ReadyPlanet.com


ฝีดาษลิงมีอาการอย่างไร ผื่นฝีดาษลิงต่างจากผื่นไข้เลือดออกอย่างไร


แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จะคลี่คลายลงแล้ว แต่โรคอุบัติใหม่อย่างฝีดาษลิงก็ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทยอยู่ และมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้หลายคนที่เริ่มมีผื่นขึ้นตามร่างกายอาจมีความกังวลว่า ผื่นที่เห็น อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคฝีดาษลิงได้ แล้วฝีดาษลิงมีอาการอย่างไร มีความแตกต่างจากผื่นไข้เลือดออกหรือผื่นอื่น ๆ อย่างไร

 

โรคฝีดาษลิง คืออะไร?

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) (https://www.thaihealth.or.th/) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงไว้ว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิด DNA ชื่อ monkey pox เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่ม Ortho poxvirus ซึ่งเกิดการติดเชื้อในสัตว์มาก่อน และสามารถติดเชื้อจากสัตว์สู่คนได้ โดยต้นกำเนิดพื้นที่การระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกาตอนกลางถึงตะวันตกแล้วจึงแพร่ระบาดไปสู่ภูมิภาคอื่น ๆ ถึงแม้ว่าโรคฝีดาษลิงจะมีอาการคล้ายกับโรคฝีดาษคน แต่ฝีดาษลิงมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคได้น้อยกว่า และธรรมชาติของโรคมีความรุนแรงน้อยกว่าฝีดาษคนมาก

ไวรัสฝีดาษลิงแบ่งได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (clade 2) โดยสายพันธุ์แอฟริกากลางจะมีการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าและอาจแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า

 

โรคฝีดาษลิง ติดต่อได้อย่างไร?

โรคฝีดาษลิงติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส ทั้งจากสัตว์สู่คน (ได้แก่ สัตว์จำพวกหนู กระรอก และลิง) และจากคนสู่คนที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ ด้วยวิธีการดังนี้

•         สัมผัสที่ผื่นโดยตรง สัมผัสเลือด สัมผัสสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย การไอจาม หรือจากสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส

•         ติดต่อผ่านละอองฝอยขนาดใหญ่จากทางเดินหายใจ พบในผู้ที่อยู่ใกล้ชิด พูดคุยกันเป็นเวลานาน

•         ติดต่อจากแม่สู่ลูกผ่านทางรกได้

การติดเชื้อฝีดาษลิง มีกี่ระยะ?

เมื่อได้รับเชื้อฝีดาษลิง จะมีอาการเกิดขึ้นได้ภายใน 6 – 13 วัน หรืออาจพบได้ถึง 21 วัน (หรือที่เรียกว่าระยะฟักตัว) โดยลักษณะอาการดั้งเดิมของโรคฝีดาษลิง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ

1.       ระยะแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ที่สำคัญคือมีต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งแตกต่างจากโรคสุกใส หรือโรคฝีดาษคน ระยะนี้อาจมีอาการได้ถึง 5 วัน

2.       ระยะผื่น เกิดขึ้นภายใน 3 วัน หลังจากมีไข้ ผื่นจะมีลักษณะเป็นผื่นแบน จากนั้นค่อยนูนเป็นตุ่มน้ำใส หรือเป็นตุ่มหนอง และแตกเป็นสะเก็ดหลุดไปในที่สุด ผื่นมักเกิดที่หน้าและแขนขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มากกว่าที่ตัว สามารถพบได้ในเยื่อบุต่าง ๆ เช่น ในช่องปาก เยื่อบุตา และอวัยวะเพศ

 

ฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร

อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้

1.       ไข้ สามารถเป็นได้ทั้งก่อนเป็นผื่น ขณะเกิดผื่น หรือหลังเกิดผื่น ซึ่งผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงบางรายอาจไม่มีไข้

2.       ผื่น ส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยตุ่มน้ำและตุ่มหนอง หรือเป็นสะเก็ด ซึ่งผื่นสามารถพบได้หลายระยะพร้อมกัน และมักมีอาการเจ็บที่ผื่น

3.       จำนวนผื่นที่มีไม่มาก จากการศึกษาพบว่า กว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมีผื่นไม่ถึง 10 ผื่น และเป็นแผลที่อวัยวะเพศหรือทวารหนัก โดยไม่มีผื่นที่อื่นเลย ได้ถึงร้อยละ 10

4.       ตำแหน่งผื่น พบที่บริเวณอวัยวะเพศมากที่สุด รองลงมาคือที่ตัว แขน ขา หน้า อาจมีผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้าได้ ส่วนใหญ่พบหลายบริเวณพร้อมกัน

5.       ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง แต่หากพบอาการรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อนที่ปอด เชื้อลามไปที่สมอง เกิดสมองอักเสบ บางรายติดเชื้อที่กระจกตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ผู้ที่มีอาการรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตได้ 3 – 6%

 

ผื่นฝีดาษลิง แตกต่างจากผื่นไข้เลือดออกหรือผื่นอื่นๆ อย่างไร

สถาบันโรคผิวหนัง ให้ข้อมูลว่า ความแตกต่างของโรคฝีดาษลิง และโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่พบรอยโรคเป็นตุ่มน้ำ สามารถแยกได้ดังนี้

1.       ไข้ทรพิษ หรือ ฝีดาษ จะเป็นโรคที่แยกจากฝีดาษลิงได้ยากที่สุด คือ มีอาการนำคล้ายกันคือ ไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหลัง แต่ในฝีดาษลิงมักพบต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย ขณะที่ไข้ทรพิษมักมีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น อาเจียน ปวดท้องได้มากกว่า

2.       โรคสุกใส ลักษณะของอาการแสดงทางผิวหนังแม้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ในฝีดาษลิงและไข้ทรพิษ จะกลายจากผื่นแดง เป็นตุ่มแดง ตุ่มน้ำใสและตุ่มหนอง ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ด และรอยโรคทั้งหมดจะอยู่ในระยะเดียวกัน ขณะที่ในโรคสุกใส รอยโรคแต่ละตำแหน่งจะมีการเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ทำให้ผู้ป่วยอาจจะพบรอยโรคในทุกระยะในเวลาเดียวกันได้

3.       ส่วนงูสวัด และ เริม รอยโรคมักจะไม่มีการกระจายตัวไปทั่ว โดยงูสวัดจะอยู่ในแนวของเส้นประสาท และเริม มักมีรอยโรคเป็นกลุ่มในบริเวณเล็ก ๆ เท่านั้น จึงมีความแตกต่างจากโรคฝีดาษลิง แต่หากโรคฝีดาษลิงที่มีรอยโรคเล็กน้อย ในบริเวณแคบ ๆ ที่ไม่กระจายตัว อาจจะแยกได้ยากจากโรคกลุ่มนี้ ทำให้ต้องอาศัยการตรวจพิเศษเพิ่มเติมและการแยกชนิดเชื้อด้วยวิธีการพิเศษทางห้องปฏิบัติการ

4.       โรคการติดเชื้อไวรัสที่ออกผื่น เช่น หัด หัดเยอรมัน ไข้เลือดออก ลักษณะอาการทางผิวหนัง มักจะเป็นผื่นแดง การพบตุ่มน้ำนั้นเกิดได้น้อยมาก ทำให้สามารถแยกโรคจากโรคฝีดาษลิงได้ หากมีอาการดังกล่าว แนะนำให้รีบมาพบเเพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที

 

ประกันภัยไข้เลือดออก ช่วยให้คุณอุ่นใจ ด้วยค่ารักษาพยาบาลจากโรค “ไข้เลือดออก” คุ้มครองทั้งกรณีผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) พร้อมค่าชดเชยรายวันระหว่างรักษาตัว ด้วยค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยสูงสุดถึง 195,000 บาท เบี้ยเริ่มต้นเพียง 203 บาทต่อปี ร่วมปกป้องคนที่คุณรักตั้งแต่วันนี้ เพราะภัยร้ายจากยุงลาย อาจทำร้ายคุณและคนที่คุณรักได้มากกว่าที่คิด สนใจรายละเอียด คลิก https://www.smk.co.th/producthealthdetail/14 หรือ โทร. 1596 ตลอด 24 ชั่วโมง  Line : smkinsurance และสามารถติดตามเนื้อหาสาระดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://smkinsurance.blogspot.com



ผู้ตั้งกระทู้ อัชชี่ :: วันที่ลงประกาศ 2023-09-28 10:40:02 IP : 202.183.242.2


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.