะหลบหนี ที่สำคัญควรสละสิ่งของหรือสัมภาระทั้งหมดเพื่อการหลบหนีที่คล่องตัว และหากเป็นไปได้ควรช่วยเหลือคนรอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
มองหาช่องทางหลบเลี่ยงเช่น ทางหนีไฟ เพื่อความปลอดภัย อย่าใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อน เพราะอาจเสี่ยงต่อการสังเกตเห็นได้
ปิดเสียงแจ้งเตือนทุกชนิดเพื่อป้องกันการได้ยินของคนร้าย และห้ามถ่ายทอดสดในทุกกรณี
แจ้งทางบ้านหรือที่ทำงานทันทีโดยใช้การพิมพ์แทนการโทรศัพท์หลังจากหลบเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัย
แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารพร้อมรายงานสถานการณ์โดยละเอียด และแจ้งคนรอบข้างไม่ให้เข้าไปในเหตุการณ์
 
2. หลบซ่อน (HIDE) ในกรณีที่ไม่สามารถหลบหนีได้ แนะนำให้หาที่หลบซ่อนเพื่อให้พ้นสายตาของผู้ก่อเหตุ โดยสิ่งที่ควรทำ มีดังนี้
 
ปิดไฟมืด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือติดต่อที่ทำให้เกิดเสียง เช่น ทีวี วิทยุ และเปลี่ยนเสียงโทรศัพท์ให้เป็นระบบสั่น ปิดเสียงแจ้งเตือนทุกชนิดเพื่อป้องกันการได้ยินของคนร้าย
หากมีหน้าต่างหรือประตู ให้ปิดม่าน และล็อกประตูให้แน่นหนา พยายามหาวัตถุที่หนักและมั่นคง เช่น โต๊ะ ตู้ กั้นประตูไว้
การหลบซ่อนที่ดี ควรแอบอยู่หลังหรือใต้โต๊ะ ตู้ที่แข็งแรง
พยายามหลีกเลี่ยงที่อับหรือปิดตาย และไม่ควรอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตราย เช่น ริมหน้าต่างกระจก
หากหลบซ่อนอยู่หลายคน ให้กระจายตัวกันออกไปและกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้ได้มากที่สุดเพื่อเพิ่มความปลอดภัย และพยายามขอความช่วยเหลือหรือติดต่อเจ้าหน้าที่โดยไม่ต้องใช้เสียง เช่น ขอความช่วยเหลือผ่านช่องทาง SMS หรือ LINE เป็นต้น
หลบจากสายตาของผู้ก่อการร้าย พยายามทำตัวให้เงียบที่สุด และอยู่ห่างจากการมองเห็นหรือพบเจอโดยผู้ก่อการร้าย จนกว่าจะมีเจ้าหน้าที่มาแจ้งว่าสถานการณ์ปลอดภัย
 
3. ต่อสู้ (FIGHT)
หากอยู่ที่สถานการณ์คับขัน ไม่สามารถหลบหนีหรือซ่อนตัวได้ วิธีการสุดท้ายในการเอาตัวรอดคือ การต่อสู้ตัวยสติ ด้วยวิธีการดังนี้
ให้ทำการตอบโต้อย่างรุนแรงทันทีที่คิดว่าต้องมีการปะทะ หรืออาจควานหาของแข็งที่อยู่ใกล้มือแล้วขว้างใส่มือปืน รอจังหวะเปลี่ยนกระสุนแล้วกระโดดเข้าปล้ำ
หว่านล้อมให้ผู้ประสบภัยร่วมมือกันลอบจู่โจม โดยเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เก้าอี้ ถังดับเพลิง กรรไกร เครื่องครัว เช่น มีด กระทะ อะไรก็ตามที่สามารถปาใส่ผู้ก่อการร้ายได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ร้ายบาดเจ็บรุนแรงในทันที
ในสถานการณ์เฉพาะหน้านั้น ไม่ควรพูดเพื่ออ้อนวอน ขอร้องหรือเกลี้ยกล่อมคนร้าย เพราะวิธีการเหล่านี้มักไม่ได้ผล และในทางกลับกันอาจยิ่งกระตุ้นคนร้ายให้ตื่นตัวมากขึ้น
 
หลังจบเหตุการณ์
แสดงมือที่ว่างเปล่าให้เจ้าหน้าที่เห็นเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และทำความเข้าใจก่อนว่าเจ้าหน้าที่ต้องระงับเหตุการณ์ก่อนจะเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อย่าตื่นตระหนกจนกลายเป็นการขัดขวางเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงาน
เจ้าหน้าที่จะมีการพกพาอาวุธหนัก รวมไปถึงสเปรย์ หรือแก๊สน้ำตาในการเข้าควบคุมสถานการณ์ และอาจบอกให้ทุกคนหมอบลงไปที่พื้นเพื่อความปลอดภัย
พยายามตามเจ้าหน้าที่อพยพไปตามทางที่เจ้าหน้าที่เดินเข้ามา ยกเว้นจะมีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น
ให้ดูแลตัวเองให้ปลอดภัยก่อนเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ หรือก่อนที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาช่วยเหลือ
ถ้าผู้บาดเจ็บกำลังตกอยู่ในอันตราย ให้ช่วยพาเข้าสู่ที่ปลอดภัยทันที
ระหว่างรอเจ้าหน้าที่ ให้มองหาชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วทำแผลให้กับผู้บาดเจ็บ (ช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานมีขั้นตอนอย่างไร? https://www.smk.co.th/newsdetail/2941) 
ให้เข้าพบจิตแพทย์เพื่อบำบัดอาการทางจิตหลังจากจบเหตุการณ์
  
การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์กราดยิง หรือเหตุฉุกเฉินในที่สาธารณะไม่ใช่สิ่งไกลตัวอีกต่อไป จึงควรต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดในทุกกรณี ช่วยคุณให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ด้วยประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ที่ให้ความคุ้มครอง กรณีประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกแห่งทั่วโลก สนใจรายละเอียด คลิก www.smk.co.th/productpadetail/2  หรือ โทร.1596 Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com/ 
 


ผู้ตั้งกระทู้ อัชชี่ :: วันที่ลงประกาศ 2022-10-12 16:00:29 IP : 49.49.230.134


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.