ReadyPlanet.com


กระเจี๊ยบเขียว พืชสมุนไพรอีกอย่างหนี่ง


             กระเจี๊ยบเขียว พืชสมุนไพรอีกอย่างหนี่ง ที่คนไทยนิยมนำมารับประทาน ไม่ว่าจะในซุป สลัด หรือ ทานคู่กับน้ำพริก ซึ่งด้วยรสชาติที่กรอบ อร่อย จากส่วนของฝักกระเจี๊ยบเขียว ประกอบกับมีสารอาหารและสรรพคุณรักษาโรคได้มากมาย จึงทำให้ไม่เพียงอยู่ในเมนูอาหารของคนไทยเท่านั้น แต่ยังมีในอินเดีย และญี่ปุ่นอีกด้วยกระเจี๊ยบเขียว จัดเป็นพืชล้มลุก เติบโตได้ดีในอากาศร้อนชื้น มีความสูงประมาณ 0.5-2.4 เมตร ลำต้นและกิ่งก้านมีสีเขียว แต่บางครั้งก็มีจุดประม่วง มีขนอ่อนหยาบ ๆ ขึ้นปกคลุม ส่วนใบ จะเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-7 ใบ ปลายใบหยักแหลม ดอกจะมีสีเหลืองอ่อน ที่โคนกลีบดอกด้านในจะมีสีม่วงออกแดงเข้ม ส่วนผลจะมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว ปลายแหลม คล้ายนิ้วมือ ตามฝักจะมีขนอ่อน ๆ อยู่ทั่วฝัก ถ้าฝักอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ด้วยความที่ฝักอ่อนมีรสชาติหวานกรอบอร่อย จึงนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร ส่วนฝักแก่จะมีเนื้อเหนียว ไม่นิยมนำมารับประทาน

สำหรับต้นกำเนิดของ กระเจี๊ยบเขียว สันนิษฐานว่า มาจากประเทศซูดาน ทวีปแอฟริกา ก่อนที่จะถูกแพร่พันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศอินเดียเรียกกระเจี๊ยบว่า ภิณฑี ส่วนประเทศในตะวันออกกลาง เรียกว่า บามียะฮ์ ในประเทศไทย ก็มีเรียกอยู่หลายชื่อ โดยคนภาคกลาง นิยมเรียกว่า กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย ถ้าในภาคเหนือ จะเรียก มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น ส่วนภาคอีสาน จะเรียกว่า ถั่วเละ โดยพื้นที่ที่มีการปลูกกระเจี๊ยบเขียวกันมากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

ให้สารอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายเมื่อทานทั้งส่วนของฝักและเมล็ดพร้อมกัน จะดีต่อสุขภาพและได้รับพลังงานสูง เพราะเมื่อตรวจวัดจากฝักและเมล็ดแห้ง อย่างละ 100 กรัมนั้น พบว่า ให้พลังงานสูงถึง 33 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน เส้นใย  โดยเฉพาะโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามิน เอ ที่สูงเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยบำรุงสายตา ประสาทและสมอง ให้ทำงานได้ดี  รวมถึงยังมี แคลเซียม ที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารลำไส้กิน กระเจี๊ยบเขียว แล้วดีต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ เพราะใน “ผล” หรือ “ฝักกระเจี๊ยบเขียว” มีสารที่เป็นเมือกจำพวกเพกทิน (Pectin) และกัม (Gum) ช่วยเคลือบแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ และยังช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ไม่ให้เกิดการลุกลามได้เป็นอย่างดี สล็อต 888

 ช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ในฝักและเมล็ดกระเจี๊ยบเขียวมีเส้นใยรวมกันสูงถึง 22% ซึ่งด้วยคุณสมบัติของ เส้นใย ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ รักษาระดับการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้ใหญ่ ยับยั้งการดูดซึมคอเลสเตอรอลและลดระดับไขมันในเลือดได้ กระเจี๊ยบเขียวจึงเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีงานวิจัยหนึ่งทดลองใช้สารสกัดจากเมล็ดและผิวของกระเจี๊ยบเขียว ฉีดเข้าช่องท้องของหนูทดลอง ที่เป็นโรคเบาหวานในปริมาณ 60 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พบว่าสารสกัดดังกล่าวอาจมีฤทธิ์ต้านเบาหวาน ด้วยการลดระดับน้ำตาลกลูโคส ในเลือดของหนูทดลองลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแม้ผลการทดลอง เป็นเพียงการทดลองในสัตว์เท่านั้น ยังไม่มีการทดลอองในมนุษย์ แต่ก็ถือว่ามีโอกาสที่จะช่วยรักษาโรคเบาหวานนี้ได้อยู่เหมือนกัน

 ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย ป้องกันท้องผูกประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของ เส้นใย ที่อยู่ในฝักกระเจี๊ยบเขียว ก็คือ ช่วยในการทำงานของลำไส้ ให้ดูดซึมสารอาหารได้ง่าย ส่งผลให้ระบบขับถ่ายดี ถ่ายอุจจาระได้คล่อง จึงช่วยป้องกันอาการท้องผูก นอกจากนี้ ยังช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยเส้นใยของกระเจี๊ยบ จะไปจับกับน้ำดีจากตับ ซึ่งมักจับกับสารพิษที่ร่างกายต้องการขับถ่ายอยู่ในลำไส้ เมื่อขับถ่ายออกมาทางอุจจาระ จะทำให้ไม่เหลือสารพิษตกค้างอยู่ในร่างกาย บำรุงรักษาทางเดินปัสสาวะและโรคเกี่ยวกับเพศในตำรายาแผนโบราณของจีน มีการนำราก เมล็ด และดอกกระเจี๊ยบ มาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศอินเดียนั้นจะใช้ฝักนำมาต้มกับน้ำดื่ม เพื่อช่วยขับปัสสาวะ เมื่อมีอาการกระเพาะปัสสาวะและทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือเมื่อปัสสาวะขัด นอกจากนี้ ชาวอินเดียยังทานฝักกระเจี๊ยบ เพื่อรักษาโรคหนองใน และนำรากต้นกระเจี๊ยบ มาต้มน้ำเพื่อใช้รักษาโรคซิฟิลิส ด้วย

 



ผู้ตั้งกระทู้ mimii888 (lelemimi76-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-03-21 13:24:19 IP : 116.212.148.49


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.