ReadyPlanet.com


โรคหูดับฉับพัน เส้นประสาทหูเสื่อมฉับพัน อาการจะไม่เหมือน โรค ระดับนำในหูไม่เท่ากัน


โรคหูดับ

วันที่ผมป่วย(หูดับ)อีกครั้ง
 
 

ชเนษฎ์ ศรีสุโข [ginfreeces@hotmail.com] นักศึกษาแพทย์ ปี5 ม.รังสิต-โรงพยาบาลราชวิถี เรียบเรียง
 


 

ไม่นานมานี้ ผมป่วย นอนรักษาตัวอยู่โรงพยาบาล สถานที่แห่งเดียวกันกับที่เรียนหนังสืออยู่

ป่วยครั้งนี้ เป็นเกี่ยวกับเรื่อง “หู”

ไม่ใช่ว่าเป็นคนหูเบา แต่อย่างไร

ครั้งนี้เป็นโรค “หูดับ”

เริ่มต้นด้วยเช้าวันหนึ่ง ตื่นมา มีอาการหูอื้อขึ้นทันใด อื้อข้างขวาข้างเดียว พยายามกลืนน้ำลายเอื้อก ปิดปากปิดจมูกเป่าลม กดหู ทำกันทั้งวันแล้วก็ไม่หาย ทรมานมาก จึงไปห้องฉุกเฉิน และต่อมา ไปหา หมอเฉพาะทาง หู คอ จมูก ได้รับตรวจร่างกาย เข้าเครื่องวัดการได้ยินเสียง(ออดิโอแกรม) พบว่าเป็นโรคประสาทหูเสื่อมกะทันหัน (ภาษาอังกฤษ เขาว่า sudden sensorineural hearing loss(SSNHL)) อาจารย์หมอให้ยาแล้วกลับบ้าน

ไม่ดีขึ้นอีก! ครับท่านผู้ชม ต้องกลับไปพบอาจารย์หมอ ได้รับการเพิ่มขนาดยาเป็นอย่างมาก เป็นเช่นนี้สามถึงสี่รอบ ต่อมาจากยากิน กลายเป็นยาฉีด ต้องให้ยาทางกระแสเลือดทุกแปดชั่วโมง รวมถึงนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่หลายวัน ทั้งปวดหู ทั้งหูอื้อ เสียการเรียนมากครับ แต่สุขภาพต้องมาก่อน

ผู้อื่นที่รู้ว่าป่วยนอนอยู่โรงพยาบาล ก็หวังดี มาเยี่ยมกัน ซาบซึ้ง ขอกราบขอบคุณ แต่ปัญหาคือหลายคนที่มา มักจะคุยกันเสียงดังเป็นเวลาหลายชั่วโมง หูก็เลยหายช้า ประทับใจผู้มาเยี่ยม แต่หูก็อื้อต่อไป

เวลาป่วยนี้ ไม่มีใครรู้ดีเท่าคนที่ป่วยเองนะครับ คนทั่วไปเห็นผมปกติดี หลายคนไม่เข้าใจ หลายคนหาว่าแกล้ง

จริงๆแล้วหูดับเป็นเรื่องทรมานร่างกาย และจิตใจมาก การที่คุณหูอื้อ ปวดหู หูดับไปข้างหนึ่งนั้น ทำให้รำคาญ และทุกข์ใจมาก จนจะเป็นบ้าไปได้ ยังดีที่มีครอบครัว-มิตรแท้คอยให้กำลังใจ

ต่อ เนื่องจากหายช้า คุณหมอให้ไปทำ MRI คือสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อดูว่ามีก้อนเนื้องอกที่เส้นประสาทหูหรือไม่ ปรากฏว่าโชคดี ไม่มีอะไรผิดปกติครับ

ตอนนี้ อาการหูอื้อดีขึ้นเยอะแล้วล่ะครับ แต่สิวขึ้นมากและตัวบวมแทนจากผลข้างเคียงจากยา และยังทานยาอยู่เป็นระยะ

สรุปว่าครั้งนี้เป็นโรคหูอื้อไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic) แต่สันนิษฐานว่าเกิดจาก ไวรัส และการใช้โทรศัพท์มือถือโทรข้างเดียวเยอะไป ดังนั้นท่านผู้อ่านผู้ใช้โทรศัพท์เยอะควรระมัดระวังด้วยนะครับ และผลัดเปลี่ยนหูที่ใช้คุยโทรศัพท์บ้าง จะเป็นดี

นั่งย้อนความหลัง เกี่ยวกับเรื่องเจ็บๆป่วยๆ แล้ว ทำให้นึกถึงการมาเรียนหมอ

เรียนหมอเพราะแม่...

มีหลายเหตุผลที่แม่อยากให้เรียนหมอ ไม่ว่าจะเป็นการได้ช่วยเหลือผู้คนทุกข์ยาก การมีฐานะที่มั่นคง ฐานะทางสังคม มีเกียรติ ในการเป็นที่พึ่งของคนไข้
และที่แม่อยากให้ผมเรียนหมอ เหตุผลสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ผมเป็นคนไม่ค่อยแข็งแรง ป่วยหลายโรค หากเป็นหมอก็จะสามารถดูแลรักษาตัวเองได้ดีขึ้น มีความรู้เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ

เทียบกันในหมู่ลูกสามคนแล้ว ผมเป็นลูกคนโต และเป็นลูกที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุด

สงสัยคงต้องไล่เลียงไปตั้งแต่ผมเกิดมา

ผมเกิดมาด้วย น้ำหนักตัวเพียงแค่ 2,030 กรัม (คนทั่วไปสามกิโลกว่า ลูกดาราทั้งหลายตัวใหญ่สี่กิโลกันหมด) ผมเป็นเด็กที่มีภาวะ การเจริญเติบโตในครรภ์ช้ากว่าคนปกติ (intrauterine growth retardation(IUGR)) เกิดมาตัวขนาดเท่าแมลงสาปได้ คุณย่าบอกไว้ เห็นตาโตหัวโตอย่างเดียว

แม้ว่าเกิดมาเป็นโรคร่างกายเล็กกว่าเด็กทั่วไป แต่โชคดีที่โรคนี้ไม่ทำให้สมองหด ลงไปด้วย นั่นคือไม่ลดระดับสติปัญญา เลยไม่ค่อยถูกใครด่าว่าโง่เท่าไรนัก ก็ดี

โตมาได้สักพัก เริ่มเป็นเด็กทารกภูมิแพ้ (Allergy) แพ้อากาศ แพ้ฝุ่น แพ้วิปที่ไว้ทาอกเด็กเวลาหายใจไม่สะดวก คุณพ่อคุณแม่ต้องแบกผมวิ่งโร่หาคุณหมอเด็ก ผู้เชี่ยวชาญ แพ้ไปทั่ว โตมาแพ้นมวัวอีก เพื่อนหาว่า ขี้แพ้

ตอนอยู่อนุบาลเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)

เคยเป็นโรคลำไส้เล็กส่วนปลายเน่า (Meckel’s diverticulum) ถ้าไม่ผ่าตัดก็ตาย โชคดีเป็นลูกหมอเลยวินิจฉัยได้ทันท่วงที

เป็นโรคทางพันธุกรรม G6PD คือเม็ดเลือดแดงขาดเอนไซม์บางชนิด เลยเม็ดเลือดแดงเปราะกว่าคนปกติ เหตุนี้ เคยแพ้ยารุนแรงจนเม็ดเลือดแดงแตกทั่วตัว เกือบอีกแล้ว

และเป็นคนป่วยบ่อย เป็นหวัด ท้องเสีย ฯลฯ ปีหนึ่งๆก็หลายครั้ง

ยังไม่นับอุบัติเหตุอีกมากมาย วีรกรรมที่ก่อไว้ตอนม.ปลาย คือวิ่งเล่นกับเพื่อนแล้วชนกระจก ทะลุกระจก เลือดอาบทั้งตัว, เหตุการณ์วิ่งหนีเพื่อนตกอัฒจรรย์ตอนมอต้น ขาหัก เหตุการณ์บ้าๆบอๆอีกมากที่เกิดจากความไม่ระมัดระวังฯลฯ
โถ ทำไปได้...

จากวิบากกรรมที่เล่ามา เคยมีเพื่อนผู้หญิงบอกว่า “เราคงไปด้วยกันไม่ได้หรอก เพราะว่าเธอไม่แข็งแรง อ่อนแอเกินไป ลูกเกิดมาจะอ่อนแอไปด้วย” เศร้า ไม่รู้เธอพูดจริงหรือพูดเล่น แต่ผมก็ไม่ได้สนเธอคนนี้มากนักหรอกนะ เธอ

ตอนนี้เรียนหมออยู่ มีเพื่อนบอกว่า หมอ เป็นอาชีพที่จะลาป่วย ก็ลาไม่ได้ จะลากิจก็ลาไม่ได้ โดยเฉพาะตอนเรียนอยู่ หากจะลาได้อย่างเดียวก็คือ ลามรณะ นับเป็นความโชคร้ายของนายชเนษฎ์เสียจริง

บุพการีบอกไว้ว่า ต่อให้มีความฝันยิ่งใหญ่ อยากทำประโยชน์ให้ผู้อื่น แต่ถ้าไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถทำอะไรได้เลย

จากบทเรียนแห่งความเป็นจริงนี้ เอาเรื่องจริงมาเล่าเล่นๆให้ฟัง

เลยฝากให้ท่านผู้อ่านหมั่นรักษาสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ “อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐครับ”
 
บทความนี้นำมาจากที่อื่น เผื่อนำมาเป็นประเยชน์



ผู้ตั้งกระทู้ จะมีประโยชน์ต่อผู้อื่นไม่มากก็น้อย :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-05 08:12:02 IP : 124.121.74.108


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3159856)

 

หูดับ” ฟังเสียงดังนานเสี่ยงเป็นโรคหูดับ

อาการปวดศีรษะ

อาเจียน เวียนหัว

"

หูดับ" หมายถึง อาการที่หูไม่ได้ยินเสียงเลย หรือได้ยินเสียงน้อยลง ซึ่งอาจเกิดข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียว โดยที่อาการดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ภาษาอังกฤษเรียกว่า sudden hearing loss เรียกย่อๆ ว่า SHL

ในทางทฤษฎีแล้วนั้น

โรค

สาเหตุ

ส่วนใหญ่โรค

โรคหูดับ หรือ SHL หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป อาการของโรค SHL อาจเป็นเพียงชั่วคราว หรือเกิดขึ้นอย่างถาวร SHL เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทั้งเพศชายและหญิง อายุระหว่าง 30-60 ปี จากสถิติพบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามเกิดอาการในตอนเช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากตื่นนอนใหม่ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว รู้สึกบ้านหมุน และมีเสียงดังในหู SHL เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าการเกิดโรค SHL มักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งเป็นการติดเชื้อในหูชั้นในและเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อีกทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายกลไกการเกิดโรค SHL และได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เชื่อว่าการเกิดโรค SHL เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางอิมมูนที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน

1.

การติดเชื้อไวรัสบางชนิด พบสาเหตุของโรค SHL เกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า seroconversion ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster

รายงานการศึกษาที่ยืนยันแนวความคิดที่ว่าการติดเชื้อไวรัสเป้นสาเหตุหนึ่งของโรค

ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า

SHL คือการที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะเชื้อไวรัสคางทูมจากสารน้ำในหูชั้นใน และเพาะเชื้อไวรัส CMV จากสารน้ำในหูชั้นในของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัส CML ตั้งแต่แรกเกิด ที่อาจพบเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ้าง ได้แก่ ไวรัสหัด measles, เฮอร์ปีไวรัส herpes-1 และไวรัสอินเฟ็คเชียสโมโนนิวคลิโอสิส infectious mononucleosis ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไวรัสในตระกูลเฮอร์ปี herpes family ทั้งสิ้น ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาจากเนื้อเยื่อหูชั้นในของผู้ป่วยที่เป็นโรค SHL จะพบการตายของเซลล์หลายชนิดภายในหูชั้นใน รวมทั้งลักษณะที่บ่งบอกถึงการเสื่อมของเซลล์อย่างชัดเจน

2.

ภาวะหูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก และในสัตว์ทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน มีผลทำให้เกิดการตายของเซลล์ได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการอุดตัน ตีบตัว การแตก ของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในจึงอาจเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง

3.

ปฏิกิริยาทางอิมมูน SHL คือการพบอาหารหูดับในผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปุส กลุ่มอาการโคแกน เป็นต้น ปัจจุบันแม้ยังไม่สามารถตรวจ marker ที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่งานวิจัยช่วงหลัง เชื่อว่า โรค SHL น่าจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตนเอง หรือที่เรียกว่า autoimmunityการฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน intracochlear membrane

เยื่อดังกล่าวทำหน้าที่แยกหูชั้นในออกจากหูชั้นกลางและแบ่งช่องของสารน้ำที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน

บางรายสาเหตุเกิดจากความเครียด

การวินิจฉัยโรค

เมื่อมีอาการหูดับหรือฟังเสียงไม่ได้ยิน

การตรวจวัดระดับการได้ยิน

ระดับเล็กน้อย

ในกรณีที่มีการฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้ นอกจากนี้เสียงที่ดังมากๆ ทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้หูดับ ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินทันที ไม่ได้นอนพักผ่อน อดหลับอดนอน หรือเป็นเพราะโหมงานหนักมากเกินไป ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก ติดต่อกันโดยไม่พักผ่อน อาจทำให้เกิดอาการหูดับขึ้นได้เช่นกัน ควรมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยในทันที แพทย์หูคอจมูกจะทำการตรวจหูโดยละเอียด และพิจารณาส่งตรวจวัดการได้ยิน ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัย และประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี เรียกว่า Hearing tests หรือ Audiometry แบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ (mild) 25-39 เดซิเบล

ระดับปานกลาง

(moderate) 40-68 เดซิเบล

ระดับรุนแรง

(severe) 70-94 เดซิเบล

การตรวจพิเศษอื่นๆ

เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็นการตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อน ทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่ และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจเป็นสาเหตุได้ เนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma)

แนวทางการรักษา

ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนเพื่อรักษาอาการอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และห้ามฟังหรือเข้าใกล้เสียงที่ดังมาก หากสามารถหยุดทำงานได้ก็จะเป็นการดี และควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถ้าไม่สะดวก อาจพิจารณาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการของโรคจะดีขึ้น หรือหายได้เอง ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด ดังนั้นในรายที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาที่มากมาย เนื่องจากไม่ช่วยให้อัตราการหายจากโรคเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

การรักษาโดยยาต้านไวรัสได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักษณะอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสเฮอร์ปีซิมเพล็ก herpes simplex virus จากการศึกษาวิจัย พบว่าเชื้อไวรัสในตระกูลเฮอร์ปี เป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ่อย การรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสชื่อ อะซัยโคลเวีย acyclovir พบว่าได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส HSV-1 และได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ดังนั้น ถ้าคิดว่าสาเหตุอาจเกิดจากเชื้อเฮอร์ปี แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังกล่าว

การใช้ยาลดปฏิกิริยาอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์

corticosteroids ได้ผลดีเช่นกัน แพทย์อาจพิจารณาใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ จากการศึกษาวิจัย พบว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดในขนาดสูงได้ผลดีที่สุด แต่ก็มีการศึกษาที่ให้ผลในทางตรงข้าม จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดในปัจจุบัน มีรายงานการรักษาโดยฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในเยื่อแก้วหู พบว่าได้ผลดีเช่นกัน

ในปี

2001 ได้มีรายงานการศึกษาวิจัยที่ใช้วิธีการรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง หรือที่เรียกว่า hyperbaric oxygen therapy โดยใช้ออกซิเจน 2.2 ความดันบรรยากาศ เป็นเวลานาน 90 นาที ทั้งหมดรวม 10 ครั้ง พบว่าได้ผลดี แต่ยังคงต้องรอผลการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา

:นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

การรักษาที่สำคัญที่สุดคือ

การตรวจพิเศษโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

หลักฐานที่สำคัญที่ทำให้เชื่อว่าปฏิกิริยาทางอิมมูนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

4.

เป็นทฤษฏีที่เชื่อกันมาเป็นเวลานาน

ในบางรายงานทางการแพทย์

ผู้แสดงความคิดเห็น หูดับ วันที่ตอบ 2010-03-05 08:32:58 IP : 124.121.74.108


ความคิดเห็นที่ 2 (3159896)

การสูญเสียการได้ยินอย่างเฉียบพลัน

(Sudden Hearing Loss)(งานการพยาบาลผู้ป่วยพิเศษและคณะกรรมการสุขศึกษา)

 

สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจาก สาเหตุ 4 ประการ คือ
1.
จากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการอักเสบของหูส่วนในที่พบบ่อยคือ เกิดตามหลัง โรคหวัด คางทูม และหัด
2.
ภาวะที่หูส่วนในขาดเลือด ซึ่งเกิดจากภาวะเลือดออกภายในหูส่วนใน การตีบตันของหลอดเลือด การอักเสบของหลอดเลือดแดง การบวมการตกตะกอนในหลอดเลือดฝอย
3.
ความดันภายในหูส่วนกลาง เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการแตกของช่องในหู ซึ่งเกิดจากการออกกำลังกาย หรือการบาดเจ็บ
4.
การฉีกขาดของแผ่นบางๆ ที่อยู่ในช่องหูภายในส่วนที่เป็นวงๆ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันภายในหูอย่างเฉียบพลัน เช่น การจาม ไอ ก้มตัว ดำน้ำ หรือการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ

 

 

การรักษา
เนื่องจากยังไม่สามารถบอกสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการนี้ได้ การรักษาในปัจจุบันมีดังนี้
1.
ลดการอักเสบ ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยการให้ยารักษา
2.
การเพิ่มกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน และเพิ่มระดับออกซิเจนในสารละลายที่อยู่ภายในช่องที่แยกหูส่วนใน โดยการให้ยาขยายหลอดเลือดดำ และให้ carbogen คือส่วนผสมของ 5% คาร์บอนไดออกไซด์กับออกซิเจน และให้สารทึบแสง
3.
การแก้ไไขการฉีกขาดของแผ่นเยื่อในหูชั้นใน ในรายงานที่มีประวัติชัดเจนว่า เกิดจากอุบัติเหตุและคาดว่ามีการฉีกขาดดังกล่าว ควรทำการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมรอยที่ฉีกขาด

 

 

การปฏิบัติตัว
1.
พักผ่อนให้มากที่สุด
2.
หลีกเลี่ยงการแคะหูด้วยไม้หรือโลหะแข็ง
3.
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก

 

การป้องกัน


1.
ระวังรักษาสุขภาพของหูให้อยู่ในสภาพปกติอยู่เสมอ
1.1
ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดพอหมาดๆ เช็ดบริเวณใบหู และรูหูเท่าที่นิ้วมือจะเช็ดเข้าไปได้ ไม่ควรใช้ไม้หรือโลหะแคหู เพราะจะทำให้ผิวหนังในช่องหูเป็นแผล และเกิดการอักเสบได้
1.2
ในขณะที่เป็นหวัดไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ และไม่ควรอุดจมูกข้างใดข้างหนึ่งในขณะสั่งน้ำมูก เพราะจะทำให้เชื้อโรคในคอ และจมูกถูกดันเข้าไปสู่หูชั้นกลางทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย
2.
หลีกเลี่ยงการถูกกระทบกระแทกบริเวณหู เพราะแรงกระแทกจะทำให้แก้วหูทะลุ กระดูกหูหลุด
3.
ไม่ควรดำน้ำลึกๆ เพราะใต้ระดับน้ำลึกๆ ความดันจะสูงจนทำให้แก้วหูทะลุ กระดูกหูหลุด หรือหน้าต่างรูปไข่แตก
4.
หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก เพราะเสียงที่ดังเกิน 85 เดซิเบล สามารถทำลายประสาทหูได้
5.
รักษาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย มีการออกกำลังกายอยู่เสมอ และพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ
6.
เมื่อเกิดอาการอักเสบของหู ต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด
7.
ไม่ควรซื้อยาหยอดหูเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยาบางชนิดอาจเป็นผลเสียได้

สุภาวดี

ประคุณหังสิต (2543) การสูญเสียการได้ยินจากประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง.ในสุภาวดี ประคุณหังสิตและบุญชู กุลประดิษฐารมณ์(บรรณาธิการ),ตำราโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา.(พิมพ์ครั้งที่1)กรุงเทพฯ: โฮลิสตริกพับลิชชิ่งจำกัด

ผู้แสดงความคิดเห็น ความน่าจะเป็น 1:10000 วันที่ตอบ 2010-03-05 11:25:11 IP : 124.122.14.212


ความคิดเห็นที่ 3 (3159917)

หูดับ

ส่วนใหญ่โรค

SHL เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าการเกิดโรค SHL มักจะสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งเป็นการติดเชื้อในหูชั้นในและเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อีกทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายกลไกการเกิดโรค SHL และได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวาง เชื่อว่าการเกิดโรค SHL เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาทางอิมมูนที่เกิดขึ้นในหูชั้นใน

1.

การติดเชื้อไวรัสบางชนิด พบสาเหตุของโรค SHL เกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า seroconversion ส่วนไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ influenza type B, ซัยโตเมกาโลไวรัส CMV, ไวรัสคางทูม mumps, รูบิโอลา rubeola, ไวรัสสุกใส-งูสวัด varicella-zoster

รายงานการศึกษาที่ยืนยันแนวความคิดที่ว่าการติดเชื้อไวรัสเป้นสาเหตุหนึ่งของโรค

ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า

SHL คือการที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะเชื้อไวรัสคางทูมจากสารน้ำในหูชั้นใน และเพาะเชื้อไวรัส CMV จากสารน้ำในหูชั้นในของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อไวรัส CML ตั้งแต่แรกเกิด ที่อาจพบเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ้าง ได้แก่ ไวรัสหัด measles, เฮอร์ปีไวรัส herpes-1 และไวรัสอินเฟ็คเชียสโมโนนิวคลิโอสิส infectious mononucleosis ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไวรัสในตระกูลเฮอร์ปี herpes family ทั้งสิ้น ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาจากเนื้อเยื่อหูชั้นในของผู้ป่วยที่เป็นโรค SHL จะพบการตายของเซลล์หลายชนิดภายในหูชั้นใน รวมทั้งลักษณะที่บ่งบอกถึงการเสื่อมของเซลล์อย่างชัดเจน

2.

ภาวะหูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก และในสัตว์ทดลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน มีผลทำให้เกิดการตายของเซลล์ได้ง่าย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการอุดตัน ตีบตัว การแตก ของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในจึงอาจเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่ง

3.

ปฏิกิริยาทางอิมมูน SHL คือการพบอาหารหูดับในผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปุส กลุ่มอาการโคแกน เป็นต้น ปัจจุบันแม้ยังไม่สามารถตรวจ marker ที่เฉพาะเจาะจงได้ แต่งานวิจัยช่วงหลัง เชื่อว่า โรค SHL น่าจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตนเอง หรือที่เรียกว่า autoimmunityการฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน intracochlear membrane

เยื่อดังกล่าวทำหน้าที่แยกหูชั้นในออกจากหูชั้นกลางและแบ่งช่องของสารน้ำที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน

บางรายสาเหตุเกิดจากความเครียด

ในกรณีที่มีการฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้ นอกจากนี้เสียงที่ดังมากๆ ทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้หูดับ ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินทันที ไม่ได้นอนพักผ่อน อดหลับอดนอน หรือเป็นเพราะโหมงานหนักมากเกินไป ผู้ที่ตรากตรำทำงานหนัก ติดต่อกันโดยไม่พักผ่อน อาจทำให้เกิดอาการหูดับขึ้นได้เช่นกัน

 

ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ

หลักฐานที่สำคัญที่ทำให้เชื่อว่าปฏิกิริยาทางอิมมูนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

4.

เป็นทฤษฏีที่เชื่อกันมาเป็นเวลานาน

ในบางรายงานทางการแพทย์

ผู้แสดงความคิดเห็น หูดับ วันที่ตอบ 2010-03-05 12:13:05 IP : 124.122.14.212


ความคิดเห็นที่ 4 (3159925)

อาการหูดับ ขอผม ตื่นนอน เวียงหัว หูข้างขวา อื่อ มีเสียงในหู ไปพบแพทย์ คนแรก ให้กำลังใจน้อยมาก บอกผมว่าโอกาส หูหนวก 50 % เหมือนเป็นโรคหลายแรง  วันที่ไปรักษา 4/3/2553 ผมจรึงต้องหา หมอ ที่เก่งกว่าคนแรก แล้วไปให้เข้า ช่วย อย่างน้อยในเรืองของความรู้ และกำลังใจ  คนสองโรคบาลพยาไทย 3 บอก สวนใหญ่ หาย 70 % ให้คำปรึกษาดีกว่าที่แรก มาก แล้วผมก็ได้ยา ที่ได้กินดังนี้  แบ่งเป็น

ยาทานก่อนอาหาร 3 ชนิด

1. ยาขยายเส้นเลือด ( nicotinic acid กิน 2 เม็ดก่อนอาหาร ครึ่งชม  หมอคนสองให้มาคนแรกไม่ให้ทั้งที่เป็นตัวอย่าสำคัญ )

2. วิตามิน D บำรุง เส้นประสาท ( RE-B-FORTE )  กินหนี่งเม็ด ก่อนอาหาร เช้า - เย็น

3. ยาแก้กัดกระเพาะเพราะจะมีตัวอย่าตัวอื่นกัดกระเพาะมาก ไม่เกียวกับโรค แต่ป้องกันยาตัวอื่น ยา ( OCID  Omepraxole capsules )

 ยาหลังอาหาร 6 ชนิด

1. แก้เวียนศีรษะ  Merislon  1 เม็ดหลังอาหาร 3 เวลา เช้า/กลางวัน/เย็น

2. อันนี้ไม่รู้แกอะไร ไม่ได้ถามหมอ  STUCGERON TABLET  1 ครั้งหลังอาหารเย็น

3.  แก้เวียนศีรษะ  DUXARIL  1 เม็ด วันละสองครั้ง หลังอาหาร เช้า/เย็น

4.  ยาฆ่าเชื่อ   CIPROXYL 500 ML  1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า/เย็น

5.  ตัวนี้ตัวอย่าสำคัญหัวใจเลย ลดอาการแดงบวมอักเสบ  PREDNISOLONE 5 ML ( PREDSOMED )  กิน 3 ครั้ง หลังอาหาร เข้า/กลางวัน / เย็น

6. ยาฆ่าเชื้อ แก้อักเสบ VIZO 200 MC ( ACYCLOVIR 200 )  กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4 ชม วันหนีงกิน 5 รอบ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น หาหมอที่ไหนดี วันที่ตอบ 2010-03-05 12:27:08 IP : 124.122.14.212


ความคิดเห็นที่ 5 (3160045)

สรุป หูขวาเสียเฉียบพลัน 72 เดซิเบล มีอาการเวียนหัวร่วมด้วย มีเสียงหึ่งในหู
ปัญหาน่าจะเกิดจากการเสียเฉียบพลันของหูชั้นใน สาเหตุเกิดได้จาก
1 โรคของกระโหลกศีรษะกระดูกก้านคอ แต่ของคุณไม่น่าใช่
2 โรคของหูชั้นใน เช่น ความดันในหูชั้นในเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ แต่อาการมักเริ่มจากเสียงหึ่งในหูดังมากขึ้นเรื่อยๆร่วมกับการได้ยินลดลง ต่อมาเกิดอาการเวียนรุนแรงแต่การได้ยินดีขึ้นเสียงหึ่งลดลง อาการเป็นซ้ำซาก หลายๆปีหูหนวกได้
หรือ เกิดจากการที่หูชั้นในอักเสบจากไวรัส
หรือ เกิดจากการกระแทกรุนแรง เช่น ตบหู เสียงดังมากๆ
3 โรคของเส้นประสาท เช่น การอักเสบจากไวรัส จากยากิน จากเนื้องอก
4 เลือดไปเลี้ยงไม่ดี เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง เบาหวาน
ดังนั้น การรักษาจึงมุ่งไปหาสาเหตุ แยกโรคว่าเกิดจากอะไร ตำแหน่งใด โดยอาศัยการตรวจต่างๆ เช่น
ตรวจการได้ยิน ตรวจการทรงตัวพื้นฐาน
ตรวจเลือด เช่น ไขมัน น้ำตาล ฯลฯ ไทรอยด์ โรคเนื้อเยื่อ เช่น ซิฟิลีส
ตรวจการได้ยินโดยอาศัยเครื่องมือเฉพาะ เช่น audiography, ABR auditory brainstem response แต่ความแม่นยำจะดีถ้าการเสียน้อยกว่า 70 เดซิเบล
ภาพเอกซเรย์ รวมไปถึง MRI
การรักษา ให้ยาลดการอักเสบที่ออกฤทธิ์แรง เช่น steroid-prednisolone ในขนาดสูง ยาพวกนี้มักมีผลต่อกระเพาะจึงมักให้ยากระเพาะ เช่น xanidine ร่วม
ยาเพิ่มเลือดโดยการขยายหลอดเลือดฝอย เช่น merislon, serc, nicotinic acid
ยาเพิ่ม oxygen ต่อเส้นประสาท เช่น duxaril ,cavinton
ยาบำรุงเส้นประสาท เช่น B12 ( Neuromet )
ยาทำให้เลือดไม่หนืด เพิ่มการไหลเวียนของเลือด แต่เป็นยาให้ทางเส้นเลือด เช่น dextran, HAES
ยาลดความดันหูชั้นใน เช่น hydrochlorothidzide
ยาลดความไวของเส้นประสาท เช่น valium
การพยากรณ์โรค ผลการรักษาไม่แน่นอนเพราะ ไม่สามารถตัดชิ้นเนื้อมาตรวจวัดได้ เนื่องจากไม่สามารถทดลองโรคนี้ในสัตว์ทดลองได้ จึงมุ่งหวังรักษาให้ดีที่สุด
ถ้าการได้ยินดีขึ้นในสองสัปดาห์แรก ต่อไปจะดีมากจนเกือบปกติได้
ถ้าการได้ยินดีขึ้นบ้างในเดือนแรก ต่อไปจะดีแต่ไม่กลับมาปกติคือน้อยกว่า 25 เดซิเบล
ถ้าเดือนแรกยังเสียเท่าเดิม ลำบากละครับ
ติดตามการรักษาต่อไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ยาที่ใช้รักษา โอกาศที่จะกับมาเหมือนเดิม วันที่ตอบ 2010-03-05 18:28:10 IP : 124.122.14.212


ความคิดเห็นที่ 6 (3160211)

 การฉีดยาสเตียรอยผ่านเยื่อแก้วหูเพื่อรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันที่ใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานรักษาแล้วไม่ได้ผล
Intratympanic Steroids for Treatment of Sudden Hearing Loss after Failure of Oral Steroids Therapy

นฤวัต เกสรสุคนธ์

บทคัดย่อ

  วัตถุประสงค์: ประเมินประสิทธิภาพของการฉีดยาสเตียรอยด์ (เด็กซาเมตทาโซน) ผ่านเยื่อบุแก้วหูเพื่อรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันหลังจากใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานแล้วไม่ได้ผลวัสดุและวิธีการ: ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน 100 ราย ซึ่งได้รับการรักษามาตรฐานโดยใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน (เพร็ดนิโซโลน 1 มก./กก./วัน) เป็นเวลา 7 วัน นำกลุ่มที่ไม่ตอบสนองการรักษา 36 ราย นำมาแบ่งแบบสุ่มเลือกผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก 18 ราย ให้การรักษาโดยการฉีดยาสเตียรอยด์ผ่านเยื่อบุแก้วหูโดยฉีดเด็กซาเมตทาโซน 0.5 ลบ.ซม. (4 มก./ลบ.ซม.) 1 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และอีก 18 รายเป็นกลุ่มควบคุมให้การรักษาโดยการให้ยาแบบรับประทานต่อไปอย่างน้อยจนครบ 14 วัน ประเมินผลโดยการวัดค่าเฉลี่ยการได้ยินเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาครบ ถือว่าการรักษาได้ผลหากการได้ยินเฉลี่ยดีขึ้นมากกว่า 15 เดซิเบลผลการทดลอง : การฉีดสเตียรอยด์ผ่านเยื่อบุแก้วหูทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น 10 ราย (55%) เพิ่มเติมจากการรักษามาตรฐาน (p < 0.05) ไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรงสรุป: การฉีดยาสเตียรอยด์ผ่ายเยื่อบุแก้วหูมีประสิทธิภาพในการรักษาประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันหลังจากใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานไม่ได้ผลและอาจพัฒนาเป็นการรักษาเบื้องต้นได้ในอนาคต

ผู้แสดงความคิดเห็น ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด วันที่ตอบ 2010-03-06 10:32:09 IP : 124.121.76.54


ความคิดเห็นที่ 7 (3160217)

เช่าวันที่ 3 หลังจากมีอาการ หูดับ หรือ ประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน  เริ่ม จากวันที่ 4/3/53  วันนี้ 6/3/53 อากาศเริ่มดีขึ้น ได้ยินเสียงเริ่มกับคืน บ้างส่วน แต่ยังมีสีอื่อในหู จากการที่ได้นั้งหาข้อมูลมาหลายวัน ก็พอมีความรู้ขึ้นมาบ้าง เพราะหมอเดียวนี้บ้างคนก็ พูดไม่เข้าหูคนไข้เลย บ้างคนพูดในแง่ร้าย สะ ว่าหายน้อยมาก 50 % แต่จากที่ได้ดูเพือน ที่เป็นแล้ว ก็สบายใจ ขึ้นมาได้บ้าง  3 วันหาหมอ 3 คนหนอคนแรกชื่อ นพ. สาฑิตย์ ชัยประสิทธิกุล  โรงบาล ตา หู คอ จมูก  เบอร์โทร 02-886600-16  หมอคนที่ สอง นญ. จันทร์เพ็ญ จีรบุณย์ พญาไทย 3 เบอร์โทร 02-4671111  หมอคนที่ 3  นพ. สุรเดช จารุริดา  เบอร์โทร 02-886-6600ถึง 16

แพทย์ที่ผมต้องการจะไปหาแต่ไปเมืองนอก  นญ.เสาวรส อัศววิเชียรจินดา เป็นอาจารญ์แพทย์เรื่องนี้โดยตรงสอนที่จุฬา

สรุปตัวยา ที่ขาดไม่ได้สำหลับโรคนี้ เลย  ในช่วง 0- 7  วันแรก

1.  สเตียรอยด์ high dose หรือ ชื้อยายี้ห้อขาย ( PREDNISOLONE )   12 เม็ดต่อวัน หลังอาหาร เช้า/กลางวัน/เย็น ครั้งละ 4 เม็ด เช็ควันหมดอายุของยาด้วยนะครับ

2.   พักผ่อนให้มากมที่สุด พยายามไม่เครียด ไม่ ใช้ประสาทหูมาก

หลังจากนี้ก็รอติดตามผลที่จะออกอีก 4 วัน ถ้าหายก็จบ ถ้าไม่หายก็ step สองต่อไป ฉีกสเตียรอยเข้าเยื่อบุแก้หูต่อไป โอกาศหาย 55 % สำหรับ ขั้นตอนที่ 2

ผู้แสดงความคิดเห็น ความคืบหน้าหูดับ วันที่ตอบ 2010-03-06 10:54:20 IP : 124.121.76.54


ความคิดเห็นที่ 8 (3160356)

หูดับ

อาการของ

 

การรักษาโรคหูดับ

ฟังเสียงดังนาน ต้องระวัง โรคหูดับ

จากสถิติพบว่าผู้ป่วย โรคหูดับ หนึ่งในสามมักจะมีอาการ หูดับ ในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย

สาเหตุการเกิด โรคหูดับ

ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ว่าอาการ หูดับ เกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่า โรคหูดับ หรือ เส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
1.เกิดจากไวรัส
2.
เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
3. ปฎิกริยาอินมูน
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็น โรคหูดับ ได้

4.
การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane

โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาด จะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้

อย่างไรก็ตาม การได้ยินเสียงดังมาก ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้ หูดับ ได้ จนสูญเสียได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยบางรายเป็น โรคหูดับ เพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิด โรคหูดับ ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ยังมี โรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉย จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการ หูดับเฉียบพลันนี้ อาจเกิดจาก

การผิดปกติของเลือด

การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย

การได้รับการผ่าตัดหู

ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป

การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง

ไม่ทราบสาเหตุ

ส่วนโรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็น หาย หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่า รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere"s Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40-60 ปีมากกว่ากลุ่มอื่น

ระดับเล็กน้อย (mild) 25-39 เดซิเบล
รับดับกลาง  40-68 เดซิเบล
ระดับรุนแรง (severe) 70-94 เดซิเบล

นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษอื่น โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า เอ็มอาร์เอ MRA และ เอ็มอาร์ไอ MRI เป็นการตรวจเส้นประสาทหูชั้นในและชั้นกลางอย่างละเอียด รวมทั้งเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเส้นประสาทหู เพื่อดูว่ามีโรคอื่นแทรกซ้อนทำให้ไม่ได้ยินหรือไม่ และสามารถตรวจพบเนื้องอกภายในสมองบริเวณนั้นที่อาจเป็นสาเหตุได้ โดยเนื้องอกดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อะคูสติก นิวโรมา (acoustic neuroma) neuroma)

 การรักษาที่สำคัญคือ ต้องให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โดยระหว่างนี้ห้ามฟัง หรือเข้าใกล้เสียงดังมาก ๆ และหากหยุดทำงานได้จะดีที่สุด เพื่อจะได้พักผ่อนอยู่กับบ้าน

          ทั้งนี้ อาการของ โรคหูดับ จะดีขึ้น หรือหายได้เองได้ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด เช่นนั้นแล้ว ใครที่เป็น โรคหูดับ ไม่รุนแรงแพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่ต้องรับการรักษามากมาย

          นอกจากนี้ยังมีการรักษา โรคหูดับ ด้วยการใช้ยาต้านไวรัส ชื่อ อะซัยโคลเวีย (Acyclovir) สำหรับโรคที่เกิดจากไวรัส  HSV-1 และจะยิ่งได้ผลดีขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ส่วนยาลดปฏิกิริยาอักเสบ กลุ่มสเตียรอยด์ corticosteroids ก็ได้ผลดีเช่นกัน
 
การป้องกันโรคหูดับ

ทางที่ดีที่สุดในการป้องกันโรค หูดับ คือ ควรหลีกเลี่ยงเสียงดัง เช่น ไม่ควรเปิดฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังจนเกินไป และฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงสถานที่ หรือสภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังมาก ๆ ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น หูดับโอกาศหายเอง 70 % วันที่ตอบ 2010-03-06 20:01:05 IP : 124.121.73.92


ความคิดเห็นที่ 9 (3160361)

สาเหตุหูดับเฉียบพลัน วิธีรักษา หูดับ

 

 (คัดย่อ)

หูดับเฉียบพลันเกิดในคนที่ปกติแล้วได้ยินเสียงดี

แต่แล้ววันหนึ่งเกิดไม่ได้ยินขึ้นมาเฉยๆ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน วัน

สาเหตุใหญ่ๆ ของความผิดปกติแบ่งได้เป็น ความผิดปกติของหูชั้นใน โรคทางกาย โรคของการไหลเวียนกระแสโลหิต หรืออาจประมวลสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้หูดับฉับพลันได้ดังนี้

. เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
. การผิดปกติของเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
. โรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียน กระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
. การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เช่น ไวรัสจากโรคทางเดินหายใจ ทำให้หลอดเลือดอักเสบ
. โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
. การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
. การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นในหรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
. การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
. ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
๑๐. ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
๑๑. การได้รับการผ่าตัดหู
๑๒. ไม่ทราบสาเหตุ

ส่วนโรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน หูอาจดับทันที แต่อาการจะเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงรบกวนในหูเป็นโรคหนึ่งต่างหากคือโรค Meniere ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป

การดูแลผู้ป่วยหูดับเฉียบพลัน



. ควรรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ให้พัก ห้ามการออกแรง นอนศีรษะสูง จำเป็นที่สุด
. ตรวจวัดการได้ยิน ควรทำทุกวัน หรือวันเว้นวัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับการรักษา
. ตรวจการทำงานของแก้วหูและหูชั้นกลาง ถ้าคิดว่ามีสาเหตุจากแรงดันหูชั้นกลางผิดปกติ
. ตรวจความดันโลหิต ท่านอน นั่ง ยืน เพื่อรู้สภาพการไหลเวียนกระแสโลหิต
. เจาะเลือดหาความผิดปกติทางเคมีของเลือด ความเข้มหรือจางเกินไปของเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ไขมัน น้ำตาล และของเสียในเลือด
. ตรวจระดับไทรอด์ยฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
. ตรวจ Serology ของเลือด โดยเฉพาะซิฟิลิส
. การตรวจเลือด HIV AIDS พิจารณาแล้วแต่กรณี (โดยมากหูระดับ ข้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น วิธีรักษา หูดับ วันที่ตอบ 2010-03-06 20:13:04 IP : 124.121.73.92


ความคิดเห็นที่ 10 (3160455)

วันที่ 4  ของการหูดับ 7/03/2553 หรือ หูอื้อการได้ยินน้อยลง  เริ่มดีขึ้น เริ่มได้ยินเสียงกับมามากแล้ว  เริ่ม วิเคราะห์หาสาเหตุอื่น ที่ทำให้เกิดอากาศหูอื้อ

หูอื้อ

ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

           หูเป็นอวัยวะรับเสียงของร่างกาย โดยเสียงจะผ่านจากช่องหูชั้นนอกเข้าสู่แก้วหูและกระดูกหูซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นกลางโดยแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยขยายสัญญาณเสียงให้ดังเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเสียงจะถูกส่งเข้าหูชั้นในรูปหอยโข่ง (Cochlea) เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นคลื่นประสาท ส่งผ่านตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เพื่อเข้าสู่สมองและแปลผลต่อไป

หูอื้อคืออะไร? 
          คือมีการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู

จะรู้ได้อย่างไรว่าหูอื้อ? 
          ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักรู้สึกถึงความผิดปกติ แต่ในกลุ่มที่อาการค่อยๆ เป็น เจ้าตัวมักไม่ทราบต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกไม่ค่อยได้ยินหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง เป็นต้น
 
วิธีทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ มีดังนี้ คือ 
          ลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้าง สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันเท่านั้น
 
สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ มีหลายสาเหตุพอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้
          1) การอุดกั้นสัญญาณเสียง  ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด เป็นต้น
          2) ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง

ถ้ารู้ว่าหูอื้อควรทำอย่างไร?
          ต้องแก้ไขตามสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้ คือ
          - ขี้หูอุดตัน ไม่แนะนำให้ใช้การแคะหู เพราะมักจะเอาขี้หูไม่ออก แล้วยังจะทำให้ขี้หูอัดแน่นและถูกดันลึกมากขึ้น นอกจากนั้นอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบได้ ส่วนวิธีที่ปลอดภัยกว่า และแนะนำให้ใช้คือ ลองหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้อ ให้ทำซ้ำอีก 2 - 3 ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจหูโดยละเอียด และทำความสะอาดช่องหู
          - อาการหูอื้อที่เกิดจากหวัด ควรได้รับการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติในหูชั้นกลาง และตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วยเนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบได้บ่อย  ในภาวะดังกล่าว 
         
- อาการหูอื้อที่เกิดหลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือหูอื้อที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน  หรือมีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะตรวจช่องหูและอวัยวะอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ จากนั้นจะส่งตรวจวัดระดับการได้ยิน และอาจส่งตรวจการทำงานของระบบประสาทหู  และตรวจเลือดเพิ่มเติม
          
- กลุ่มหูตึงในผู้สูงอายุ  ควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่อช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป


 

หูเป็นอวัยวะพิเศษของท่าน ต้องหมั่นดูแลรักษา... เพราะความพิเศษนี้มีให้มา... ครั้งเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น หูอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-07 10:12:51 IP : 124.121.73.116


ความคิดเห็นที่ 11 (3160467)

 

เคยมั้ยที่การได้ยินของหูลดลง พูดง่ายๆ ก็คือหูอื้อหรือหูตึงนั่นเอง ปัญหานี้นอกจากเจ้าตัวจะวิตกแล้วคนรอบข้างก็พลอยมีท่าทีเปลี่ยนไป ภาวะหูอื้อ หรือหูตึงเป็นภาวะที่ความสามารถในการรับเสียงเสื่อมลง ซึ่งอาจจะค่อยเป็นค่อยไปหรือเกิดขึ้นทันทีทันใดก็ได้ มีการให้ค่าระดับความรุนแรงของการลดการได้ยิน ดังนี้ .....
0-25 db ปกติ 26-40 db หูตึงน้อย ไม่ได้ยินเสียงกระสิบ 41-55 db หูตึงปานกลาง ไม่ได้ยินเสียงพูดปกติ 56-70 db หูตึงมาก ไม่ได้ยินเสียงพุดที่ดังมาก 71-90 db หูตึงรุนแรง ได้ยินไม่ชัด แม้ตะโกน   มากกว่า 90 db หูหนวก ไม่ได้ยินเลย
       หลายคนถึงกับสงสัยว่าแล้วหูรับเสียงได้อย่างไร
       
       
ปกติคนเราสามารถรับเสียงโดยอาศัยกลไก 2 ส่วน คือ
       
       
1.ส่วนนำเสียงและขยายเสียงได้แก่หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง โดยคลื่นเสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหูกระทบแก้วหูแล้วมีการส่งต่อ และขยายเสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไปถ้ามีความผิดปกติจนเกิดภาวะหูตึงขึ้น สาเหตุมักเกิดจาก
       
       -
หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน เยื่อแก้วหูทะลุ หูชั้นนอกอักเสบหรือมีเนื้องอกที่หูชั้นนอก
       -
หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบน้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง (otitis media with effusion) ท่อยูสเตเชียน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางกับโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติหรือเกิดหินปูนขึ้นในหูชั้นกลาง (otosclerosis)
       
       
2.ส่วนประสาทรับเสียงได้แก่ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆความผิดปกติบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวรและบางโรคทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ สาเหตุมักเกิดจาก
       
       -
หูชั้นใน ที่พบบ่อยสุด คือ ประสาทหูเสื่อมจากอายุ นอกจากนั้นการเสื่อมของเส้นประสาทหู อาจเกิดจากการได้รับเสียงที่ดังมากๆ ในระยะเวลาสั้นๆทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (acoustic trauma) เช่น ได้ยินเสียงปืนเสียงระเบิด เสียงประทัด หรือการได้รับเสียงที่ดังปานกลางในระยะเวลานานๆทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (noise-induced hearing loss) อย่างเช่นการอยู่ในโรงงาน หรืออยู่ในคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังมากๆการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (ototoxic drug) เป็นระยะเวลานาน เช่น salicylate, aminoglycoside, quinine, aspirin นอกจากนี้อาจเกิดจากการบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะแล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน (labyrinthine concussion) การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) เช่นจากซิฟิลิสหรือไวรัสเอดส์ การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นในหรือมีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (perilymphatic fistula) รวมทั้งโรคมีเนีย (Meniere’s syndrome) หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน
       
       -
สมอง เกี่ยวพันกับโรคของเส้นเลือดเช่น เลือดออกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบจากไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเนื้องอกในสมอง เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู และ/หรือประสาทการทรงตัว (acoustic neuroma)
       
       -
สาเหตุอื่นๆ ก็มี เช่น โรคโลหิตจางโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโรคเกร็ดเลือดสูงผิดปกติ โรคที่มีระดับยูริกในเลือดสูง โรคไต โรคเบาหวานความดันโลหิตต่ำหรือสูง ไขมันในเลือดสูงโรคเหล่านี้สามารถทำให้หูอื้อได้
       
       
การวินิจฉัยโดยซักประวัติ สาเหตุต่างๆ ที่เป็นไปได้การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหูรวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด การตรวจปัสสาวะตรวจการได้ยินเพื่อยืนยันและประเมินระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยินตลอดจนการตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และการถ่ายภาพรังสี เช่นเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือกระดูกหลังหู หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารวมทั้งฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของโรค

การรักษาหูอื้อจะรักษาตามสาเหตุซึ่งมีทั้งการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม หูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน เส้นประสาทหู และระบบประสาทส่วนกลางโดยเฉพาะประสาทหูเสื่อมมักจะรักษาไม่หายขาดหรือดีหน่อยก็เพียงหาทางชะลอความเสื่อมให้ช้าลง โดยทั่วไปเมื่อมาพบแพทย์จะมีขั้นตอนดังนี้
       
       1.
แพทย์จะอธิบายให้คนไข้เข้าใจว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร บางรายไม่ทราบสาเหตุหรือทราบสาเหตุแต่ไม่สามารถรักษาได้ และอาจเป็นตลอดชีวิต โชคดีบางรายอาจหายเองก็ได้แล้วโรคนี้จะเป็นอันตรายหรือไม่ เป็นแล้วจะหายไหม
       
       2.
ถ้าหูอื้อไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนักคือยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อีกข้างยังดีอยู่ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ
       
       3.
ถ้าหูอื้อมากไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้วแพทย์จะแนะนำให้ฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟังร่วมกับการใช้ยาเพื่อให้การได้ยินดีขึ้นเช่น ยาขยายหลอดเลือดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น ยาบำรุงประสาทหูเป็นต้น
       
       4.
ถ้าหูอื้อ เกิดจากประสาทหูเสื่อมควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้นดังนี้
       
       1.
หลีกเลี่ยงเสียงดัง
       
       2.
ควรควบคุมโรคที่ผู้ป่วยเป็น (ถ้ามี) ให้ดี ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไตโรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือดฯลฯ
       3.
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine ซึ่งผู้ป่วยควรบอกแพทย์เสมอเวลาไปพบว่าตนมีประสาทหูเสื่อม
       4.
หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
       5.
หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
       6.
ลดอาหารเค็มหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่ม น้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) และงดการสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
       7.
พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียดวิตกกังวล
       8.
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
       
       
ครับอย่านิ่งนอนใจเมื่อมีอาการหูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก เพื่อหาสาเหตุแต่เนิ่นๆก่อนจะถึงขั้นหูดับ เชื่อหมอเถอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เช็คความเสื่อมของหู วันที่ตอบ 2010-03-07 10:34:31 IP : 124.121.73.116


ความคิดเห็นที่ 12 (3160491)

หูอื้อ

เป็นอาการที่พบบ่อยมากในทุกเพศทุกวัย หูอื้อชนิดไหนที่จำเป็นต้องพบแพทย์ทันที ชนิดไหนที่พอจะ
รอได้สักวันสองวัน ขึ้นอยู่กับอาการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะบ่งชี้ว่าสาเหตุของหูอื้อน่าจะเกิดจากบริเวณรูหู-หูส่วนนอก, หู
ส่วนกลาง-ช่องหลังแก้วหู หรือหูส่วนในรวมถึงประสาทหู ยกตัวอย่างเช่น

หูทำงานได้อย่างไร

อวัยวะของหูแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ หูส่วนนอก, หูส่วนกลาง และหูส่วนใน

หูส่วนนอก คือ ใบหู รูหู และมีขอบเขตต่อกับหูส่วนกลางที่แก้วหู

หูส่วนกลาง คือ แก้วหู ซึ่งติดต่อกับกระดูกหู 3 ชิ้น นำเสียงไปส่งให้หูส่วนใน มีท่อระบายอากาศ

เปิดสู่ช่องจมูกด้วย

หูส่วนใน จะรับเสียงจากหูส่วนกลาง แปรสัญญาณส่งต่อไปยังสมอง โดยผ่านเส้นประสาท

การได้ยิน



1.)
หลังจากว่ายน้ำ หรือสระผม แล้วหูอื้อ โดยไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ปวดหู เวียนศีรษะ มักเกิดจากขี้หู
ซึ่งอมน้ำในรูหู เพราะถ้าไม่มีขี้หูแล้ว ปกติน้ำเข้าหูจะอยู่ไม่นานก็จะไหลออกมาเอง หูอื้อชนิดนี้ไม่เป็นปัญหารีบ
ด่วนถ้าวันรุ่งขึ้นหูยังอื้อ ก็ไปพบแพทย์หูคอจมูก ล้างหู-ดูดขี้หูออกก็หมดปัญหา แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายๆ วัน
อาจมีอาการปวดหู รูหูอักเสบ เพราะขี้หูที่ชื้นแฉะทำให้เกิดการติดเชื้ออักเสบของหูส่วนนอกได้

ผู้ที่ชอบว่ายน้ำเป็นประจำ ควรหมั่นดูแลความสะอาดของรูหู อย่าให้ขี้หูมาก อาจใช้น้ำมันพวก
Glycerine
หรือ Baby oil หยอดหูสัปดาห์ละครั้ง รูหูจะสะอาดเป็นมัน น้ำเข้าก็ไม่ขังอยู่นาน

2.)
บางคนมีอาการหวัดคัดจมูก เสลดลงคอ ประมาณ 4-5 วัน แล้วเริ่มมีอาการหูอื้อเป็นพักๆ หรือ
เกิดการปวดหูอย่างฉับพลันแล้วหูข้างนั้นก็อื้อตลอดต่อเนื่องเหมือนมีน้ำขังในหู แต่ส่องดูรูหูแล้วก็ไม่มีขี้หู ไม่มี
น้ำขังในรูหูส่วนนอก อาการชนิดนี้เกิดจากการอักเสบในหูส่วนกลาง อาจมีการติดเชื้ออักเสบ มีน้ำขังในหูส่วน
กลางหลังแก้วหู ทำให้เสียงจากภายนอกผ่านไปถึงหูส่วนในไม่ได้ดี พบในเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่

อีกกรณีที่เกี่ยวกับหูส่วนกลาง คือ ในขณะที่เดินทางโดยเครื่องบิน โดยเฉพาะขณะเครื่องบิน
ร่อนลงจอด เกิดปวดหู หูอื้อ อาจมีเลือดออกในหูส่วนกลาง หลังแก้วหู ทำให้หูอื้อต่อเนื่องได้ ปัจจุบันเครื่อง
บินโดยสาร มีระบบปรับความดันในห้องโดยสารดีมาก ปัญหาชนิดนี้พบน้อยลง ยกเว้นผู้ที่มีการอักเสบใน
โพรงจมูกเป็นหวัดเรื้อรัง แพ้อากาศทำให้ท่อระหว่างหูกับจมูก (Eustachian tube) บวม ฉะนั้นผู้ที่เป็น
หวัดรุนแรง, เป็นโรคไซนัส, คัดจมูก จะต้องระวังเป็นพิเศษถ้าจะเดินทางโดยเครื่องบิน ปรึกษาแพทย์หูคอ
จมูกเพื่อตรวจเช็คไม่แต่เฉพาะแก้วหู แต่รวมถึงช่องจมูกเพื่อรักษาได้ถูกต้อง

ปัญหาหูอื้อจากน้ำขังในหูส่วนกลาง สำหรับผู้ใหญ่ที่มีเชื้อสายจีนตอนใต้ ซึ่งไม่มีอาการหวัด
โพรงจมูกอักเสบชัดเจน ควรตรวจส่องกล้องในช่องจมูก-หลังจมูกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้องอก-มะเร็งช่อง
หลังจมูกซึ่งอุดท่อระบบอากาศของหูส่วนกลางอยู่ มะเร็งชนิดนี้ในระยะแรกๆ รักษาให้หายได้ถึงกว่า 80%

3.)
อาการหูอื้อที่ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง คือ อาการหูดับฉับพลัน
(Sudden hearing loss)
อยู่ๆ ก็ไม่ได้ยินไปข้างหนึ่ง อาจมีเสียงในหู บางรายมีอาการเวียนศีรษะ
บ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียน อาการกลุ่มนี้มักเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

3.1
ประสาทหูอักเสบฉับพลัน อาจเกิดจากเชื้อไวรัส

3.2
เลือดที่มาเลี้ยงหูส่วนใน ถูกตัดขาดทันที เส้นเลือดอุดตัน

หูอื้อชนิดหูดับฉับพลัน (Sudden Hearing loss) ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาอย่างทันที
หรือใน 24-48 ชั่วโมง การได้ยินอาจจะดีขึ้นได้มาก ถ้าทิ้งไว้หลายวันการรักษาจะไม่ได้ผลดี

ถ้าท่านมีอาการคลื่นไส้ บ้านหมุน เวียนศีรษะอย่างฉับพลัน ก็อย่าลืมสังเกตุด้วยว่าหูได้ยินปกติ
ดีหรือไม่ ถ้าหูอื้อด้วย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบจะได้ปรึกษาแพทย์หูคอจมูก ให้การรักษาได้ทันท่วงที

ปัจจุบันผู้ที่หูอื้อหรือหูดับฉันพลันจากหูส่วนใน ควรได้รับการตรวจด้วยภาพคลื่นแม่เหล็ก
M.R.I. (Magnetic Resonance Imaging)
จะให้ข้อมูลที่ช่วยให้การรักษาถูกต้องขึ้น บางราย
พบว่าเกิดจากเนื้องอกในสมองหรือประสาทหูส่วนในสมอง ซึ่งการรักษาก็จะมีวิธีแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

แต่ที่ยกตัวอย่างเกี่ยวกับหูส่วนนอก ส่วนกลาง และส่วนในนั้น บางครั้งคนที่หูอื้อ อาจจะมี
ปัญหาซ้อนกันอยู่ได้ เช่น บางคนมีขี้หูมาก ก็หลงเข้าใจผิดว่าหูอื้อเป็นเพราะขี้หู ทั้งที่อาจมีเรื่องประสาท
หูอักเสบ-หูส่วนในผิดปกติอยู่ด้วยก็ได้ ฉะนั้นการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การตรวจให้ละเอียดครบถ้วน
จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยหลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการวินิจฉัยได้

สรุปได้ว่า หูอื้อ หรือหูดับฉับพลัน เป็นโรคที่ต้องได้รับการตรวจรักษาอย่างเร่งด่วน ถือว่าเป็น
ปัญหาฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาโดยไม่รอช้า

ผู้แสดงความคิดเห็น สาเหตุทำให้หูอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-07 12:21:13 IP : 124.121.73.116


ความคิดเห็นที่ 13 (3161520)

หลังจากที่กินยาสตียเลอไฮโดสแล้ว ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็ปรึกษาหมอขอยาที่แรงขี้น จึงตัดสินใจไปนอนโรงบาล 3 คื้น 8-9-10 /3/53 อากาศหูก็กับมาใช้ได้ในระดับที่น่าพอใจ โดยยาตัวใหม่ที่เสริมเข้าไปก็มี ยาฉีดทุก 6 ชม แรกกว่าเดิมท 2 เท่า คลื่นระดับความถีที่คนได้ยินปกติพูดคุยอยู่ที่  250Hz-2000HZ ได้ยินเป็นปกติดี เป็นที่หน้าพอใจเป็นอย่างมากดีใจมาก    เห็นผลอย่างชัดเจนกับตัวยา คุยปกติชัดเจนมาก  รอติดตามการฟื้นตัวที่รับดับ ความถี่ 4000-6000 hz อีกที 

1.  Dexazmethaxone inj. (5mg/ 1 ML ) (LODEXA-5) 12 หลอด เป็นยาตัวที่แรงกว่า สตียลอยไฮโดส 

2.  nicotivic acid 50 mg tbalet  20 เม็ด

3. vitamin b1--6-12  tablet 10 เม็ด

4. D-5-1/s (1000 ml ) injection (baxter ) 5 ขวด

5 Opaz(OMERRAZOLE)(20mg)capsule  7 เม็ด

6 STUGERON (25MG.) TABLET  10 เม็ด

7 LORAZEPAM (LORAZEP 1 MG) TABLET 11 เม็ด

8 stemetil (5 mg) tablet Ftdi  16 เม็ด

9. naclong tab (600 mg ) (10tab.tube  1 กล่อง

10.  zyrtec (10mg.)tablet 11 เม็ด

11. nss (0.9 %)(5ml)injection (พลาสติก ๗ 1 หลอด ของที่ใช้ ในสามวัน   

ผู้แสดงความคิดเห็น การนอนโรงพญาไทย3 3 วัน วันที่ตอบ 2010-03-10 21:57:57 IP : 124.122.220.144


ความคิดเห็นที่ 14 (3162013)

วันที่ 12/3/53  หลังจากเป็นได้ 8 วัน อากาศกับมาได้ยิน 100 % ที่ทุกรับดับความถึ่ปกติ ทดสอบห้องทดสองเสียง 250-6000 HZ  คนที่เป็นอาการนี้ผมแนะนำ ต้องพักผ่อน มาก ๆ   ระวังระดับ ไขมันในเลือดสูง เพราะสาเหตุ ของผมน่าจะ ไขมันในเลือดสูง ทำให้เลือดที่ไปไหลเลี้ยงเส้นประสาทไม่ดี ทำให้ ต้องกินยา ขยายเส้นประสาท ที่เลือดไปเลี้ยงไม่ได้   สรุป ผลที่น่าจะทำให้เป็นโรคนี้ที่น่าจะเป็นไปได้  1  คุยโทรศัพท์มาเกินไป นานเกินไป  2. เลือดมีไขมันเยอะ ทำให้ไหลไปเลี้ยงเส้นประสาทสูไม่สะดวก 3. พักผ่อนไม่เพียงพอ  โลงอกไป หายสักที

ผู้แสดงความคิดเห็น อาการ วันที่ตอบ 2010-03-12 20:58:03 IP : 124.121.72.207


ความคิดเห็นที่ 15 (3162163)

หูเป็นอวัยวะรับเสียงของร่างกาย โดยเสียงจะผ่านจากช่องหูชั้นนอกเข้าสู่แก้วหูและกระดูกหูซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นกลางโดยแต่ละส่วนจะมีคุณสมบัติพิเศษช่วยขยายสัญญาณเสียงให้ดังเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเสียงจะถูกส่งเข้าหูชั้นในรูปหอยโข่ง (Cochlea) เพื่อแปลงสัญญาณเสียงเป็นคลื่นประสาท ส่งผ่านตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เพื่อเข้าสู่สมองและแปลผลต่อไป

หูอื้อคืออะไร? 
          คือมีการได้ยินลดลง ความคมชัดของเสียงลดลง หรือบางรายอาจมีเสียงรบกวนในหู

จะรู้ได้อย่างไรว่าหูอื้อ? 
          ส่วนใหญ่อาการหูอื้อที่เกิดขึ้นโดยฉับพลันนั้นตัวผู้ป่วยเองมักรู้สึกถึงความผิดปกติ แต่ในกลุ่มที่อาการค่อยๆ เป็น เจ้าตัวมักไม่ทราบต้องอาศัยผู้ใกล้ชิดปกติ เช่น เรียกไม่ค่อยได้ยินหรือเปิดโทรทัศน์เสียงดัง เป็นต้น
 
วิธีทดสอบการได้ยินด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ มีดังนี้ คือ 
          ลองใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ หน้าหูทีละข้าง สังเกตความแตกต่างของระดับเสียงที่ได้ยิน ซึ่งการทดสอบนี้จะใช้ได้เมื่อหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันเท่านั้น
 
สาเหตุที่ทำให้หูอื้อ มีหลายสาเหตุพอแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ ดังนี้
          1) การอุดกั้นสัญญาณเสียง  ซึ่งจะเกิดในส่วนของหูชั้นนอกและหูชั้นกลาง เช่น ขี้หูอุดตัน หูชั้นนอกอักเสบจากการปั่นหูหรือว่ายน้ำบ่อยๆ และหูชั้นกลางอักเสบจากหวัด เป็นต้น
          2) ความผิดปกติในส่วนอวัยวะรับเสียงในหูชั้นในและหรือเส้นประสาทนำเสียงสู่สมอง

ถ้ารู้ว่าหูอื้อควรทำอย่างไร?
          ต้องแก้ไขตามสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้ คือ
          - ขี้หูอุดตัน ไม่แนะนำให้ใช้การแคะหู เพราะมักจะเอาขี้หูไม่ออก แล้วยังจะทำให้ขี้หูอัดแน่นและถูกดันลึกมากขึ้น นอกจากนั้นอาจทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดแผล มีเลือดออกและมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม ซึ่งเรียกว่าเกิดภาวะหูชั้นนอกอักเสบได้ ส่วนวิธีที่ปลอดภัยกว่า และแนะนำให้ใช้คือ ลองหยอดยาละลายขี้หู โดยหยอดให้ท่วมรูหูทิ้งไว้สักครู่แล้วเทออก ถ้ายังรู้สึกอื้อ ให้ทำซ้ำอีก 2 - 3 ครั้ง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดหูร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจหูโดยละเอียด และทำความสะอาดช่องหู
          - อาการหูอื้อที่เกิดจากหวัด ควรได้รับการตรวจหูเพื่อดูความผิดปกติในหูชั้นกลาง และตรวจภายในโพรงจมูกร่วมด้วยเนื่องจากมักพบจมูกอักเสบเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบได้บ่อย  ในภาวะดังกล่าว
         
- อาการหูอื้อที่เกิดหลังจากได้ยินเสียงดังมากๆ เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือหูอื้อที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดร่วมกับมีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน  หรือมีเสียงดังรบกวนในหู ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง โดยแพทย์จะตรวจช่องหูและอวัยวะอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุ จากนั้นจะส่งตรวจวัดระดับการได้ยิน และอาจส่งตรวจการทำงานของระบบประสาทหู  และตรวจเลือดเพิ่มเติม
          
- กลุ่มหูตึงในผู้สูงอายุ  ควรพาไปพบแพทย์ด้วยเช่นกัน เพื่อตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ ที่ทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ และรับการประเมินระดับการได้ยินว่าสมควรใช้เครื่อช่วยฟังหรือไม่ เพื่อเลือกชนิดของเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละรายต่อไป


 

หูเป็นอวัยวะพิเศษของท่าน ต้องหมั่นดูแลรักษา... เพราะความพิเศษนี้มีให้มา... ครั้งเดียว

ผู้แสดงความคิดเห็น หูอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-13 14:21:10 IP : 125.25.24.80


ความคิดเห็นที่ 16 (3162276)

หูดับ ฉับพลัน ปัญหาของใคร?
          จากกรณีที่ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเข้ารับการรักษาอาการหูอักเสบ ทำให้ทีมกอง บ.ก.ได้ติดตามข่าวในเรื่องของรายละเอียดของอาการดังกล่าว โดยการติดต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับทราบลักษณะ อาการ การรักษาว่าจะมีวิธีการอย่างไร ผู้ให้รายละเอียดเราในครั้งนี้คือ ศ.เกียรติคุณ พญ.สุจิตรา ประสานสุข ผู้อำนวยการศูนย์โสตประสาท การได้ยินกรุงเทพฯ ศูนย์ประสานงานขององค์การอนามัยโลกเพื่อการแก้ไขปัญหาหูหนวกหูตึงและโรคหู ประธานองค์กรเพื่อการได้ยินนานาชาติ อาจารย์พิเศษคณะแพทยศาสตร์ศิริราช ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า
          คนเราได้ยินโดย "หู" ซึ่งอยู่สองข้างของศีรษะ การได้ยินจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ สื่อสาร สังคม และเพื่อการพัฒนาตนเอง ถ้าอยู่มาวันหนึ่งหูของเราข้างใดข้างหนึ่งหรือสองข้างเกิดไม่ได้ยินขึ้นมาเฉยๆ คือมีอาการหูอื้อ หรือหูดับไปเลย ไม่สามารถได้ยินอย่างเคย "หูดับฉับพลัน" (Sudden Sensorineural Hearing Loss) เราคงจะทรมานใจไม่น้อยและเราจะทำอย่างไรดี ควรได้รับการตรวจและการรักษาอย่างไร
          "หูอื้อ" หรือ "หูดับ" เป็นแต่เพียงอาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรค ดังนั้น การค้นหาสาเหตุและรักษาให้ตรงตามต้นเหตุจึงเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง ความผิดปกติหลายๆ อย่าง อาจต้องแก้ไขให้การรักษา รวมทั้งการฟื้นฟูบำบัดอย่างทันท่วงที มิฉะนั้นอาจเกิดอันตราย หรืออาจทำให้สูญเสียการได้ยินอย่างถาวรได้ ในปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การตรวจวัดการได้ยิน รวมทั้งการแยกหาตำแหน่งของความผิดปกติในส่วนต่างๆ ของหู เพื่อการวินิจฉัยโรคและความผิดปกติของอวัยวะรับเสียงทำได้ง่าย และสาเหตุของการเสียการได้ยินนอกจากโรคหูเองแล้วยังอาจเป็นโรคของสมอง หรือมีสาเหตุจากโรคทางกายหลายอย่างดังกล่าวแล้วที่มีผลต่อหูชั้นใน และปลายประสาท เนื่องจากปลายประสาทในหูชั้นในละเอียดอ่อนและมีการทำงานที่ซับซ้อน และต้องการอาหารของเซลล์อย่างถูกต้อง รวมทั้งกระแสโลหิตและออกซิเจน เพื่อเป็นสื่อไฟฟ้าที่ดี และเพื่อคงหน้าที่ไว้ไม่ให้เสื่อมสลาย ดังนั้น การรักษาจึงต้องแข่งกับเวลา และรักษาให้ทันก่อนปลายประสาทจะถูกทำลายไปจนหมดสิ้น ทำให้เกิดหูหนวกอย่างถาวรได้
          อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งอาการหูดับอาจเกิดขึ้นฉับพลันโดยไม่พบสาเหตุชัดเจน และการรักษายังไม่เป็นที่ตกลงกันได้ เนื่องจากความเชื่อในหลายทฤษฎี ดังนั้นแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยต้องใช้ดุลยพินิจของตนเองและจำเป็นต้องตรวจแยกปัญหาของ non-organic Hearing Loss ด้วย

เมื่อไรจะเรียกและวินิจฉัยว่าเป็นหูดับเฉียบพลัน

          หูดับเฉียบพลันเกิดในคนที่ปกติแล้วได้ยินเสียงดี แต่แล้ววันหนึ่งเกิดไม่ได้ยินขึ้นมาเฉยๆ ไม่รู้เนื้อรู้ตัว จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ผู้ป่วยจะรู้ตัวเองชัดเจน เช่น เคยรับโทรศัพท์ได้ ก็ต้องเปลี่ยนไปรับอีกข้าง ในการวินิจฉัยจะตรวจพบว่ามีการสูญเสียการได้ยินไปอย่างน้อย 30 เดซิเบล ในอย่างน้อย 3 ความถี่ของเสียงหรือดับเกิน 70 เดซิเบล และเป็นลักษณะของประสาทรับเสียงเสีย ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วม เช่น มีเสียงรบกวนในหูปวดแน่นในหู หรือเวียนศีรษะร่วมด้วย หรือไม่มีก็ได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 90 มักเป็นหูเดียวอาจเป็นในหูซ้ายหรือหูขวาได้เท่าๆ กัน ความชุก พบในประชากร 1: 10,000 คน ต่อปี ไม่เลือกภูมิภาคและฤดูกาล และเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30-60 ปี เพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่หาสาเหตุได้ ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด ได้แต่คาดเดาและอาจเชื่อได้หลายทฤษฎี ตามการศึกษาในต่างประเทศจากหลายๆ สถาบัน ก็ยังไม่อาจลงเอยกันได้ ดังนั้น กาารรักษาอาการผิดปกตินี้จึงท้าทายแพทย์ที่ให้การรักษาเป็นอย่างยิ่ง
          สาเหตุใหญ่ๆ ของความผิดปกติแบ่งได้เป็น ความผิดปกติของหูชั้นใน โรคทางกาย โรคของการไหลเวียนกระแสโลหิต หรืออาจประมวลสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้หูดับฉับพลันได้ดังนี้
          1. เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
          2. การผิดปกติของเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว
          3. โรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียน กระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
          4. การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เช่น ไวรัสจากโรคทางเดินหายใจ ทำให้หลอดเลือดอักเสบ
          5. โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
          6. การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
          7. การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นในหรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
          8. การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
          9. ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
          10. ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
          11. การได้รับการผ่าตัดหู
          12. ไม่ทราบสาเหตุ
          ส่วนโรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน หูอาจดับทันที แต่อาการจะเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุดคือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงรบกวนในหูเป็นโรคหนึ่งต่างหากคือโรค Meniere ซึ่งการรักษาจะต่างกันไป

อาการหูดับเฉียบพลันที่ไม่รู้สาเหตุ

          มีความเชื่อกันหลายทฤษฎี และยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ยังไม่อาจลงความเห็นให้เชื่อถือได้ อาจมีอาการร่วม ได้แก่ เสียงรบกวนในหู ปวดหู เวียนศีรษะ บ้านหมุน ปวดศีรษะ เดินเซ ซึ่งอาจมีผลในการพยากรณ์การดำเนินของโรคได้
          จากรายงานพบว่าหูดับเฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุอาจคืนดีได้ แม้ไม่ได้รักษาอะไรเลยถึงร้อยละ 65 ส่วนอีกร้อยละ 35 นั้น อาจให้ยามากมายหลายอย่าง แต่ก็ยังไม่ได้ผลที่จะทำให้การได้ยินคืนมาเป็นปกติหรือใช้งานได้ดังใจหลายคนเชื่อว่ารักษาเร็วเท่าไรยิ่งได้ผลดีเท่านั้น โดยเฉพาะถ้าได้รักษาภายในเวลา 1 สัปดาห์หลังเกิดหูดับ พบว่าอัตราคืนดีมีโอกาสสูง อาจเป็นเพราะกลุ่มนี้ ได้รวมผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มต้นไว้มากกว่าอีกกลุ่มที่โรคไม่หายแล้วจึงมาพบแพทย์ ทำให้ผลการรักษาไม่ดี เพราะถึงอย่างไรก็ไม่หายเองอยู่แล้ว และแม้การรักษาโดยการควบคุมในงานวิจัยที่ทำอย่างถูกระเบียบแบบแผน ก็ยังให้ผลสำเร็จของการรักษาไม่เป็นที่พอใจเช่นกัน เนื่องจากมีหลายปัจจัยร่วม ที่ไม่อาจทำให้ผลการรักษาโดยวิธีต่างๆ จากแต่ละสถาบันและแต่ละวิธีการเป็นที่ยอมรับ ได้แก่ การเลือกผู้ป่วย เพื่อเป็นกรณีศึกษา ระดับการได้ยินที่สูญเสีย วิธีการวัดผล ในแต่ละรายงานไม่อาจเปรียบเทียบกันได้ และหลายกรณีให้การรักษาหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกันแบบครอบจักรวาล และยิ่งกว่านั้น หลายๆ กรณีหายได้เอง ถึงร้อยละ 65 โดยไม่ต้องรักษา
          หูดับเฉียบพลันถือเป็นภาวะเร่งด่วนทางการแพทย์เพราะสาเหตุหลายๆ อย่างต้องได้รับการดูแลรักษาทันที การวินิจฉัยหูดับเฉียบพลัน การซักประวัติอาการมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต้องมีประวัติและการตรวจพบดังนี้
          1. ภาวะทางการได้ยิน
          1.1 ซักประวัติการสูญเสียการได้ยิน ที่เกิดขึ้นฉับพลันทันที ภายในเวลาไม่เกิน 3 วัน ตั้งแต่เริ่มต้นจนหูดับไป โดยไม่เคยมีการผิดปกติ หรือเป็นๆ หายๆ มาก่อน
          1.2 วัดการได้ยิน พบการได้ยินเสียงไปไม่น้อยกว่า 30 เดซิเบล ใน 3 ความถี่เป็นอย่างน้อย
          2. ภาวะผิดปกติอื่นๆ
          2.1 การซักประวัติโรคทางกายต่างๆ
          2.2 ภาวะเครียดทางใจ
          2.3 การออกแรงมาก การผิดปกติของภาวะแรงดันในหู
          2.4 การได้รับการกระทบกระเทือนของศีรษะและสมอง
          2.5 ภาวะการขาดออกซิเจน
          2.6 การรับเสียง เสียงระเบิด

การดูแลผู้ป่วยหูดับเฉียบพลัน

          1. ควรรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล ให้พัก ห้ามการออกแรง นอนศีรษะสูง จำเป็นที่สุด
          2. ตรวจวัดการได้ยิน ควรทำทุกวัน หรือวันเว้นวัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับการรักษา
          3. ตรวจการทำงานของแก้วหูและหูชั้นกลาง ถ้าคิดว่ามีสาเหตุจากแรงดันหูชั้นกลางผิดปกติ
          4. ตรวจความดันโลหิต ท่านอน นั่ง ยืน เพื่อรู้สภาพการไหลเวียนกระแสโลหิต
          5. เจาะเลือดหาความผิดปกติทางเคมีของเลือด ความเข้มหรือจางเกินไปของเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ไขมัน น้ำตาล และของเสียในเลือด
          6. ตรวจระดับไทรอด์ยฮอร์โมนสูงหรือต่ำเกินไป
          7. ตรวจ Serology ของเลือด โดยเฉพาะซิฟิลิส
          8. การตรวจเลือด HIV AIDS พิจารณาแล้วแต่กรณี (โดยมากหูระดับ 2 ข้าง)
 

ผู้แสดงความคิดเห็น วิธีดูแล วันที่ตอบ 2010-03-14 01:50:16 IP : 124.121.73.150


ความคิดเห็นที่ 17 (3162277)

การตรวจพิเศษ พิจารณาแล้วแต่กรณี เพื่อการวินิจฉัยแยกโรค

          1. ตรวจวัดการทำงานของศูนย์ได้ยินในก้านสมอง โดยผ่านหูชั้นในและประสาทรับเสียง นอกจากช่วยแยกตำแหน่งความผิดปกติแล้วยังใช้ยืนยันการเสียการได้ยินระดับของการสูญเสียได้ด้วย
          2. ตรวจพิเศษทางการฟังเสียงเพื่อแยกตำแหน่งของพยาธิสภาพของหูชั้นในหรือประสาทได้ยิน
          3. ตรวจภาพรังสีของสมองและหูชั้นในแล้วแต่กรณีและความเหมาะสม อาจเป็น CT หรือ MBI, MRA
          อย่างไรก็ตาม ไม่ควรให้มีการกระทบกระเทือนต่อผู้ป่วยมากเกินจำเป็น เพราะจะทำให้เป็นการซ้ำเติมและเกิดการสูญเสียมากขึ้นได้
          เมื่อรู้สาเหตุของโรคให้ทำการรักษาโรคหรือความผิดปกตินั้นๆ

การรักษาตามสาเหตุ เช่น

          1. การได้รับการกระทบกระเทือนทางศีรษะ อาจมีการฉีกขาดของเยื่อกั้นของน้ำในหูชั้นใน ผู้ป่วยกรณีนี้จะมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย และเป็นมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือออกแรง ก้ม หรือโน้มตัวไปข้างหน้า ควรให้ผู้ป่วยพัก นอนศีรษะสูง และห้ามออกแรง เยื่อที่ฉีกขาดส่วนใหญ่จะประสานกันเองได้ ภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่หายอาจต้องผ่าตัดซ่อมแซมเยื่อที่ฉีกขาด แต่จะต้องพิจารณาว่าจะทำเมื่อใด และไม่ควรรีบร้อนเพราะจะกระทบกระเทือนมากขึ้น
          2. ในกรณีพบโรคแน่ชัด ให้รักษาแล้วแต่โรคนั้นๆ เช่น การติดเชื้อของหูชั้นกลางหรือหูชั้นใน
          3. ในกรณีความเครียด การรักษาโรคเครียดอาจจำเป็น เพราะความเครียดเชื่อว่า อาจทำให้ยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลของร่างกายและมีการไหลเวียนกระแสโลหิตผิดปกติ และเกิดหูดับได้
          4. ในกรณีหูอื้อหูดับจากการรับฟังเสียงดังมาก ควรให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการฟังเสียงดังสักระยะหนึ่ง
          5. การติดตามผลการรักษาควรตรวจการได้ยินอย่างน้อย วันเว้นวัน เพื่อใช้เป็นข้อบ่งชี้ความสำเร็จในการรักษา
          6. ควรติดตามผู้ป่วยใกล้ชิดเป็นเวลา 30 วัน เป็นอย่างน้อยและติดตามต่อไปอีกเป็นเวลา 1 ปี

การรักษาทางยา

          หลายสถาบันมีความเชื่อในการให้การรักษาดังนี้
          1. การให้สเตียรอยด์ (Corticosteriod Therapy) เพื่อหวังผลลดการอักเสบ พบว่าได้ผลดีที่สุด ถ้าการได้ยินเสียงในระดับปานกลาง และการให้ prednisolone รับประทาน โดยเริ่มที่ 1 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมและลดระดับในเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า prednisolone เข้าหูชั้นในได้ดีกว่าการให้สเตียรอยด์ โดยฉีดเข้าเส้น เช่น dexemetasone ซึ่งอาจเกิดผลแทรกซ้อนมากกว่า อย่างไรก็ตาม ก็อาจมีข้อโต้แย้งได้ว่า สเตียรอยด์อาจทำให้โรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ หรือแม้แต่ไวรัสลงหูชั้นใน ทำให้หูชั้นในอักเสบกำเริบได้ ปัจจุบันนี้มีความเชื่อเรื่องหูอื้อ หูตึงที่มีสาเหตุ อาจเกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องของหูชั้นใน ข้อนี้ยอมรับได้ และการให้สเตียรอยด์ อาจช่วยได้ในกรณีนี้ อย่างไรก็ตาม หลายๆ กรณีอาจเป็นเพียงปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันเท่านั้นที่รายงานไว้ และยังไม่มีผลที่เชื่อถือได้ทางคลินิก ยังคงจะต้องศึกษาต่อไป
          2. โดยให้มีการเพิ่มการไหลเวียนกระแสโลหิตของหูชั้นในโดยให้ Carbogen Therapy เพื่อเพิ่มออกซิเจน โดยให้สูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ 5% ผสมออกซิเจน 95% โดยหวังผลการขยายหลอดเลือด แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่รับรองผลแน่ชัด
          3. การให้ยาขยายหลอดเลือดและลดการหดเกร็งของเส้นเลือด เพื่อช่วยการไหลเวียนกระแสโลหิต อาจแนะนำให้ทำได้ ได้แก่ การให้ยาพวกฮีสตามีน เช่น เบตาฮีสตีน
          4. การให้ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ไม่นิยมเพราะยาขับปัสสาวะเป็นอันตรายต่อการได้ยิน
          5. การให้สารลดการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) โดยมีความเชื่อเรื่องการแข็งตัวของเลือดเป็นสาเหตุ อาจให้ heparin ในขนาดต่ำๆ แต่ไม่มีการยืนยันผลแน่นอน
          6. การให้ Plasma Expanders เช่น Low Molecular weight dextran เพื่อลดการเกาะตัวของเม็ดเลือดแดง เพื่อช่วยการไหลเวียนโลหิตของหูชั้นใน แต่ Dextran อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางภูมิแพ้อย่างรุนแรงและเป็นอันตรายได้
          7. Hypaque (diatrizolate meglumin) เป็นสารสีที่ใช้ฉีดในการทำการศึกษาเส้นเลือดในการฉายภาพรังสีพบว่าอาจปิดรูเปิดของเยื่อในหูชั้นใน blood-cochlear barrier ทำให้เกิด sodium pump และให้พลังประสาทของ Cochlear DC Potential คืนมา และยังทำให้เกิดการหลั่งของ histamine เพื่อการขยายตัวของเส้นเลือด แต่ก็ยังไม่มีผลการวิจัยยืนยันแน่ชัด
          8. นอนพัก 5 วัน, ฉีด heparin ใต้ผิวหนัง ฉีด adrenocorticotropic hormone เข้ากล้ามเนื้อ ฉีด low molecular weight dextran เข้าเส้น ให้ยาขยายหลอดเลือด papaverine HCL เป็นการรักษาแบบครอบคลุม (Shot Gun)

วิธีอื่นๆ ได้แก่

          การให้ยาเพิ่มออกซิเจนของหูชั้นใน เช่น การให้ Almitrine-Raubasine รับประทานเช้า เย็น แต่ต้องให้เป็นเวลาหลายเดือน
          การให้ยาช่วยการไหลเวียนกระแสโลหิตกันเลือดแข็งตัว ได้แก่ Ginkgo biloba extract Egb 671 ในผู้ป่วยที่การได้ยินเสียงไม่มาก มีรายงานได้ผลดีถ้าการสูญเสียไม่มาก
          การให้วิตามินบำรุงระบบประสาทอาจทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและอาจช่วยอีกทางหลายๆ สถาบันให้การรักษาแบบ Shot Gun คือให้หลายอย่างรวมกันทำให้ไม่อาจพิจารณาได้ว่า อะไรทำให้ดีขึ้น และยิ่งกว่านั้น พบว่าผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษา มีอัตราหายหรือทุเลาในอัตราส่วนไม่ต่างจากกลุ่มที่รับการรักษา ดังนั้น จึงควรพิจารณาให้การรักษาเป็นรายๆ ไปในกรณีไม่ทราบสาเหตุ

         
แหล่งอ้างอิง "หูดับ ฉับพลัน ปัญหาของใคร?." เมดิคอลไทม์. 2 (พฤษภาคม 2545): 25-26.

ผู้แสดงความคิดเห็น การวินิฉัย หูดับ วันที่ตอบ 2010-03-14 01:57:10 IP : 124.121.73.150


ความคิดเห็นที่ 18 (3162385)

รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านดีที่สุด ในเมืองไทย ประสาททางยา
1. ศ.น.พ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (รามา)
2. ศ.น.พ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ (ศิริราช)
3. ศ.น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (จุฬา)
4. น.พ.ยรรยงค์ ทองเจริญ (กรุงเทพฯ)
ทางเดินอาหาร
1. ศ.น.พ.สุขา คุระทอง (รามา)
2. ร.ศ.น.พ.พินิจ กุลลวณิชย์ (จุฬา)
3. ศ.น.พ.สั จจพันธ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา (จุฬา)
4. น.พ. เกรียงไกร อัครวงศ์ (สมิติเวช)
เด็ก
1. น.พ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา (รามา)
2. พ.ญ.ชนิกา ตู้จินดา (ศิริราช)
3. พ.ญ.จาดศรี ประจวบเหมาะ (กรุงเทพฯ)
4. น.พ.วิโรจน์ สืบหลิววงศ์ (จุฬา) ผ่าตัดทั่วไป
1. น.พ.เพรา นิวาตวงศ์ (พร้อมมิตร)
2. น.พ.เอาชัย กาญจนพิทักษ์ (รามา)
3. น.พ.กฤษณ์ จาฏมระ (จุฬา)
4. น.พ.ณรงค์ เลิศอักรมณี (ศิริราช)
สูติกรรม
1. ศ.น.พ.สมหมาย ถุงสุวรรณ์ (ศิริราช)
2. น.พ.ประมวล วีรุตเสน (จุฬา)
3. น.พ.ไพจิตร เจริญขวัญ (ราชวิถี)
4. น.พ.กำแหง จาตุรจินดา (รามา) ผิวหนัง
1. พ.ญ.ปรียา กุลลวณิชย์ (แจ่มจันทร์)
2. พ.อ.น.พ.กฤษฎา ดวงอุไร (พระมงกุฏ)
3. พ.ญ.เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงษ์ (รามา)
4. พ.ญ. พิมลวรรณ กฤติกรังสรรค์ (สถาบันโรคผิวหนัง)
หู คอ จมูก
1. น.พ.ประพจน์ คล่องสู้ศึก(วิชัยยุทธ)
2. น.พ.ศัลยเวช เลขะณุก (สหการแพทย์)
3. น.พ.คณิต มันตาภรณ์ (รามา)
4. น.พ.ประธาน สูตะบุตร (กรุงเทพฯ)
5. พ.ญ.สุจิตรา ประสานสุข (ศิริราช)
ตา
1. น.พ.ธนัญชัย อติแพทย์ (รามา)
2. น.พ.สมอรรถ พัฒนกำจร (มงกุฎ)
3. น.พ.ประจักษ์ ประจักชเวช (จุฬา)
4. พ.ญ.โสมสราญ วัฒนโชติ (กรุงเทพฯ)
หัวใจและหลอดเลือด
1. น.พ.ศุภชัย ไชธีรพันธุ์ (ศิริราช)
2. พ.ญ.พึ่งใจ งามอุโฆษ (จุฬา)
3. น.พ.นิธิ มหานน (ศิริราช)
ไต
1. น.พ.วิศิษฐ์ สิตปรีชา (จุฬา)
2. น.พ.สง่า นิลวรางกุล (ศิริราช)
3. พ.ญ.อุ ษณา ลุวีระ (พระมงกุฎ)
4. น.พ.สุ ชาติ อินทรประสิทธิ์ (รามา)
ปอด
1. น.พ.ยศวี สุขมาลจันทร์ (กรุงเทพฯ)
2. น.พ.อรรถ นานา (ศิริราช)
3. น.พ.ประกิจ วาทีสาถกิจ (รามา)
4. น.พ.ประสิทธิ์ กีรติกานน (สมิติเวช)
กระดูก
1. น.พ.เจริญ โชติกวณิชย์ (ศิริราช)
2. น.พ.ไพศาล จันทรพิทักษ์ (ภูมิพล)
3. น.พ.ชายธวัช งามอุโฆษ (จุฬา)
4. พลตรีสุปรียา โมคขเวช (พระมงกุฏ)

ผู้แสดงความคิดเห็น หมอเก่ง วันที่ตอบ 2010-03-14 16:28:33 IP : 124.122.253.207


ความคิดเห็นที่ 19 (3162481)

คอลัมน์ มหัศจรรย์แพทย์แผนจีนทุยหนา โดย...หมอหลิน ตันเฉียน
       
       ทำไมมนุษย์เราถึงได้มีโรคภัยไข้เจ็บมากมายถึงขนาดนี้ เดี๋ยวก็ปวดหัว เดี๋ยวก็ปวดท้อง เดี๋ยวก็โรคนั้นโรคนี้มากล้ำกราย ใครที่เจอเบาะๆ ก็โชคดีไป ส่วนใครที่เจอโรคร้ายก็เป็นเรื่องที่ต้องทำใจและต่อสู้กันต่อไป ดังนั้น จึงมีคำพูดอมตะที่ทุกคนเคยได้ยินได้ฟังกันคุ้นหูนั่นก็คือ “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”
       

“เอ่อหมิง” หรืออาการ “หูอื้อ-หูแว่ว” เป็นอีกโรคหนึ่งที่แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ถึงกับทำให้ล้มหายตายจาก แต่ก็เป็นโรคที่สร้างความรำคาญให้กับเจ้าของหูอยู่ไม่น้อย เพราะอยู่ๆ ก็มี “เสียงวี๊ด เสียงแว่ว” เหมือนสายลมหรือเสียงจั๊กจั่นดังเข้ามาในหูผิดไปจากธรรมชาติที่ควรจะเป็น
       
       ที่สำคัญคือ อาการหูอื้อจะส่งผลทำให้ความสามารถในการฟังลดลงไปจากเดิมด้วย
       
       ใครที่มีปัญหาหูอื้อ เมื่อไปพบแพทย์แผนปัจจุบันก็มักจะได้รับคำตอบว่ารักษาไม่หายและต้องทนอยู่กับโรคนี้ไปตลอดชีวิต แต่สำหรับศาสตร์แพทย์แผนจีน ต้องบอกว่า โรคนี้มีทางรักษาและเยียวยาได้
       
       ทฤษฎีแพทย์แผนจีนวิเคราะห์สาเหตุของอาการหูอื้อหูแว่วว่า ด้านหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะความเสื่อมถอยของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการรับฟัง ด้านหนึ่งอาจเป็นผลมาจากความเสื่อมของระบบประสาทสั่งการ ขณะที่อีกด้านหนึ่งอาจเป็นผลมาจากการพร่องของ “พลังอิน” หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ “พลังหยิน” (คู่กับพลังหยาง) ที่เชื่อมโยงไปถึงภาวะความสมบูรณ์ของ ไต ตับและดี ด้วย
       
       กล่าวคือ เมื่อการทำงานของ 3 อวัยวะคือ ไต ตับและดี ไม่ปกติ ก็จะส่งผลกระทบกับเส้นลมปราณ ทำให้การทำงานของเส้นลมปราณไม่ดี ไม่คล่อง รวมทั้งทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดลมหรือระบบต่างๆ ติดขัดไม่สะดวก กระทั่งทำให้สิ่งภายนอกเข้ามาแทรกจนเกิดการเจ็บป่วย และมีผลกระทบกับการทำงานของหู เกิดมีเสียงแทรก เสียงแว่ว เสียงอะไรต่างๆ ขึ้นมา
       
       อย่างไรก็ตาม บางกรณีผู้ป่วยอาจจะเป็นมาตั้งแต่เกิดก็เป็นได้
       
       ที่น่าสนใจก็คือ ก่อนที่อาการหูอื้อจะปรากฏมักมีเหตุนำที่เชื่อมโยงกับภาวะทาง “อารมณ์ ความรู้สึก” อย่างเช่นตกอยู่ในอารมณ์โกรธ หงุดหงิด งุ่นง่าน เหนื่อยอ่อนจากการทำงาน หรือเป็นผลมาจากการป่วยเป็นหวัดก็ได้
       
       อาการหูอื้อหูแว่วที่ปรากฏ...บางครั้งจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แต่บางครั้งอยู่ๆ ก็ปรากฏขึ้นมาอย่างไม่ทันตั้งตัว ซึ่งอาการที่ปรากฏก็มีได้หลายรูปแบบ หนักเบาต่างกัน เช่น บางคนอาจจะเป็นแค่หูข้างเดียว แต่บางคนก็เป็นทั้งสองข้าง นอกจากนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการรับฟัง ทำให้ฟังได้ไม่ดีเท่าที่ควร การสื่อสารกับบุคคลอื่นมีปัญหา รวมทั้งถ้าอาการหนักก็จะทำให้ไม่ได้ยินเลยก็ได้
       
       ในทางการแพทย์แผนจีนสามารถแบ่งลักษณะอาการของผู้ป่วยหูอื้อหูแว่วตามสมุฏฐานของโรคออกได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
       
       1.ถ้าเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน จะเกิดผลกระทบอาการคันในหู และเกิดภาวะหูอุดตันอย่างชัดเจน ตัวร้อนแต่รู้สึกหนาว ปวดศีรษะ
       
       2.ถ้าเกิดจากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของอารมณ์ จะทำให้มีเสียงเหมือนน้ำไหลอยู่ในหู นอกจากนี้ยังมีอาการปวดศีรษะ วิงเวียน แน่นหน้าอก รู้สึกหงุดหงิด โกรธง่าย ประกอบกันไป
       
       3.ถ้าเกิดอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะมีเสียงวี๊ดๆ ดังเบาเหมือนเสียงลมแว่วอยู่ในรูหูตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน และในรูหูมักจะมีน้ำไหลเยิ้มออกมาลักษณะคล้ายๆ กับคนที่เป็นหูน้ำหนวก ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการฟังลดลงขณะเดียวกันก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นปวดศีรษะ มือไม้ไม่มีแรง ปวดเอว ฝ่ามือหรือฝ่าเท้าจะร้อน
       
       4.เป็นอาการผสมผสาน คือบางครั้งเบา บางครั้งหนัก เวลาได้พักผ่อนก็จะบรรเทาลง ถ้าเหนื่อยก็จะหนักขึ้น ผู้ที่ประสบอาการหูแว่วในลักษณะนี้จะส่งผลทำให้ระบบประสาทต่างๆ ตกอยู่ในภาวะมึนๆ ซึมๆ ซึ่งเมื่อวินิจัยโรคจะพบว่า เป็นผลมาจากความอ่อนแอของม้ามและกระเพาะอาหาร
       
       ส่วนวิธีการรักษานั้น หลักการแก้ที่สำคัญคงต้องย้อนกลับไปพิจารณาถึงต้นเหตุใหญ่ของโรค นั่นก็คือภาวะพร่องของพลังอิน ดังนั้น ถ้าจะแก้ให้ตรงจุดก็ต้องปรับให้พลังอินกลับคืนสู่ความสมบูรณ์และสมดุลดังเดิม รวมทั้งปรับการทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ เช่น ตับ ไต ม้าม ดี ฯลฯ ให้ดีขึ้น โดยการให้ยาสมุนไพรจีน และขณะเดียวกันก็สามารถใช้วิธีการนวดทุยหนาเพื่อรักษาอาการได้อีกด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น วิธีแก้หูอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-14 22:05:14 IP : 124.122.253.207


ความคิดเห็นที่ 20 (3162780)

อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน B ได้แก่ ตับ, ไต, เนื้อไก่, เนื้อวัว, ปลา, ไข่, ผลิตภัณฑ์จากนม, ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลวีต, ถั่ว, มะเขือเทศ บร็อคโคลี ฯลฯ

วิตามิน B1 ช่วยบำรุงสุขภาพ และควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ และยังช่วยการทำงานในระบบแปลงน้ำตาลในเลือดให้กลายเป็นน้ำตาล เมื่อขาดวิตามิน B1 จะมีผลทำให้ปวดศรีษะ, มีปัญหาในกระเพาะอาหาร และ แขน ขา เป็นตะคริวได้ง่าย

วิตามิน B6 มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและแบ่งตัวของเซลล์ทุกชนิด และเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่คุ้มกันร่างกาย มีผลต่อการสร้างสารเคมีปลายประสาท แต่หน้าที่หลักคือการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค เพราะเมื่อร่างกายขาดวิตะมินB6 ร่างกายจะลดการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ช่วยป้องกันโรค

วิตามิน B12 เป็นวิตามินที่ช่วยเร่งพลังงานของร่างกาย ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ เมื่อต้องผลิตพลังงานเป็นพิเศษ ทำให้เป็นโรคเลือดจาง จิตใจหดหู่เศร้าหมอง

วิตามินช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ร่างกาย หากเซลล์แข็งแรงก็จะช่วยให้ประสิทธิภาพของอวัยวะนั้นทำงานได้ดีค่ะ...^_^

ผู้แสดงความคิดเห็น ประโยชน์ วิตามิน B วันที่ตอบ 2010-03-16 06:23:06 IP : 124.121.71.93


ความคิดเห็นที่ 21 (3162854)

อันตรายจากเสียงดัง

Noise Injury

 

 

กายวิภาคและสรีรวิทยาของหู

 

หูของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน1 ดังรูปที่ 16.1 คือหูชั้นนอก (External ear) คือส่วนของหูที่อยู่ด้านนอกต่อจากแก้วหู ประกอบด้วยใบหู ช่องหูชั้นนอก หูชั้นกลาง (Middle ear) คือเนื้อที่ระหว่างหูชั้นนอก และหูชั้นใน มีอากาศขังอยู่ สามารถถ่ายเทได้ทางท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ซึ่งปลายท่ออีกด้านหนึ่งเปิดที่ช่องจมูกส่วนหลัง (Nasopharynx) ทุกครั้งที่กลืนท่อนี้จะเปิดถ่ายเทได้ สิ่งสำคัญที่บรรจุอยู่ในหูชั้นกลาง คือ กระดูกค้อน (Malleus) กระดูกทั่ง (Inus) กระดูกโกลน (Stapes) ที่ปลายของกระดูกโกลนจะวางอยู่บนหน้าต่างรูปไข่ (Oval window) ซึ่งเป็นทางเปิดเข้าสู่หูชั้นใน และมีหน้าต่างรูปกลม (Round window) อยู่ใต้ Oval window กล้ามเนื้อของหูชั้นกลางมี 2 มัดคือ Tensor tympani และ Stapedius muscle มีเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 วิ่งผ่านเยื่อแก้วหู (Tympanic membrane) จะเป็นตัวแบ่งหูชั้นกลางกับหูชั้นนอก สำหรับหูชั้นใน (Inner ear) อยู่ในส่วน Petrous ของกระดูก Temperal ประกอบด้วย 3 ส่วนที่เรียกว่า Vesibular labyrinth ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อสามท่อที่ตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ส่วนที่เรียกว่า Endolymphatic duct และ sac มีลักษณะเป็นท่อปลายตัน ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของของเหลวภายในหูชั้นใน และส่วนสุดท้ายที่เรียกว่า Cochlea มีลักษณะเป็นรูปก้นหอยทำหน้าที่ในการรับเสียง2 ภายใน Cochlea ซึ่งมีอวัยวะรับเสียงเล็กๆ เรียกว่า Organ of Corti ซึ่งภายในมีเซลล์และส่วนยื่นออกไปลักษณะคล้ายขน (Outer and inner hair cells) เซลล์นี้ทำหน้าที่รับสัญญาณเสียง

 

สรีรวิทยาและกลไกการได้ยิน

 

ลักษณะของเสียงที่เป็นผลต่อประสาทหู

กลไกการได้ยินเสียงมีทั้งกลไกการนำเสียงและกลไกการป้องกันเสียง3 กลไกการนำเสียง (Tranduction) ประกอบด้วยการนำเสียงทางอากาศ (Air conduction) และการนำเสียงทางกระดูก (Bone conduction) ในการนำเสียงผ่านทางอากาศนั้น เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงผ่านมาถึงมนุษย์นั้น เราสามารถบอกทิศทางของเสียงได้เนื่องจากขนาดของศีรษะทำให้เกิดการบังเสียงหรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ Baffle effect เกิดการสะท้อนกลับของเสียง (Reflected wave) และการรวมตัวของเสียงที่หูข้างใดข้างหนึ่ง และคลื่นเสียงใดที่มีความยาวคลื่นสั้นจะไม่สามารถผ่านคลื่นเสียงไปยังอีกด้านของศีรษะได้หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์ Shadow effect คลื่นเสียงที่ผ่านช่องหูชั้นนอกจะทำให้เกิดเสียงก้อง (Resonant) ความถี่คลื่นเสียงที่จะทำให้เกิดเสียงก้องมากที่สุดคือคลื่นเสียง ณ ความถี่ 25 KHz คลื่นเสียงที่กระทบเยื่อแก้วหูจะถูกส่งผ่านไปยังกระดูกของหูชั้นกลางทั้ง 3 ชิ้นและผ่านหน้าต่างรูปไข่เข้าไปในหูชั้นใน เกิดการสั่นสะเทือนของของเหลวภายในกระดูกรูปก้นหอยและมีการขยับของหน้าต่างรูปกลม การสั่นสะเทือนของของเหลวจะกระตุ้นที่ Organ of corti เปลี่ยนพลังงาน แรงดันของของเหลว (Hydromechanic energy) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical impulse) ส่งไปยังแขนงของเส้นประสาทคู่ที่ 8 และเข้าไปสู่สมองส่วนการได้ยิน กล่าวโดยสรุปการนำเสียงทางอากาศมีส่วนช่วยขยายความดังของเสียงตามส่วนต่างๆของหู โดยพบว่าแรงที่กดบนเยื่อแก้วหูมีความต่างกับแรงที่กดต่อหน้าต่างรูปไข่ โดยเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า แรงดันที่จากการขยายเสียงของกระดูหูทั้ง 3 ชิ้นเพิ่มขึ้น 1.15 เท่า และความต่างของพื้นที่ช่องเยื่อแก้วหูต่อพื้นที่หน้าต่างรูปไข่ทำให้ความดังของเสียงเพิ่มขึ้นอีก 21 เท่า รวมเป็นความดังของเสียงที่เพิ่มขึ้น 48.3 เท่าหรือเสียงดังเพิ่มขึ้น 34 dB. การขยายเสียงของหูชั้น 15 dB. รวมเป็นการขยายเสียงเพิ่มขึ้นทั้งหมด 49 dB.4 ในการนำเสียงทางกระดูกพลังงานเสียงดังพอจะทำให้กระโหลกศีรษะสั่นสะเทือนเป็นผลให้ของเหลวในหูชั้นในสั่นเช่นกัน ทำให้กระตุ้น Organ of corti เปลี่ยนเป็นพลังงาน Hydromerchanic เป็น Electrical energy ส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 กลไกการป้องกันเสียงดัง (Sound Protection) เกิดขึ้นโดยที่ภายในหูชั้นกลางจะมีกล้ามเนื้อ Stapedius ทำหน้าที่ส่วนป้องกันเสียงที่ดังมากๆ โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ Stapedial footplate ขยับน้อยลง

 

 

ประเภทที่

ประเภทที่

ประเภทที่

มีทั้งเสียงที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายต่อประสาทหู แบ่งเป็นลักษณะของเสียง 4 ประเภท ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้5ประเภทที่ 1 Continuous Noise หรือ Steady-state Noise คือเสียงที่ดังติดต่อกันโดยความดังเปลี่ยน แปลงไม่เกิน 5 dB. เช่น เสียงจากเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และเสียงจากพัดลม เป็นต้น2 Fluctuating Noise คือเสียงดังขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา โดยความดังเปลี่ยนแปลงมากกว่า 5 dB. เช่น เสียงภายในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น3 Impact Noise หรือ Impulse หรือ Impolsive Noise เป็นเสียงที่ช่วงความดังสูงสุดสั้นและหายไปอย่างรวดเร็วเป็นมิลลิวินาที เช่น เสียงระเบิด เสียงปืน และเสียงจากการกระทบของวัตถุ 2 ชิ้น 4 Intermitent Noise เสียงที่ดังไม่ติดต่อกัน หูของคนสามารถรับเสียงได้ตั้งแต่ความถี่ 20-20,000 เฮิร์ต และความถี่ของเสียงในชีวิตประจำวันคือ 125-8,000 เฮิร์ต และความถี่ของเสียงพูดคือ 500-2000 เฮิร์ต เช่น เสียงลูกตุ้มนาฬิกา เสียงตามท้องถนน เป็นต้น

ผู้แสดงความคิดเห็น อันตรายของเสียงดัง วันที่ตอบ 2010-03-16 12:47:25 IP : 124.121.71.72


ความคิดเห็นที่ 22 (3162857)

ความผิดปกติของการได้ยิน

ความผิดปกติของการได้ยินที่เกิดขึ้นมีลักษณะที่พบได้

5 ประเภท ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้1 Conductive Hearing loss คือการนำเสียงทางอากาศเสีย เป็นความผิดปกติที่เกิดกับช่องหูชั้นนอกและอวัยวะภายในหูชั้นกลางเช่น ขี้หูอุดตัน เยื่อแก้วหูทะลุ กระดูหูเคลื่อนหลุดจากกันหรือยึดติดกันแน่น2 Sensorineural Hearing loss คือระบบประสาทรับเสียงเสีย เช่น Noise-induce hearing loss, Miniere’s disease, Otosyphilis

ประเภทที่

ประเภทที่

อันตรายที่เกิดจากเสียงดัง

3 Mixed Hearing loss คือการเสียการได้ยินแบบผสม ทั้งแบบการนำเสียงและแบบประสาทรับเสียงเช่น Otosclerosis

ประเภทที่

4 Functional Hearing loss คือการเสียการได้ยินที่มีสาเหตุจากจิตใจ5 Central Hearing loss คือการแปลความหมายผิดปกติ สาเหตุจากในสมอง(Noise trauma) ทำให้เกิดความผิดปกติของประสาทรับเสียงภายในหูชั้นในได้ 2 ลักษณะ ลักษณะแรกประสาทหูพิการจากเสียงดังมาก เกิดทันทีทันใด ในเวลารวดเร็ว ประสาทหูเสียแบบถาวรเรียกว่า Acoustic trauma อาจมีเยื่อแก้วหูทะลุ อาการวิงเวียนศีรษะ ปวดหู เป็นต้น เสียงดังกล่าวได้แก่ เสียงระเบิด Occupational Health and Safety Administration (OSHA)8 ได้กำหนดมาตรฐานว่าระดับเสียงดังของเสียงที่เสี่ยงต่อการเกิด Acoustic trauma คือระดับความดังของเสียงมากกว่า 140 dB และความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยินยังสัมพันธ์กับความถี่ของเสียงความดัง ลักษณะที่สองเป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากการสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลานานเรียกว่า Noise-induce hearing loss6 อาจเกิดจากเสียง Continuous noise หรือ Interrupted noise ก็ได้ โดยเสียงดังจะมากกว่า 85 dB แบ่งตามสาเหตุได้เป็นประสาทหูเสื่อมจากการประกอบอาชีพ (Occupational noise-induce hearing loss) เช่น เสียงจากโรงงานอุตสาหกรรม และประสาทหูเสื่อมที่ไม่ได้จากการประกอบอาชีพ (Non-occupation noise-induce hearing loss) เช่น เครื่องมือของทันตแพทย์ (Dentral drill) เสียงดังมากจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราว (Temporal Threshold shift; TTS) โดยจะเกิดอาการหูอื้ออยู่ประมาณ 2-3 ชั่วโมง ภายใน 24-48 ชั่วโมง อาการหูอื้อก็จะหายไป มีเพียงน้อยรายที่จะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงแบบชั่วคราวนี้ (Temporal Threshold shift; TTS) คงอยู่ถึง 6 เดือน หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร (Permanent threshold shift; PTS) โดยจะเกิดการทำลายเซลขน การได้ยินเสียงจะไม่กลับคืน (Irreversible NIHL) แม้หยุดรับเสียงเป็นเวลานาน7 โดยมีลักษณะของประสาทหูเสื่อมแบบประสาทรับเสียงเสียอย่างถาวร กล่าวคือมีประวัติสัมผัสเสียงนาน (มากกว่า 85 dB ระยะเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน) อาการสูญเสียการได้ยินจะค่อยๆ เกิดขึ้นใช้ระยะเวลาประมาณ 5-10 ปี การสูญเสียการได้ยินจะเริ่มที่ความถี่สูงก่อน (3,000-8,000 เฮิร์ต) แล้วจึงค่อยสูญเสียความถี่ต่ำตั้งแต่ 2,000 เฮิร์ตลงไปการทดสอบด้วย Speech-recognition scores พบว่าการสูญเสียการจำแนกคำพูดเข้าได้กับการได้ยินที่เสียไป การสูญเสียการได้ยินต้องเกิดขึ้นภายหลังจากที่เสียงดังนั้นหมดไป ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ประสาทหูเสื่อม6 มีหลายองค์ประกอบ เช่น ระดับความดังของเสียงที่ได้รับ ชนิดของเสียงดัง ระยะเวลาที่ทำงานในที่เสียงดัง ความแตกต่างระหว่างบุคคลเช่น อายุ เพศ ความไวของหู (Susceptibility) และลักษณะของอาคารและสถานที่ ระดับความดังของเสียงที่ได้รับ องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเสียงที่เป็นอันตรายหมายถึงเสียงที่ดังเกิน 85 dB ที่ทุกความถี่ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดความดังของเสียงที่เกิดอันตรายไว้ที่ 90 dB ชนิดของเสียงดัง (Continuous noise) จะทำให้มีการเสื่อมของการได้ยินมากกว่า Interrupted noise แต่ Impact noise จะเกิดอันตรายได้มากกว่า Continuous noise พบว่าอาวุธที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กมีพลังงานเสียงมากที่สุดในช่วงความถี่ 1000-2000 เฮิร์ต อาวุธเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ (อาวุธหนัก) มีพลังงานเสียงมากที่สุดในช่วงความถี่ 100-200 เฮิร์ต ระยะเวลาที่ได้รับเสียง ถ้าระยะเวลารับเสียงมากขึ้นโอกาสเสื่อมการได้ยินก็เพิ่มขึ้น OSHA ได้กำหนดเสียงดังและระยะในการทำงาน โดยถ้ามีเสียงดัง 90 dB ระยะเวลาทำงานไม่ควรเกิน 8 ชั่วโมง และวัดความดังเสียงเพิ่มขึ้นทุก 5 dB ระยะเวลาการสัมผัสเสียงจะลดลงครึ่งหนึ่งเช่น สัมผัสเสียงดัง 95 dB จะสัมผัสเสียงไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมง พบว่าใน Occupational noise- induce hearing loss จะเกิดการเสื่อมของเสียงภายใน 5 ปี และภาวะเสื่อมจะมากในช่วง 8-10 ปีแรกหลังสัมผัสเสียงดัง แต่โอกาสที่จะทำให้หูหนวกน้อย (Profound deafness) ความแตกต่างระหว่างบุคคล คนสูงอายุจะมีโอกาสหูเสื่อมตามวัย (Presbycusis) ถ้าเกิดโรคประสาทหูเสื่อมตั้งแต่อายุน้อย โอกาสเกิดหูเสื่อมก่อนวัยมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงเป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียงน้อยกว่าเพศชาย ในผู้ป่วยที่มีโรคประสาทหูเสื่อมอยู่แล้วจะมีความเสื่อมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อได้รับฟังเสียงดัง แต่ผู้ป่วยที่มีโรคการนำเสียงทางอากาศอยู่ก่อน (Conduction hearing loss) จะมีความทนต่อเสียงดังได้มากกว่าผู้ที่มีการได้ยินปกติ เมื่อได้รับฟังเสียงดังระดับเดียวกัน ความไวของหู (Susceptibility) ถ้าความดังมากกว่า 147 dB จะมี Interaction ของเสียง Continuous and impulse noise เสียงที่มีความถี่ต่ำ (ประมาณ 500 Hz) ที่มีเสียงดังปานกลางจะทำอันตรายต่อ Outer hearing บริเวณฐานของก้นหอย และรุนแรงกว่าเสียงที่มีความถี่สูง ยาที่มีผลข้างเคียงต่อประสาทหู (Ototoxic drug) เช่น Aminoglycosides ยาเคมีบำบัดกลุ่ม platinum เช่น Cysplatin Salicylates (มักเป็นแบบชั่วคราวและมีเสียงดังในหู) ลักษณะอาคารสถานที่พบว่าในที่มิดชิดเสียงดังจะทำอันตรายต่อประสาทหูได้มากกว่าที่โล่งเพราะมีเสียงก้องเกิดขึ้น

 

อาการและอาการแสดงของ

Noise traumaขึ้นอยู่กับชนิดของการทำลายของเสียงเช่นถ้าเป็น Acoustic trauma6 คนไข้จะมีอาการหูอื้อ ปวดหู เลือดออกจากหูหรือวิงเวียนศีรษะได้ อาจมีเสียงดังในหู (Tinnitus) มักจะเป็นข้างเดียว เพราะนอกจากจะเกิดอันตรายหูชั้นในแล้วยังทำอันตรายหูชั้นนอกและชั้นกลางด้วย ส่วน Occupational noise-induce hearing loss จะมีอาการหูอื้อทั้ง 2 ข้าง อาการค่อยๆ ดำเนินไป คนไข้จะรู้สึกว่าการได้ยินแย่ลงเมื่อความถี่ของเสียงพูดเริ่มถูกทำลาย (500-2,000 เฮิร์ต) ประสาทหูเสื่อมมักจะเกิดในช่วงความถี่สูงคือ ช่วง 3,000-8,000 เฮิร์ต พบได้บ่อยที่ความถี่ 4,000 เฮิร์ต หรือเป็น notch ใน audiogram

การวินิจฉัยโรคประสาทหูเสื่อมจากเสียง

Acoustic trauma ประวัติจะสัมผัสเสียงดังมากและการได้ยินเสื่อมลงทันที อาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ปวดหู เยื่อแก้วหูทะลุ เวียนศีรษะ เสียงดังในหู ใน Noise-induce hearing loss จะต้องมีประวัติสัมผัสเสียงดังเป็นระยะเวลานานและมีความเสื่อมของเสียงที่ความถี่สูงโดย เฉพาะความถี่ 4000 เฮิร์ต การวินิจฉัย Noise-induce hearing loss จะต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นออกก่อน สาเหตุอื่นที่ทำให้เกิด Sensorineural hearing loss เช่น Presbycusis (โรคประสาทหูเสื่อมตามวัย) Otosclerosis, Viral infection เช่น Herpes, Rubella, Measles และ Mumps เป็นต้น Neuritis เช่น Labyrinthitis เป็นต้น Sudden sensorineural hearing, Hereditary hearing เช่น Paget’s disease, Rander Hoeve’s disease เป็นต้น Ototoxicity จากยา เช่น ยาในกลุ่ม Aminoglycosides, Diuretics, Chemotherapeutic agent, Aspirin ขนาดสูง และ Quinine เป็นต้น

การวินิจฉัย

Occupational noise-induce hearing loss ประกอบด้วยประวัติได้รับเสียงมากกว่า 90 dB นาน 8 ชั่วโมง/วัน การสูญเสียการได้ยินซึ่งจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป การสูญเสียการได้ยินจะเริ่มต้นที่ความ ถี่สูงช่วง 3,000-6,000 เฮิร์ต การแยกแยะเสียงพูดที่เสียไปจะเข้าได้กับการสูญเสียการได้ยิน มีการสูญเสียการได้ยินหูทั้ง 2 ข้าง และในระดับใกล้เคียงกัน

สามารถวินิจฉัยได้โดยประวัติใน

 

(Permanent sensorineural hearing loss)

ประเภทที่

ประเภทที่

ผู้แสดงความคิดเห็น ความผิดปกติของการได้ยิน วันที่ตอบ 2010-03-16 12:49:32 IP : 124.121.71.72


ความคิดเห็นที่ 23 (3162863)

แนวทางการป้องกัน

(Hearing conservation program)

แนวทางการป้องกันควรปฏิบัติดังนี้

1.

คณะทำงาน (Team approach) ที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Industrial hygienists) คอยดูแลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและควบคุมเครื่องจักรต่างๆ พยาบาลเฉพาะทาง (Occupational health nurse) เขตปลอดภัย (Safety personel perform) เช่น บริเวณไหนควรหลีกเลี่ยง บริเวณไหนที่ต้องใช้ Hearing protector เป็นต้น แพทย์อาชีวอนามัย (Occupational health physician) เพื่อให้การรักษาและวินิจฉัยโรคและผู้ช่วยอื่นๆ เช่น แพทย์ผู้ช่วย (Physician assistants) เจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพ Civilian health technician (Military Corpsman) ข้อกำหนดของเสียงที่เป็นอันตราย (Noise-hazard criteria) โดย American Conference of Govental Industrial Hygients (ACGIH) ประกอบด้วยการได้ยินเสียงดังตลอดเวลา (Continuous noise) โดยสัมผัสเสียงดังไม่ควรเกิน 90 dB ใน 8 ชั่วโมง และถ้าเสียงดังแบบเป็นช่วงๆ (Impulse noise) ไม่ควรเกิน 140 dB สำหรับเสียงดังความถี่สูง (Airbone high-frequency and ultrasonic noise) เช่น เสียงจาก Dental drills, Industrial cleaners, Aircaft compressorsเขตอันตราย (Posting) บริเวณไหนที่ได้รับเสียงดังหรือบริเวณใดควรใช้เครื่องป้องกันเสียงดัง

4.

การควบคุมเสียง (Noise Control) ได้แก่ การควบคุมเสียงของเครื่องจักรไม่ให้ดังเกินไป(Engineering Control) มีการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งงานที่มีเสียงดัง (Administration Control) การป้องกันส่วนบุคคล (Personel Protection Equipment; PPE) เช่น การใช้ที่ป้องกันเสียงแบบอุดช่องหู(Ear plugs) สามารถป้องกันเสียงได้ 10-20 dB ใช้กับความดังต้องไม่เกิน 95 dB หรือการใช้ที่ครบหูป้องกันเสียง (ear muffs) สามารถป้องกันเสียงได้ประมาณ 20-40 dB ใช้กับความดังต้องไม่เกิน 120 dB หรือออาจใช้หมวกป้องกันเสียง (Helmet) สามารถป้องกันเสียง intermitent sound ได้ดี

5.

ตรวจวัดการได้ยินเป็นระยะ (Audiometric monitoring) เช่น ตรวจวัดระดับการได้ยินเสียงขิงพนักงานทุกคนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

6.

ให้ความรู้เรื่องภัยของเสียงดัง (Health education) แก่เจ้าหน้าที่ทุกคนและทุกแผนก

7.

การประเมินผลมาตราการควบคุมอันตรายจากเสียงดัง (Hearing Conservation Program Evaluation) กระทำเป็นระยะๆ

 

การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของการได้ยินและการคิดค่าตอบแทนในประเทศไทย

(Wholeman impairment) แต่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนและวิธีการคำนวณค่าจ้างรายเดือน ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2537 มาตรา 182 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.. 2537 ให้มีระยะเวลาจ่ายค่าทดแทน ตามประเภทการสูญเสียอวัยวะดังต่อไปนี้ กรณีหูหนวกทั้ง 2 ข้างจ่ายค่าทดแทนห้าปีสิบเดือน กรณีหูหนวกข้างหนึ่งจ่ายค่าทดแทนสองปีแปดเดือน12เครื่องปั่นด้าย ให้เสียงดัง 84 - 95 dB(A)เครื่องทอผ้า ให้เสียงดัง 92 - 102 dB(A)เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้เสียงดัง 95 - 102 dB(A)เครื่องฉีดน้ำด้วยแรงอัดลม ให้เสียงดัง 97 - 105 dB(A)เครื่องเลื่อยวงเดือน ให้เสียงดัง 100 dB(A)โรงงานตีเหล็ก ให้เสียงดัง 98 - 110 dB(A)เครื่องเคาะสนิม ให้เสียงดัง 100 - 110 dB(A)เครื่องปั้มขึ้นรูปโลหะ ให้เสียงดัง 120 dB(A)โรงซ่อมหม้อน้ำรถจักร ให้เสียงดัง 120 - 130 dB(A)จากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข: รายงานการประชุมปฏิบัติการระดับชาติเรื่อง แนวทางการวางแผนแห่งชาติเพื่อป้องกันหูหนวก สหประชาพาณิชย์ 2527; หน้า 45-48

 

ตารางที่ 16.1

 

 

 

 

ตัวอย่างของความดังในหน่วยทหาร9-11ปืน M.16 ให้เสียงดัง 134 dB A

ปืน H.K.

ให้เสียงดัง 33 dB A

ปืนพกแบบ 86 (11มม.) ให้เสียงดัง

128 dB A

ปืนกล M. 60 ให้เสียงดัง

104 dB A

ปืนกลรถถัง

ให้เสียงดัง 102 dB A

ปืนใหญ่ 105 มม.

 

ให้เสียงดัง 140* dB A ปืนใหญ่ 155 มม. ให้เสียงดัง 140* dB A

ป.ต.อ. 40 มม.

ให้เสียงดัง 140* dB A

ป.ต.อ. 12.7 มม. ให้เสียงดัง

140* dB A

เครื่องยิงลูกระเบิด 40 มม.(M.79) ให้เสียงดัง

95 dB A

เครื่องยิงลูกระเบิด 60 มม.(ค.60) ให้เสียงดัง

95 dB A

เครื่องยิงลูกระเบิด 81 มม.(ค.81) ให้เสียงดัง

95 dB A

รถถังแบบ

. 48 A5 ให้เสียงดัง 120 dB A

รถถังแบบ M.41 ให้เสียงดัง

115 dB A

รถถังเบา 21 (สกอร์เปียน) ให้เสียงดัง

 

110 dB Aรถสายพานลำเลียง (M.113) ให้เสียงดัง 115 dB AA 95 dB A

เครื่องบิน

C - 130 ให้เสียงดัง 109 - 120 dB(A)เครื่องบิน C - 123 ให้เสียงดัง 105 - 120 dB(A)เครื่องบิน C – 27 ให้เสียงดัง 90 - 109 dB(A)เครื่องบิน C – 33 ให้เสียงดัง 90 - 104 dB(A)เครื่องบิน F - 5 ให้เสียงดัง 94 - 112 dB(A

 

ในประเทศไทยยังไม่มีการคิดการสูญเสียสมรรถภาพของร่างกาย

ตารางที่ 16.1 ตัวอย่างความดังของเสียงจากเครื่องมือกลภายในโรงงานอุตสาหกรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

*

2.

3.

ผู้แสดงความคิดเห็น แนวทางป้องกัน วันที่ตอบ 2010-03-16 12:56:46 IP : 124.121.71.72


ความคิดเห็นที่ 24 (3162887)

เสียงรบกวนในหู มีได้หลายลักษณะ บางรายอาจมีเสียง "กร๊อกแกร๊ก" คล้ายมีอะไรกลิ้งไปมาในหู , บางรายอาจมีเสียงดัง "หึ่งๆ" คล้ายลมออกหู , เสียง "วี๊ๆ" ซึ่งทำความรำคาญให้กับผู้ป่วย บางรายอาจวิตกกังวลจนนอนไม่หลับก็มี

อันที่จริงแล้วเสียงดังรบกวนในหู อาจเกิดจากสาเหตุเพียงเล็กน้อยเช่น ขี้หู , หรือไข้หวัด , สาเหตุอื่น ๆ อาจเกิดจากน้ำในหูชั้นกลาง , โรคของเนื้องอกของหู ไปจนถึงโรคของหูชั้นในที่มีการเสื่อมของประสาทหู

เนื่องจากเป็นเพียงอาการจึงจำเป็นที่จะต้องรับการตรวจหาสาเหตุ อาจจำเป็นต้องตรวจวัดระดับการได้ยิน เพื่อตรวจดูว่ามีการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วยหรือไม่ และเป็นชนิดใด สำหรับผู้ที่มีอาการ ก่อนจะไปรับการตรวจจากแพทย์ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในที่เสียงดัง เช่น สนามยิงปืน ที่จุดประทัด ซึ่งจะมีผลต่อการตรวจ ทำให้แปรผลได้ไม่ถูกต้อง เมื่อค้นพบสาเหตุแล้ว แพทย์ก็จะแก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ บางกรณีก็ทำให้เสียงรบกวนในหูลดหรือหายไปได้ ในกรณีที่เสียงรบกวนนั้นเกิดจากการเสื่อมของประสาทหู และไม่ใช่โรคร้ายแรง ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องยอมรับสภาพ , ทำจิตใจให้สงบ , หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เงียบสงัด ควรหาเพลงเบา ๆ ฟังเพื่อกลบเกลื่อน และไม่ให้ความสำคัญกับเสียงนั้นก็จะช่วยทุเลาอาการไปได้

ผู้แสดงความคิดเห็น เสียงรบกวนในหู วันที่ตอบ 2010-03-16 14:19:45 IP : 124.121.71.72


ความคิดเห็นที่ 25 (3163095)

น้ำในหูไม่เท่ากัน โรคอันตรายที่ควรรู้
คุณภาพชีวิต
รู้สึก วิงเวียน รู้สึกหมุน อ่อนแรง  อย่านิ่งนอนใจ ชี้เสี่ยงเป็นได้

                แย่แล้ว แย่แล้ว!! คุณมีอาการเหล่านี้หรือเปล่า ???  รู้สึกวิงเวียน โลกหมุนได้ทั้งใบทั้งๆ ที่หลับตา และเมื่อลืมตาขึ้นก็ยังไม่หยุดหมุน... หรือเริ่มรู้สึกว่าตัวเองกำลังเคลื่อนไหวทั้งที่จริงแล้วคุณกำลังยืน นั่ง หรือนอนอยู่กับที่โดยไม่ได้เคลื่อนไหวใดๆ เลย  และเริ่มรู้สึกว่าทุกอย่างที่กำลังทำมีการเคลื่อนไหวมากกว่าที่เราขยับจริงแล้วละก็ นั่นเป็นสัญญาณเตือนบ่งบอกให้คุฯรู้ว่า ระบบการทรงตัวของร่างกายในหูชั้นใน ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยรักษาการทรงตัวของร่างกาย รักษาการมองเห็นให้คงที่ ควบคุมการเคลื่อนไหวของคุณเริ่มมีปัญหาแล้ว และนี่บ่งบอกได้ว่าคุณกำลังเป็น “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” แล้ว

              “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” เป็นโรคที่แรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ของเหลวที่อยู่ภายในส่วนที่เป็นเยื่อหุ้มภายในจะคั่งมาก ทำให้การไหลเวียนไม่สะดวก แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหูชั้นในจะขัดขวางการทำงานของกระแสประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว ทำให้สูญเสียการได้ยินและความสมดุล จึงทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะขึ้น เมื่อแรงดันมากขึ้นผู้ป่วยจะรู้สึกตึงๆ ในหูข้างที่ผิดปกติ

            โรคแรงดันน้ำในช่องหูชั้นในผิดปกติ ส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ในกลุ่มที่ทราบสาเหตุจะเรียกว่า กลุ่มอาการมีเนีย ได้แก่ โรคซิฟิลิส หูน้ำหนวก เป็นต้น เพราะฉะนั้นโรคนี้จึงรักษาไม่หายขาด เพียงแต่สามารถรักษาอาการเวียนศีรษะให้หายเป็นปกติได้เท่านั้น อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นกับหูเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ ระยะแรกๆ มักเป็นข้างเดียว แต่เมื่อเป็นนานๆ เข้า โอกาสที่หูข้างที่สองจะเป็นร่วมด้วยก็มีมากขึ้น

            ส่วนอาการของโรคที่พบบ่อยๆของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันจะเริ่มต้นกันด้วยอาการเวียนศีรษะที่รู้สึกเหมือนกำลังหมุนไปพร้อมๆกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ลักษณะอาการคือจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด อาจจะเป็นอยู่นานกว่า 20 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง อาการดังกล่าวมักเป็นรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติหรือเป็นอัมพาต เมื่อหายเวียนศีรษะ ผู้ที่เป็นจะมีความรู้สึกเหมือนเป็นปกติ

ต่อมาเป็นอาการ หูอื้อ อาจจะเป็นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ถ้าเป็นระยะแรกๆ จะสูญเสียการได้ยินแค่ชั่วคราว หลังจากหายเวียนศีรษะแล้ว การได้ยินจะกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะบ่อยๆ หรือเป็นมานาน อาการหูอื้อมักจะเป็นถาวร บางครั้งอาจถึงขั้นหูหนวกไปเลยก็เป็นได้

อาการที่มีเสียงดังในหูและ อาการตึงๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดัน ผู้ป่วยจะมีเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติ และจะเกิดแรงดันของน้ำอาการของโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนี้อาจเป็นได้ตลอดเวลาหรือเป็นเฉพาะขณะที่เวียนศีรษะ

แล้วเมื่อเป็นแล้วควรทำอย่างไร.....
               ง่ายๆ เพียงมีการควบคุมอาหาร ลดอาหารที่มีรสชาติเค็ม โดยจำกัดเกลือ ขอแนะนำนะค่ะว่าให้เติมเกลือลงในอาหารวันละไม่เกิน 2 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชาเท่านั้น   ส่วนการรักษาโดยการใช้ยาเรามีหลายชนิดมาแนะนำเช่นกันค่ะไม่ว่าจะเป็น  ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน   ยาลดอาการเวียนศีรษะและคลื่นไส้อาเจียน ควรใช้ในขณะที่มีอาการเท่านั้น   ยากล่อมประสาทและยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายและนอนหลับได้เป็นปกติ และ   ยาขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยลดอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน
      
               หากยังไม่ดีขึ้นก็ควรที่จะไปรับการรักษาจาก แพทย์เพื่อที่จะรับการพิจารณาและทำการผ่าตัดต่อไป แต่สิ่งที่ดีที่สุดของการรักษาคุณควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่และทำร่างกายให้แข็งแรง สมบูรณ์ เพียงแค่นี้โรคต่างๆก็ไม่สามารถมาเคาะประตูหน้าบ้านของคุณได้แล้ว

ผู้แสดงความคิดเห็น น้ำในหูไม่เท่ากัน วันที่ตอบ 2010-03-17 10:41:24 IP : 125.25.26.35


ความคิดเห็นที่ 26 (3164582)

ถ้ากล่าวถึงทฤษฎีการแพทย์แผนไทย อาการมีเสียงรบกวนในหูเกิดจากความไม่สมดุลย์ของธาตุน้ำ ลม และไฟ เริ่มต้นที่ธาตุไฟก่อน จากการบอกเล่าพฤติกรรมการสระผมอาบน้ำ อารมณ์โกรธ นอนดึก ประกอบกับไขมันในเลือดสูงซึ่งอาจเกิดจากการผิดปกติของระบบไฟย่อยอาหาร หรืออาจเป็นเพราะอาหารที่รับประทานก็ตาม ทั้งพฤติกรรมและสภาพร่างกายที่เป็นอยู่เป็นต้นเหตุให้ลมในช่องท้องไปถึงช่องทางสุดที่หูสองข้างเดินไม่ปกติ มีผลทำให้น้ำในช่องหูไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดอาการหัวหมุนได้(ถ้าเป็นมาก) ภาษาแพทย์ปัจจุบันเรียกว่าโรคบ้านหมุน

เสียงที่เกิดขึ้นในหู สันนิษฐานว่าเป็นเสียงของลมไม่มีทางออก จึงเกิดแรงกระแทกของลมภายใน อาการที่คุณหมอวินิจฉัยไปแล้วทั้งสองท่านก็ไม่มีอะไรที่ขัดแย้ง เพียงแต่มองคุณละมุม ไขมันในเลือดทำให้โลหิตข้น การบีบคลายของเส้นเลือดย่อมยากลำบากขึ้น ประกอบกับอารมณ์โกรธยิ่งทำให้โลหิตเพิ่มกำลังของความข้น ในขณะที่เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย พฤติกรรมที่ชอบสระผมก่อนนอนและนอนเลยทำให้หัวเย็น เลือดซึ่งข้นอยู่แล้วไม่สามารถเดินขึ้นไปเลี้ยงในช่องหัวได้ เกิดการปะทะกันระหว่างความร้อนกับความเย็น จึงทำให้เส้นประสาทหรือหลอดเลือดในช่องหูได้รับผลกระทบกระเทือน ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆประสาทหูก็คงเสื่อมแน่นอน เวลานี้ก็อาจเสื่อมแล้ว แต่ควรจะลองแก้ปัญหาที่ต้นเหตุดูก่อน ดีกว่าปล่อยให้เสื่อมไปเรื่อยๆ

วิธีการแพทย์แผนไทยในการรักษาอาการนี้

1. ลดความร้อนภายในร่างกาย

2.ถ่ายไขมันออก

3. เพิ่มการทำงานของธาตุลมในช่องท้อง

4. นวดเส้นรากหู เน้นด้านที่เป็น

5. จะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคในระหว่างการรักษาอย่างเคร่งครัด

หวังว่าคงจะช่วยทำให้เข้าใจต้นเหตุ

คนไทยเป็นโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ แรกๆ ข่าวก็ว่าอดีตนายกทักษิณ บินบ่อยไปทำให้เกิด
ต่อมาอดีตนายกสุรยุทธ์ก็เป็น และข้าพเจ้าก็เคยเป็น
วิธีแก้คือ เลิกกินน้ำมันพืชทุกชนิด ให้กินอาหารนึ่ง ต้ม ปิ้ง ย่าง น้ำมันจากปลา โอเมก้า 3,6 ก็ไม่กิน ร่างกายจะมี lipid น้อยที่จะไปสังเคราะห์ร่วมกับโปรตีน ทำให้ lipoprotein หรือที่
เรียกว่า คอเลสเตอรอล ลดลง

รายการดีมากๆ ทางช่อง 9 อสมท.ที่เพิ่งจบไป ในตอนสุดท้ายมีการทดสอบว่า การกินไข่วันละ 4 ฟองติดต่อกันนาน 14 วันจะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้นหรือไม่ ผลการทดสอบพบว่า คอเลสเตอรอลลดลงต่ำมาก แพทย์ชาวออสเตรเลีย อธิบายว่า ร่างกายคนส่วนมากจะหยุดสังเคราะห์คอเลสเตอรอล เมื่อกินไข่เข้าไป ความเชือที่ว่ากินไข่จะทำให้คอเลสเตอรอลสูงนั้นไม่จริง ถ้าการกินไข่ไม่มากเกินไป และมีการกินอาหารหมวดอื่นๆ ด้วย ยกเว้นไขมัน

คอเลสเตอรอลในเลือดสามารถทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันได้ฉันใด มันก็สามารถทำให้เส้นเลือดฝอยในไตตีบตันได้ฉันนั้น เพราะขนาดของเส้นเลือดฝอยไตเล็กเท่าเส้นด้าย แต่เรา
ยังไม่มีอาการมากเพราะหน่วยไตมีเป็นล้านโรงงานกรองเลือด ชำรุดไปบ้างก็ไม่รู้สึก แต่ในกรณีของคนที่มีเสียงในหูเช่นพวกเรา หน่วยไตเสื่อมไปมากแล้ว

ทฤษฎีแพทย์จีนว่า "หูเป็นหน้าต่างของไต" ดังนั้นความผิดปกติในหูเกิดจากไต แต่แนะนำว่า
อย่ากินยาลดคอเลสเตอรอล เพราะมันจะพากันไปรวมที่ตับ ทำให้ตับอักเสบภายหลังได้
ควรงดน้ำมันทุกชนิดจะดีที่สุด เพราะนอกจากจะลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้แล้ว ยังจะลดภาระให้ไต ง่ายต่อการฟื้นฟูไต

กรรมวิธีการฟื้นฟูสภาพเนื้อเยื่อแก้วหุ และการลดการอักเสบ ด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมกลับมาบำบัดโรคกับหูอักเสบ และลดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองได้ดี ยังส่งผลให้โรคในหูหายขาดด้วย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เสียงซาในหู วันที่ตอบ 2010-03-23 13:42:58 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 27 (3164583)

ปัจจุบันมีปัญหาดังนี้ค่ะ
มีเสียงรบกวนในหู เหมือนเสียงจิ้งหรีด บางครั้งแรงบางครั้งค่อย
เป็นมา 1 เดือนครึ่ง ช่วงแรกที่เป็นทำให้นอนไม่หลับ เครียดมาก จนรู้สึกว่าเหมือนเส้นเลือดในสมองขอด หมอแผนปัจจุบันวินิฉัย
1. หมอทางด้าน หู - ประสาทหูเริ่มเสื่อม (ตรวจการได้ยินปกติ หูซ้าย 23 หูขวา 22)
2. หมออายุรกรรม - อาจเป็นไขมันอุตันเส้นเลือดทำให้เลือดเดินไม่สะดวก
ผลตรวจเลือด - ไขมันสูง 270
ความดัน - 150 (ตอนตรวจพบความดันสูง)
ปัจจุบันทานยา
1. baby aspirin 60 mg เช้า - เย็น เพื่อละลายลิ่มเลือด
2. ยาบำรุงปลายประสาท
3. ยาลดไขมัน
4. วิตามิน B 1, 6, 12 และ B3

ก่อนมีอาการ - นอนดึกประมาณ 2-3 อาทิตย์ ประมาณเที่ยงคืนถึงตีหนึ่งทุกวัน

- กิจวัตร จะอาบน้ำ-สระผมเวลา 5 ทุ่ม เกือบทุกวัน และนอนโดยไม่เป่าผมให้แห้ง (เป็นนิสัยที่ทำมาเป็นปีโดยไม่เคยคำนึงถึงผลเสียเลย)
- ตลอด 2-3 อาทิตย์ ที่นอนไม่หลับ จะมีเรื่องเครียด-โมโหตลอด

ตอนเป็นเหมือนกับช๊อตไปเลยค่ะ ตื่นขึ้นมาหูอื้อไปข้างหนึ่งและได้ยินเสียงหึ่งๆ ตลอดเวลา ประมาณ 2-3 วัน หลังจากหูหายอื้อ จากเสียงหึ่งกลายเป็นเสียงจิ้งหรีดแทน
ทรมานมาก อยากหาย ตอนนี้ไม่กล้าตอนตะแคงข้างค่ะ มีความรู้สึกว่าถ้าตะแคงหูจะอื้อ ดูเหมือนร่างกายไม่สมดุลย์เลย

เรียนถามว่า 1. ทางแพทย์แผนไทยมีทางรักษาหรือไม่ค่ะ????
2. สาเหตุมากจากร่างกายไม่สมดุลย์??
3. มีทางรักษาหรือไม่ หมอทางหูบอกไม่มีทางรักษา ปลายประสาท
ถ้าเสื่อมแล้วเสื่อมเลย

ขอความกรุณาคุณหมอตอบด้วยนะค่ะ ตอนนี้กำลังคิดจะไม่หาหมอที่ รพ.กรุงเทพฯ
อีกที่หนึ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น อาการเสียงซาอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-23 13:44:34 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 28 (3164588)

นายโรเจอร์ วิสเนอร์ ทรัวบาดัวร์ส นักวิจัยมหาวิทยาลัยเวสต์ฟาเลียน วิลเฮล์ม ร่วมกับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยมึนสเตอร์ ประเทศเยอรมนี ประสบความสำเร็จในการลดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยเป็นโรคทินิทัส จนเกิดภาวะหูตึงด้วยดนตรีดัดแปลงพิเศษ โดยอาศัยหลักการกรองคลื่นความถี่เฉพาะจากดนตรีที่ตรงกันกับความถี่ของเสียงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยออกไปแล้วให้ผู้ป่วยฟังเสียงดนตรีพิเศษนี้สัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง

หลังจากทดลองมาได้ 1 ปี ผู้ป่วยโรคทินิทัสที่ฟังดนตรีที่กรองความถี่เฉพาะที่ตรงกับเสียงที่เกิดในหูออกไปแล้วนั้นมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยอีกกลุ่มที่ให้ฟังดนตรีซึ่งถูกกรองความถี่เฉพาะที่ไม่ตรงกับเสียงที่เกิดในหู

สาเหตุที่ได้ผลดีเนื่องจากปมประสาทที่ทำหน้าที่รับรู้เสียงที่ผิดเพี้ยนไม่ได้รับการกระตุ้นจากความถี่เฉพาะซึ่งถูกกรองออก ขณะเดียวกันปมประสาทบริเวณใกล้เคียงซึ่งทำหน้าที่รับรู้ถูกต้องและไปกดการทำงานของอันที่ผิดเพี้ยนไว้ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าการยับยั้งแนวข้าง หรือแลเตอร์รอล อินฮิบิชั่น

ผู้แสดงความคิดเห็น แลเตอร์รอล อินฮิลบิชั่น วันที่ตอบ 2010-03-23 14:01:03 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 29 (3164604)

ดิฉันมีปัญหาจะเรียนถามคุณหมอดังนี้
๑. การกินยาแก้หวัดบ่อยๆ มีผลต่อประสาทหูไหมคะ อย่างไร
๒. เมื่อก่อนจะไม่ค่อยมีเสียงที่ หู แต่เดี๋ยวนี้มีเสียงในหู เป็นเพราะอะไร
๓. ดิฉันมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังไหมคะ เครื่องนี้มีราคา เท่าไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไรคะ ถ้าไม่ใช้จะเป็นอะไรไหมคะ จะทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วไหม แล้วถ้าใช้จะมีผลอย่างไร และมียาอะไรที่กินแล้วทำให้มีผลต่อประสาทหูบ้างคะ
๔. การตรวจหูจำเป็นต้องตรวจ ดูความเสื่อมของหูทุกปีไหมคะ และถ้า ผ่าตัดจะช่วยได้ไหม เมื่อปี ๒๕๓๗ คุณหมอเคยให้ยามา ๒-๓ ตัว กินแล้วก็ไม่มีผลอะไร คุณหมอเลยว่าไม่ต้องกินเพราะช่วยอะไรไม่ได้เนื่อง จากเป็นมานานมากแล้ว (เป็นมา ๒๐ กว่าปี แต่ไม่ได้ยินเสียงโทรศัพท์มาประมาณ ๕-๖ ปี) ๕. ดิฉันทำงานใกล้เครื่องบดยาง มีส่วนทำให้หูเสื่อมไหมคะ และจะมีวิธีป้องกันอย่างไร เพราะทุกวันนี้ก็ยังคุยกันรู้เรื่องถ้าพูดเสียงดัง
๖. ถ้าจะเปลี่ยนโรงพยาบาลรักษา จะต้องเอาประวัติเก่าไปให้โรงพยาบาล ที่จะไปตรวจใหม่ด้วยหรือไม่ ขอความกรุณาคุณหมอช่วยตอบให้ด้วยนะคะ

ตอบ ๑. การกินยาแก้หวัด ชนิดที่คณบอกมา ไม่มีผลต่อประสาทหู
๒. การมีเสียงดังในหูเป็นอาการ อย่างหนึ่งของการที่มีประสาทหูเสื่อม เชื่อว่าเกิดจากมีการรบกวนการทำงาน ของประสาทรับเสียง เช่น ขาดเลือดไปเลี้ยง หรือได้ยินเสียงดังมากๆ หรือได้รับยาที่เป็นพิษต่อประสาทหู เป็นต้น
๓. เครื่องช่วยฟังมีหลายแบบและหลายราคา ปัจจุบันรัฐบาลมีเครื่องช่วยฟังจ่ายให้ผู้ที่มีความจำเป็น ต้องใช้โดยไม่ต้องซื้อ แต่ต้องไปรับ การตรวจรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านหู คอ จมูก ซึ่งมีอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ทุกแห่ง
เครื่องช่วยฟัง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ได้ยินชัดเจนขึ้น ไม่มีข้อเสียอย่างใด และถ้าไม่ใช้ก็ไม่ได้ทำให้ประสาทเสื่อมเร็วขึ้น แต่ถ้าใช้อย่างถูกต้องจะทำให้ได้ยินดีขึ้น ยกเว้นบางรายที่ประสาทหูเสื่อมอย่างมาก อาจใช้ไม่ได้ผล จึงต้องไปรับการตรวจการได้ยินอย่างละเอียด และให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นผู้แนะนำและทดลองใช้ก่อนว่าเครื่องช่วย ฟังชนิดใดจะเหมาะสมที่สุด
๔. ในกรณีที่มีอาการประสาทหูเสื่อม ควรต้องตรวจหาสาเหตุก่อน ถ้าพบสาเหตุที่รักษาได้ เช่น เนื้องอกของประสาทหู ก็รักษาที่สาเหตุ ถ้าไม่พบสาเหตุต้องมาตรวจเป็นระยะตามที่แพทย์เห็นสมควร อาจตรวจบ่อยกว่าปีละครั้งก็ได้ โดยทั่วไปประสาทหูเสื่อมไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด และยาที่ให้มักไม่ทำให้ได้ยินดีขึ้น แต่อาจช่วยป้องกันไม่ให้เสื่อมลงเร็วได้
๕. การทำงานใกล้เครื่องบดยาง ถ้าเครื่องจักรมีเสียงดังมากและคุณทำงานอยู่ใกล้เครื่องจักรวันละหลาย ชั่วโมงต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มีผลทำให้ประสาทหูเสื่อมได้แน่นอน วิธีป้องกันคือใส่เครื่องครอบหูป้องกัน ไม่ให้เสียงดังเข้าไปในหูขณะทำงาน และในกรณีที่พบมีประสาทหูเสื่อมแล้ว ควรหางานใหม่ที่ไม่มีเสียงดังทำ
๖. ถ้าจะเปลี่ยนไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ควรขอประวัติเก่าไปด้วย เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการซักประวัติ และตรวจบางอย่างซ้ำอีก และทำให้การรักษาต่อเนื่องกันได้ คุณควรไปพบแพทย์หู คอ จมูก ที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านและรับการตรวจรักษาอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น หูอื้อ วันที่ตอบ 2010-03-23 14:39:52 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 30 (3164607)

นักวิจัยมหิดลเตรียมเดินเครื่องปลูกถ่ายเซลล์ประสาทหูด้วย สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน
ชี้เป็นครั้งแรกของประเทศไทยแจงต่างประเทศเริ่มทำบ้างแล้ว
คาดแก้ปัญหาผู้ป่วยประสาทหูพิการให้กลับมาได้ยินอีกครั้ง
      
        ผศ.ดร.เจริญศรี ธนบุญสมบัติ จากภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผย ในงานการขยายตัวด้านเทคโนโลยีชีวภาพแห่งอาเซียน ครั้งที่ 2
(The 2 nd Asian Reproductive Biotechnology Conference) ในหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อชีวิตอนาคต” (Innovation for future life) วันนี้ (3 พ.ย.) ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ ว่า ขณะนี้ เธอกำลังเตรียมทำการวิจัยเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ประสาทหูด้วยสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน
โดยเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลกับประเทศต่างๆ อาทิ ประเทศสวีเดน
      
        ทั้งนี้ ผศ.ดร.เจริญศรี กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าวเป็นการศึกษาการปลูกถ่ายเซลล์ประสาทหูด้วยสเต็มเซลล์จากตัว อ่อนครั้งแรกของประเทศไทย เนื่องจากที่ผ่านมายังไม่มีการวิจัยเรื่องนี้ภายในประเทศ ขณะที่หลายประเทศได้เริ่มทำวิจัยไปบ้างแล้ว เช่น มีการนำเซลล์ตัวอ่อนจากลิง ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด มาปลูกถ่ายเซลล์ในระบบการได้ยินของหนู เพื่อทดลองว่าเมื่อเสียงผ่านเข้าไปในหูหนู และเปลี่ยนรูปเป็นคลื่นไฟฟ้าแล้ว จะสามารถส่งเข้าไปถึงเซลล์สมองของหนูได้หรือไม่ ซึ่งในการศึกษาดังกล่าว เธอได้ร่วมทำการวิจัยด้วย
      
        ด้านขั้นตอนการทดลอง เธอระบุว่า แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1.การทดลองในจานแก้ว ด้วยการใส่ยีนส์ของลิงเข้าไปกระตุ้นให้เกิดเป็นเซลล์ชนิดที่ต้องการนำไปใช้ โดยในการทดลองครั้งนี้จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดเซลล์ขน (Hair Cells) ซึ่งเป็นเหมือนตัวรับเสียงจากภายนอกที่ผ่านเข้ามาภายในหู ให้เกิดขึ้นใหม่แทนเซลล์ขนเก่าที่ทรุดโทรมหรือตายแล้ว
      
        “ขั้นตอนการทดลองในจานแก้วนี้ จะช่วยทำให้นักวิจัยเห็นถึงปฏิกิริยาและกระบวนการผลิตเซลล์ว่าเซลล์ที่ได้มา นั้นมีความสมบูรณ์ และไม่เป็นเซลล์ที่ตายแล้วหรือเป็นเซลล์ที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อนที่จะนำไปปลูกถ่ายเซลล์ลงในสัตว์ทดลองในขั้นตอนที่ 2 ต่อไป ซึ่งการทดลองในจานแก้วยังสามารถช่วยลดจำนวนการใช้สัตว์ทดลองให้น้อยลงด้วย” ผศ.ดร.เจริญศรี กล่าว
      
        เมื่อกล่าวถึงการทดลองขั้นที่ 2 เธอแจกแจงว่า เป็นการทดลองกับสัตว์ทดลองเพื่อศึกษาปฏิกิริยาในร่างกายของสัตว์ทดลอง และดูความปลอดภัยจากการทดลอง โดยจะทดลองในหนูก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงจะเปลี่ยนเป็นสัตว์ทดลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อีกทั้งมีสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นตามลำดับ ส่วนการทดลองขั้นสุดท้าย เธอกล่าวว่า คือการทดลองในมนุษย์ ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองในสัตว์เท่านั้น
      
        “ประโยชน์ที่ได้จากการทดลองนี้ จะนำไปใช้เพื่อการรักษาผู้ที่มีปัญหาในเรื่องสูญเสียการได้ยิน เช่น ผู้ที่ประสาทหูถูกทำลาย อันเนื่องมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มีผลต่อการได้ยิน เช่น ยานีโอมัยซิน ผู้ที่มีประสาทหูพิการแต่กำเนิด เนื่องจากการกลายพันธุ์ของยีนส์ หรือวัยรุ่นที่ใช้โทรศัพท์มือถือบ่อยและนาน รวมถึงกลุ่มคนที่อยู่ในสถานที่บันเทิงที่มีเสียงดังบ่อยๆ ก็มีโอกาสประสบปัญหาในเรื่องการได้ยินได้เช่นกัน ดังนั้นงานวิจัยเรื่องการปลูกถ่ายเซลล์ประสาทหู เพื่อสร้างเซลล์ประสาทหูขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการรักษาผู้ที่ประสบปัญหา ทางประสาทหูในอนาคต” ผศ.ดร.เจริญศรี กล่าวทิ้งท้าย


ขอขอบคุณข่าวสารจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ผู้แสดงความคิดเห็น ปลูกถ่ายเซลล์ประสาทหู วันที่ตอบ 2010-03-23 14:54:20 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 31 (3164610)

ผม ก็ เป็น อีก คน คับ เป็น มา แล้ว 16 ปี สาเหตุ มา จาก ไป สอบ ยิง ปืน สงคราม ตอน เป็น ร.ด. ไม่ เข้าใจ ว่า ทำไม ครู ฝึก ถึง ไม่ เห็น ความ สำคัญ ของ หู ก็ ไม่รู้ น่า จะ ให้ นักเรียน เตรียม อะไร มา อุด หู ไอ้ เรา ก็ ไม่รู้ ว่า มัน จะ มี ผล ขนาด นี้ หรือ ว่า เป็น เวร เป็น กรรม ตอน ที่ ยิง นัด แรก มัน จะ ปวด กระแทก เข้าไป ใน หู แล้ว เริ่ม ปวด มาก ใน นัด ต่อ ไป พอ เสร็จ สิ้น หู อื้อ หลุด โลก เลย รอ ว่า มัน จะ หาย เอง ผ่าน มา เป็น วัน ๆ ก็ ไม่ หาย แย่ แล้ว เรา เลย ไป หา หมอ ๆ เลย ตรวจ ดู ด้วย ตา ก่อน ปราก ฎ ว่า เส้นเลือด ฝอย ใน หู แตก ต่อ มา ตรวจ ด้วย เครื่อง ส่ง ความถี่ เสียง เพื่อ ตรวจ การ ได้ยิน ปราก ฎ ว่า ยอด เสียง แหลม เรา จะ ไม่ ได้ยิน อีก ต่อ ไป หมอ ให้ ยา มา กิน ก็ดี ขึ้น หน่อย แต่ ก็ เพียง เท่านั้น แล้ว เสียง ใส ๆ ของ เหรียญ ที่ ตก พื้น เรา ไม่ ได้ยิน แล้ว มัน มี แต่ เสียง แก ร็ ก ๆ ไม่ใช่ กิ้ ง ๆ แล้ว แล้ว ก็ มีเสียง เหมือน คลื่น ความถี่ สูง วี้ ๆ ดัง ใน หัว หรือ ใน สมอง ตลอด เวลา ยิ่ง เวลา เงียบ ๆ จะ ดัง มาก ตอน นี้ ทำใจ ได้ แล้ว แต่ ก็ มี บาง ครั้ง ที่ รำคาญ มาก ไม่ อยาก ให้ มัน ดัง ไป กว่า นี้ เลย ยิ่ง ตอน เป็น หวัด จะ ดัง มากกว่า เดิม อีก
เพื่อน ๆ ที่ เข้า มา อ่าน ถ้า อยู่ ใกล้ เสียง ดัง ก็ อย่า ลืม หา อะไร มา อุด หู นะ คับ อดีต มัน ย้อน ไม่ ได้ นะ คับ

โรค นี้ เป็น โรค ใหม่ ที่ เพิ่ง มี การ ตั้ง ชื่อ ขึ้น ความ จริง มี คน ป่วย ด้วย โรค นี้ มา นาน และ มี จำนวน ไม่ น้อย เลย ทีเดียว ชื่อ โรค มา ดัง เปรี้ยง ป ร้าง ก็ เพราะ คน ที่ ป่วย คือ พ.ต.ท. ดร . ทักษิณ ชิน วัตร นายกรัฐมนตรี ผู้ โด่งดัง นั่นเอง

อาการ ของ โรค ที่ แพทย์ ประจำ ตัว คนไข้ อธิบาย คือ การ ที่ ท่าน นายก รับ ฟัง เสียง เรียก ร้อง ของ ประชาชน ไม่ ชัดเจน ประสาท หู ที่ เคย แปลง สัญญา น เสียง เป็น คลื่น ไฟฟ้า เข้า สู่ สมอง ทำ หน้าที่ บกพร่อง สาเหตุ จาก ความ เหนื่อย ล้า จาก การ ทำงาน หนัก

เมื่อ มีเสียง เรียก ร้อง จาก ประชาชน มาก ขึ้น เสียง ดัง ถี่ ขึ้น เป็น วัต ภาค กับ ปัญหา พื้นฐาน ของ ประชาชน เสียง เรียก ร้อง นั้น มัน เข้า สู่ หู ท่าน นายก ทาง หู ซ้าย ครับ เมื่อ ผ่าน หู ชั้น นอก แล้ว มัน จะ เคลื่อน เข้า สู่ หู ชั้น กลาง และ ทะลุ เครื่อง กั้น หู เข้า สู่ หู ขวา ก่อน ที่ มัน จะ ทะลุ สู่ ภายนอก อีก ครั้ง (ฮา)

โรค นี้ เป็น โรค ที่ ผู้ ทำการ ใน อากาศ และ ผู้โดยสาร อากาศยาน เขา เคย ประสบ มา แล้ว เกือบ ทุก คน ขณะ ที่ เครื่องบิน บิน สูง ขึ้น อากาศ จะ ลด ความ หนาแน่น ลง ตาม ลำดับ อากาศ ที่ เบาบาง จะ สัมผัส กับ ร่างกาย ภายนอก ของ เรา ส่วน ที่ ไว ต่อ ความ รู้สึก นี้ คือ หู ครับ

ด้วย ออ แกน นิ ค ของ หู ประกอบด้วย หู ชั้น นอก หู ชั้น กลาง และ หู ชั้น ใน ระหว่าง หู ชั้น นอก กับ ชั้น กลาง กั้น ด้วย แก้วหู ภายใน หู ชั้น กลาง มี ท่อ เล็ก ๆ เชื่อม กับ ลำ คอ มี หน้าที่ ปรับ ความ ดัน อากาศ ระหว่าง หู ชั้น นอก กับ หู ชั้น กลาง ให้ เท่า กัน

เมื่อ อากาศ ภายนอก ลด ลง อากาศ ใน หู ชั้น กลาง จะ ไหล ออก ทาง ท่อ นี้ อย่าง สะดวก ร่างกาย เรา ปรับ ได้ ง่าย แต่ เมื่อ ขา ลง สู่ พื้น อากาศ ภายนอก มี ความ ดัน เพิ่ม ขึ้น อากาศ ใน หู ชั้น กลาง จะ เพิ่ม ยาก มาก เพราะ ท่อ ดัง กล่าว จะ ต่อต้าน จึง มี ผล ให้ ความ ดัน อากาศ ภายนอก ดัน แก้วหู เข้า ด้าน ใน จน ปวด หู อาการ จะ มาก น้อย ขึ้น อยู่ กับ สภาพ ของ ร่างกาย (ถ้า เป็น หวัด จะ แย่ มาก) และ ความเร็ว ใน การ ลด ระดับ

ทาง แก้ มี อยู่ สอง อย่าง คือ การ หาวนอน เมื่อ เรา หา ว ขา กรรไกร จะ ขยับ ตัว ทำให้ รู ท่อ ทาง ที่ เชื่อม ต่อ กับ หู ชั้น กลาง เปิด ชั่วคราว อากาศ ก็ จะ ไหล เข้า สู่ หู ชั้น กลาง จน มี ความ ดัน เท่ากับ ภายนอก วิธี ที่ สอง เรียก ว่า การ ทำ วั ล ซา ว่า (ขออภัย เขียน ภาษา ต่าง ประเทศ ไม่ ถูก) เริ่ม ด้วย การ บีบ จมูก ให้ แน่น แล้ว ทำท่า สั่ง น้ำมูก ครั้ง แรก ถ้า ไม่ สำเร็จ ให้ ทำ ใหม่ โดย เพิ่ม ความ แรง ขึ้น เรื่อย ๆ จน สามารถ ปรับ ความ ดัน บรรยากาศ ได้

เหตุการณ์ เช่น นี้ เกิด ขึ้น กับ ผม ครั้ง หนึ่ง สมัย เป็ ย ศิษย์ การ บิน ชั้น มัธยม ผม ผ่าน การ คัดเลือก ไป ฝึก บิน กับ เครื่องบิน ไอพ่น รุ่น T-37 "Twinny" ซึ่ง บิน สูง กว่า และ เร็ว กว่า CT-4A "Chicken" ที่ ผ่าน การ ฝึก แล้ว ใน ระดับ ชั้น ประถม เครื่องบิน ของ ทหาร สามารถ ลด ระดับ ได้ เร็ว กว่า เครื่องบิน โดยสาร มาก เพราะ มี แผ่น ทำลาย แรง พยุง ตัว ใน อากาศ เรียก ว่า "Speedbrake" (ไม่มี คำ เรียก ชื่อ ภาษา ไทย) เครื่องบิน แต่ละ แบบ จะ ออกแบบ Speedbrake ไม่ เหมือน กัน

อาการ ที่ เกิด เป็น อย่าง ที่ เล่า แล้ว แต่ มัน เกิด กับ ผม รุนแรง มาก จน เกือบ บิน ไม่ ได้ ดี แต่ว่า หมอ รักษา ได้ ทันท่วงที ผม จึง สำเร็จ การ ฝึก ได้ เป็น นักบิน มา จน ปัจจุบัน

มา บัดนี้ อาการ ดัง กล่าว มา เกิด ซ้ำ ขึ้น อีก ประมาณ สอง เดือน ที่ แล้ว ที่ ผม เริ่ม เขียน บทความ โพ ส ต์ ลง ใน โฮมเพจ นี้ อย่าง จริง ๆ จัง ๆ เขียน ดี บ้าง เห่ ย แตก บ้าง บาง ครั้ง ก็ เขียน กระเซ้า เย้า แหย่ เพื่อนฝูง แบบ แรง ไป บ้าง เพื่อน ๆ หลาย ท่าน ก็ ท้วงติง มา แต่ หู เจ้ากรรม มัน ไม่ ได้ยิน เสียง ด่า เลย สัก คำ เดียว มัน รับ ฟัง ได้ แต่ เสียง ชม เท่านั้น

ปรึกษา หมอดู แล้ว ลง ความ เห็น ว่า เป็น โรคประสาท หู อักเสบ สงสัย ว่า จะ เป็น บุญ ของ ผม ที่ ป่วย เป็น โรค เดียว กับ ท่าน นายก ใน เวลา ไล่เลี่ย กัน เลย นะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ร.ด. วันที่ตอบ 2010-03-23 15:08:08 IP : 125.25.234.85


ความคิดเห็นที่ 32 (3201231)

ดิฉัน หูดับมา2 เดือน แล้ว ไม่มีท่าที ว่าจะดีขึ้น เลย

ผู้แสดงความคิดเห็น .... วันที่ตอบ 2010-08-06 21:10:46 IP : 113.53.247.194


ความคิดเห็นที่ 33 (3273412)

มีโรงพยาบาลไหนแนะนำให้ไปตรวจหรือป่าวครับ...

ผู้แสดงความคิดเห็น No comment วันที่ตอบ 2010-11-16 17:46:22 IP : 58.137.196.40


ความคิดเห็นที่ 34 (3315348)

 ดิฉันเป็นโรคทางกรรมพันธู์  คุณพ่อเป็นโรคนี้   ดิฉันเป็นตอนอายุ53ปี  ข้างช้าย  85  ข้างขวา 40  ระดัยค่อนข้างรุนแรง  ได้ไปโรงพยาบาล

หมอให้ใส่เครื่องช่วยฟัง  ซึ่งใส่ก็ยังไม่ได้ยินลูกน้องพูดคุยหรือสั่งงานยากมาำก   ซึ่งเมื่อประมาณ2ปีได่ดิฉันทำงานอย่างมีความสุขตามความสามารถท่ีทำอยู่      บั่นทอนความมั่นใจไปถึง50 เปอร์เซนต์    ดิฉันใช้เครื่องฟังประมาณ  เกือบ  8เดือนแต่รู้สึกมีปํญหา   เครื่องก็ราคาแพงแต่ใข้ไม่ได้อยากท่ีหวัง     ใตรบ้างที่มีปัญหาเช่นเดียวกับดิฉัน      แล้วเจอเครื่องฟังที่ใช้ช่วยบอกยี่ห้อหรือหมอให้ได้ไหม  ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สาวเกียรติ (somjaikiat001-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2011-10-18 22:02:26 IP : 182.53.3.108


ความคิดเห็นที่ 35 (3333632)

คือ ว่าเคยหูอื้อมาก่อนเหมือนกันค่ะ
อาการ คือ หูอื้อ และก็เหมือนมีลมเป่าออกมาจากหู อีทั้งยังได้ยินเสียงเหมือนจิ้งหรีดเรไรร้องในตอนกลางคืน ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดอาการเราแคะหูทุกวันเลย
หลังจากที่หมอตรวจหมออธิบายว่า เวลาที่เราแคะหูจะทำให้เกิดแผลขึ้นหลังจากนั้นจะมีการสร้างน้ำเหลืองซึ่งเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ขึ้นมาเคลือบเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งการที่เราหูอื้อเกิดจากน้ำเหลืองมันไปเคลือบต้องจุดที่จะเป็นปัญหาพอดี และหลังจากที่หมอเขี่ยเอาแผ่นน้ำเหลืองออกเราก็รู้สึกดีขึ้น

ผู้แสดงความคิดเห็น pearly วันที่ตอบ 2012-05-14 14:19:51 IP : 58.137.157.151


ความคิดเห็นที่ 36 (3345775)

ไม่อยากมีชไมป่วยเป็นประสาทหูด้บ 2 ข้าง ได้ยินน้อยมากเกือบไม่ได้ยิน หมดกําลังใจมากไม่อยากมีชีวิตอยู่ในโลกเลย เบื่อหน่ายชีวิตมาก

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ป่วยที่ท้อแท้และสิ้นหวัง วันที่ตอบ 2012-09-24 11:18:34 IP : 110.164.68.133


ความคิดเห็นที่ 37 (3345777)

 

,มีใครป่วยเป็ยโรคประสาทหูดับ แล้วพบความโชคดี กลับมาได้ยินดังปกติ เขียนข้อความมาให้กําลังใจกันบ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้รอคอยกําลังใจ วันที่ตอบ 2012-09-24 11:29:39 IP : 110.164.68.133


ความคิดเห็นที่ 38 (3407195)

 แนะนำยาสมุนไพรแท้100%ครับ

รับให้คำปรึกษา ติดต่อด้านล่างเลยครับ
http://www.doctorforyou.biz/?page_id=3594
ผู้แสดงความคิดเห็น yaforyou (yaforyou2015-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2015-09-24 13:37:01 IP : 49.49.33.144


ความคิดเห็นที่ 39 (3414483)

แบ่งปันค่ะ ประโยค "OH MY GOD" กลายเป็นชื่ออาหารเสริม OMG เพราะสาวๆชอบอุทานออกมา >..<

ผู้แสดงความคิดเห็น คันหู วันที่ตอบ 2016-07-25 17:12:49 IP : 49.48.173.247


ความคิดเห็นที่ 40 (4159657)

 หูเสื่อมแบบ_หูตึงและได้ยินแต่แปลความหมายไม่ได้_หมอบอกเสื่อมตามวัย_รักษาไม่หาย_ให้ออกกำลัง

กินยามามาก_รักษาหลายโรงพยาบาล_ฝังเข็ม....ไม่ดีขึ้นมีแต่เสื่อมลง_ดูทีวีไม่รู้เรื่อง(ใช้วิธีอ่านถ้ามีบรรยาย)

พูดทางโทรศัพย์ไม่รู้เรื่อง_ใช้หูฟังคู่ละ 52,000บาท_ช่วยได้บ้างระยะใกล้

            ในชีวิตประจำวันในครอบครัวพอสื่อสารกันได้_บางครั้งเขาต้องเขียนช่วยบ้าง_ไม่เครียดเพราะยังไม่เป็นศูนย์_ยังซื้อของกินได้_อายุ 78 ปี

            อยากทราบว่า ยาที่โฆษณาอยู่ในเนทชื่อ...Aural +เชื่อถือได้เพียงใด_มีอย.หรือไม่ ถ้าดีจริงทำไมไม่ขายอย่างเปิดเผย ได้เงินและได้กุศลด้วย_เปิดดูทีไรจะพบตัวเลข..เวลาลดลงเป็นวินาฑีเร่งเร้าให้ซื้อจะได้ลด 50%

...นายแพทย์ นฤดล เฮงเจริญที่ร่วมสนับสนุนยานี้ มีตัวตนจริงหรือไม่_อยู่สถาบันใด_ค้นดูในกูเกิลไม่มีตัวตน

ในความรู้สึกคล้ายต้มตุ๋น_ขอให้ออกมาตอบโต้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น โชคดี ปีมะโรง วันที่ตอบ 2019-02-17 23:05:17 IP : 58.9.169.23


ความคิดเห็นที่ 41 (4164990)

 ความเห็นของท่าน โชคดีปีมะโรง ผมก้อรอตำตอบเหมือน กัน ทำไมไม่มีใครตอบเลยครับ จริงหรือเท็จคุณหมอคนนั้นมีตัวตนหรือป่าว ยาตัวนั้นช่วยได้จริงหรือป่าว รอ รอ รอ ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ข้าวหอม วันที่ตอบ 2019-03-26 04:04:52 IP : 124.122.86.163



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.