ReadyPlanet.com


ผ่าตัดแก้ไข “ถุงใต้ตา” ใต้ตาเนียนเรียบสวย ไร้ถุงใต้ตา โดยศัลยแพทย์เฉพาะทาง


 

ผ่าตัดแก้ไข “ถุงใต้ตา” ใต้ตาเนียนเรียบสวย ไร้ถุงใต้ตา โดยศัลยแพทย์เฉพาะทางสาเหตุการเกิด “ถุงใต้ตา”

   ถุงใต้ตา และความหย่อนคล้อยบริเวณเปลือกตาล่าง เกิดจาก กล้ามเนื้อตาที่เปรียบเสมือนผนังของหนังตาที่กั้นไขมันใต้ตาไว้อ่อนล้าและเสื่อมสภาพลง เนื่องจากพฤติกรรมที่กล่าวไปข้างต้น ทำให้ ก้อนไขมันนั้นจะดันผนังกล้ามเนื้อตาที่อ่อนแอออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจเห็นได้ตั้งแต่วัยรุ่นและชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆตามอายุ ทำให้ดูไม่สดใส ดูหนื่อยล้าเหมือนง่วงนอนอยู่ตลอดเวลาซึ่งคอยบดบังความงามของดวงตาคู่สวย

    หากคิดจะกำจัดถุงใต้ตาให้ออกไป การทำศัลยกรรมตกแต่งกำจัดถุงไขมันใต้ตา เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะถ้าหากไม่มีถุงใต้ตาก็จะทำให้ดวงตากลับมาดูกระชับ เปล่งปลั่ง สดใส การทำศัลยกรรมตกแต่งตาล่างนี้สามารถทำได้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

 

การผ่าตัดสามารถใช้อุปกรณ์ 3 แบบคือ

    ใบมีด (Scapel) ซึ่งเป็นวิธีปกติที่ทำกันในอดีต ราคาถูกและสามารถใช้งานง่าย ขอบแผลจะไม่ถูกทำลายด้วยความร้อนใดๆ แพทย์บางท่านจึงยังนิยมอยู่ เพราะเชื่อว่าทำให้การหายของแผลจากการผ่าตัดถุงใต้ตาดีกว่าเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่ ข้อเสียคือการบวมช้ำของตาอาจจะนานกว่า

   การผ่าตัดถุงใต้ตาด้วยเลเซอร์  คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ (CO2 laser) ปกติใช้สำหรับงานผ่าตัดผิวหนังต่างๆอยู่แล้ว โดยพลังงานเลเซอร์จะสามารถควบคุมความลึกได้ดีและความร้อนทำให้ขอบแผลไม่มีเลือดออก ทำให้บวมช้ำน้อย แม้จะมีแพทย์บางท่านนิยมใช้และอ้างว่าสามารถลดอาการบวมหลังการ ผ่าตัดถุงใต้ตา ที่คนไข้จะกลัวมากได้ แท้จริงแล้ว เมื่อเทียบกับการผ่าตัดถุงใต้ตา แบบมาตรฐานที่ใช้ใบมีดไฟฟ้าที่ใช้กัน พบว่าไม่มีความแตกต่างแต่อย่างใด

   การใช้ใบมีดไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าเครื่องจี้ (Electrical cauterize) ซึ่งใช้กระแสไฟฟ้าและคลื่นความร้อนผ่านหัวตัดขนาดเล็ก ซึ่งจะสามารถเลือกได้ว่าจะเล็กในระดับมิลลิเมตรเลยทีเดียว เพื่อความแม่นยำของการทำงาน เนื่องจากขณะทำการตัดตัวใบมีดก็จะจี้หยุดเลือดไปด้วย ทำให้เลือดออกน้อย ก็จะมี อาการบวมช้ำหลังผ่าตัดถุงใต้ตา น้อยและฟื้นตัวเร็วเพราะเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในการใช้งานของโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ในการ แก้ไขถุงใต้ตา อย่างไรก็ดีทักษะความชำนาญของแพทย์แต่ละท่านกับเครื่องมือแต่ละอย่าง เป็นสิ่งที่สำคัญกับการทำงาน เราจึงแทบไม่เห็นความแตกต่างของผลการรักษาในเครื่องมือต่างๆเหล่านี้ ดังนั้น ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้มาก

 

วิธีแก้ไขผ่าตัด

1. ผ่าตัดถุงใต้ตาแบบเปิดแผลด้านใน

   เป็นการผ่าจากบริเวณด้านในของขอบตาล่าง ทำให้สามารถปกปิดรอยแผลได้ดี และไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อย เหมาะกับคนที่ยังไม่มีหนังตาส่วนเกิน

2. ผ่าตัดถุงใต้ตาแบบเปิดแผลด้านนอก

   เป็นการผ่าจากบริเวณด้านนอกของขอบตาล่าง เหมาะสำหรับคนที่มีหนังตาส่วนเกินเยอ เพราะจะตกแต่งได้ทั้งหนังตาที่หย่อนคล้อย พร้อมตัดไขมันในถุงใต้ตาออกไปได้ แต่อาจเห็นรอยแผล ซึ่งแพทย์จะพยายามซ่อนแผนไว้ที่ชิดแนวชนตาด้านล่าง จะมีอาการบวมมากกว่าการผ่าแบบเปิดแผลด้านใน

    การผ่าตัดถุงใต้ตาใช้เวลาประมาณ 60 นาที และต้องนอนพักฟื้นอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อรอให้ยาชาหรือยานอนหลับหมดฤทธิ์ก่อน ถึงจะสามารถกลับบ้านได้

 

ก่อนผ่าตัดแก้ไข “ถุงใต้ตา“ เตรียมตัวอย่างไร ?

  • งดรับประทานยาละลายลิ่มเลือด (กลุ่มยา Aspirin, Ibuprofen) วิตามินเอ อี ซี สมุนไพร โสม ใบแปะก๊วย น้ำมันปลา ก่อนรับบริการ 2 สัปดาห์
  • งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ 
  •  

ดูแลตัวเองอย่างไร หลังการผ่าตัดแก้ไข “ถุงใต้ตา” ?

  • ประคบด้วย ช่วงเวลา 1 – 2 วันแรกเผื่ออาการบวมหายเร็วขึ้น
  • พยายามนอนให้ศีรษะสูง เพื่อให้ยุบหายบวมเร็วขึ้น
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ประมาณ 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • ประคบอุ่นเพื่อลดรอยช้ำ หลังจากผ่านไป 2 วันแล้ว
  • หลีกเลี่ยงแผลโดนน้ำ หรือถ้าจำเป็นให้ซับให้แห้ง ป้องกันแผลติดเชื้อได้
  • ไม่รับประทานอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง เหล้า ไข่ อาหารทะเล 2 สัปดาห์ 
  • ทานยาแก้ปวดตามอาการ และแก้อักเสบ ลดบวม ตามแพทย์แนะนำ
  • ทำความสะอาดแผลวันละ 1-2ครั้ง โดยใช้ไม้พันสำลีสะอาดชุบน้ำเกลือ แล้วเช็ดคราบเลือดซึมบริเวณแผล
  • ใส่แว่นตากันลมฝุ่น สิ่งสกปรกเมื่อต้องออกไปข้างนอก

 

ทำไมต้อง “ศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขถุงใต้ตา” ที่ W Plastic Surgery Hospital ?

  • ผ่าตัดโดย ศัลยแพทย์เฉพาะทาง
  • ทีมศัลยแพทย์มีความชำนาญด้าน (Facial Design) ให้เหมาะสมกับรูปหน้าแต่ละบุคคล
  • W Plastic Surgery Hospital ได้มาตรฐานระดับโรงพยาบาล


ผู้ตั้งกระทู้ forworkingkid (forworkingkid-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2019-08-02 21:16:25 IP : 134.196.43.232


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.