ReadyPlanet.com


ใช้หน้ากากแบบไหน ปลอดภัยจาก Covid-19


สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาเริ่มเข้าสู่ภาวะตึงเครียดอีกครั้ง จากข่าวการขอกลับเข้ามายังประเทศไทยของบรรดา “ผีน้อย” หรือผู้ลักลอบเข้าไปทำงานที่ประเทศเกาหลีแบบผิดกฎหมาย พร้อมข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยอีกมากมาย จนเป็นเหตุให้สังคมเกิดความหวั่นวิตกต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ Covid-19 ที่อาจติดมากับผู้ที่กำลังเดินกลับมาจากประเทศเกาหลี

จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้เกิดกระแสการกักตุนหน้ากากอนามัยเพื่อใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อ จนเป็นเหตุทำให้หน้ากากอนามัยขาดแคลน และมีกลุ่มผู้ค้าหัวใสนำหน้ากากอนามัยใช้แล้วมาทำความสะอาดใหม่เพื่อเอากลับมาใช้ซ้ำ สร้างความเป็นกังวลเพิ่มขึ้นให้กับประชาชน ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้ออกข้อแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งต่อตัวเรา คนรอบข้าง และสังคมโดยรวม

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ คือใคร?

หลายคนอาจสงสัย อุรเวชช์ คือใคร? ทำไมต้องออกมาให้คำแนะนำเรื่องหน้ากากอนามัย เริ่มกันที่คำว่า อุระ เป็นภาษาทางการ แปลว่า หน้าอก เวชช์ แปลว่า การรักษาโรค เพราะฉะนั้น อุรเวชช์ จึงหมายถึง คุณหมอหรือการรักษาที่ดูแลโรคด้านทรวงอกนั่นเองค่ะ โดยการก่อตั้งสมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าด้านวิชาการของแพทย์โรงทรวงอก และชี้นำสังคมส่งเสริมนโยบายสาธารณะในด้านสุขภาวะการหายใจของประชาชน จึงเป็นเหตุให้ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกมาแนะนำถึงการใช้หน้ากากอนามัยที่ถูกต้องนั่นเองค่ะ

ใส่หน้ากากแบบไหน? ปลอดภัยทุกคน

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมาถึงข้อแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยไว้ดังนี้ค่ะ

  1. ผู้ที่มีอาการไข้หวัดทุกคน ให้ใส่หน้ากากอนามัย จนติดเป็นนิสัย แม้ปัญหาเรื่อง โควิด-19 จะหมดไป

  2. ผู้ที่มีประวัติเดินทางไปสถานที่เสี่ยงหรือใกล้ชิดผู้ที่เสี่ยง ให้ใส่หน้ากากอนามัย แม้จะไม่มีอาการ

  3. ผู้ที่ต้องช่วยดูแลบุคคลในข้อ 2. ให้ใส่หน้ากากอนามัย

  4. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิดที่มีคนอยู่แออัด ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ เช่น รถสาธารณะ ร้านอาหาร โรงมหรสพ ให้ใส่หน้ากากอนามัย

  5. ผู้ที่จะไปติดต่อโรงพยาบาลด้วยเหตุใด ๆ (หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลหากไม่จำเป็น) ให้ใส่หน้ากากอนามัย

  6. พนักงานขับรถสาธารณะหรือผู้ที่ให้บริการสาธารณะอื่น ๆ ที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก ให้ใส่หน้ากากอนามัย

  7. บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั่วไป ให้ใส่หน้ากากอนามัย และถ้าเป็นผู้ป่วยมีอาการไข้หวัดหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ให้ใส่หน้ากากอย่างน้อยเทียบเท่า N95 เพราะถ้าได้รับเชื้อแล้วจะไปแพร่ให้ผู้ป่วยอื่นได้ง่าย

ทางสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ยังได้ให้ข้อแนะนำอีกว่า ในกรณีที่สามารถจัดหาหน้ากากอนามัยได้ง่ายในพื้นที่ ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่เป็นกังวล และต้องการสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปสู่ที่สาธารณะ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานรองรับในเรื่องของประโยชน์ที่ได้หรือผลที่เสียจากการใส่หรือไม่ใส่หน้ากากอนามัยเช่นกัน นอกเสียจากว่า จะทำให้มีหน้ากากจำหน่ายไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะพื้นที่ที่ขาดแคลน

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐจำเป็นต้องจัดหา หน้ากากทุกประเภท ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้มีใช้อย่างเพียงพอก่อน แล้วจึงจัดหาหน้ากากอนามัยให้เพียงพอสำหรับประชาชนทั่วไปได้ใช้งานเท่าที่จำเป็น และการใส่หน้ากากอนามัยเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อเท่านั้น จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพทั่วไป การให้ข้อมูลด้านความเสี่ยงต่อการติดเชื้ออย่างเปิดเผย การหลีกเลี่ยงไปในที่ชุมนุมชน การระมัดระวังไม่สัมผัสวัตถุและวัสดุและส่วนหนึ่งส่วนใดของผู้อื่นในที่สาธารณะ และหมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

ที่สำคัญคือ การใส่ ถอด และทิ้ง หน้ากากอนามัยทุกประเภท ต้องทำอย่างถูกวิธีเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนา ช่วยยืดระยะเวลาในการเข้าสู่การระบาดของโรคระยะที่ 3 ให้เกิดขึ้นอย่างช้าที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจากสินมั่นคงประกันภัย https://www.smk.co.th



ผู้ตั้งกระทู้ Synchai :: วันที่ลงประกาศ 2020-03-05 16:42:32 IP : 202.183.242.2


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4194034)

 หน้าสีฟ้าค่ะ  ถ้าเป็นผ้าจะป้องกันได้น้อยน้ำซึมซับเข้าได้ง่าย 


>> หวยเวียดนาม

ผู้แสดงความคิดเห็น Beemmii วันที่ตอบ 2020-03-17 12:51:07 IP : 61.91.156.50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.