ReadyPlanet.com


นักวิทย์ฯไขปริศนาผนังคอนกรีตโรมัน ทำไมอยู่มานานกว่า 2,000 ปี


 บทความจากนิตยสาร Time ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนาความคงทนของผนังคอนกรีตโรมันได้แล้ว พร้อมกับนำมาศึกษาต่อว่าสามารถนำไปใช้ในกระบวนการทำคอนกรีตปัจจุบันอย่างไรได้บ้าง ซึ่งโคลอสเซียม 1ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ก็ทำมาจากสิ่งนี้

ผนังคอนกรีตที่มีความทนทาน จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จของวิศวกรรมโรมัน ที่แสดงให้เห็นถึงความเก่งกาจในการก่อสร้างและภูมิปัญญาที่รู้จักเลือกใช้วัสดุอย่างเหมาะสม ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาคือความทนทานยาวนานนับศตวรรษ

ผนังคอนกรีตในปัจจุบัน จะเสื่อมและสลายไปราว 50 ปี

ถึงแม้ยุคปัจจุบันจะมีผู้จัดจำหน่ายผนัง http://www.ecolite.co.th/ ที่มีความทนทานและมีคุณภาพ ทว่าผนังคอนกรีตส่วนใหญ่ที่พบเห็นในสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ทั้งสะพาน อาคาร ถนนหนทาง เมื่อเวลาผ่านไปสัก 50 ปี ก็จะเสื่อมสลายลงไปทันที แต่เมื่อย้อนกลับไปดูในอดีตที่ผ่านมาก็จะพบว่าสิ่งก่อสร้างที่ถกสร้างขึ้นมีความทนทานกว่านี้มาก โดยเฉพาะในยุคของจักรวรรดิโรมันโบราณตะวันตก

สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่ใช้ผนังคอนกรีตในยุคโรมันโบราณ ที่ต้องสัมผัสกับความเค็มของทะเลมาเป็นเวลานาน ล่วงเลยมาถึงวันนี้ มาพร้อมกับคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนได้มากกว่าคอนกรีตทั่วไป เช่น ท่าเทียบเรือ หรือเขื่อนกันลมของโรมันที่สเปน ก็ยังคงยืนหยัดมานานกว่า 2000 ปี

ความลับของผนังคอนกรีตโรมันที่ทนทาน มาจากส่วนผสมเพียงไม่กี่อย่าง

งานวิจัยของ มารี ดี. แจ็กสัน หัวข้อเรื่อง “สารฟิลิปไซต์และสารอัล-โทเบอร์มอไรต์ในซีเมนต์ที่เกิดขึ้นกับน้ำเย็นและหินในสิ่งก่อสร้างทางทะเลของโรมันที่เข้าถึงแบบเปิด ระบุว่า กำแพงริมทะเลของโรมันที่ถูกสร้างขึ้นราว 2,000 ปี ทนทานต่อองค์ประกอบที่กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี

ที่เป็นเช่นนี้เพราะผนังคอนกรีตของโรมันใช้ส่วนผสมอย่าง เถ้าภูเขาไฟ ปูนขาว และแร่ธาตุที่เรียกว่า อลูมิเนเรียม โทเมอร์มอไรต์ (aluminium tobermorite) ทั้ง 3 สิ่งนี้ช่วยให้คอนกรีตของโรมันแข็งแกร่งและป้องกันการแตกจากการขยายตัวได้

เมื่อน้ำทะเลซึมผ่านเข้าคอนกรีต ก็จะทำปฏิกิริยากับเถ้าภูเขาไฟและผลักแร่ธาตุต่าง ๆ จนเกิดเป็นสาร Al-tobermorite และแร่ธาตุที่มีรูพรุน ที่เรียกว่าสารฟิลิปไซต์ (phillipsite) โดยปฏิกิริยาที่เกิดจากน้ำทะเลซัดเข้าใส่สิ่งก่อสร้างอย่างต่อเนื่องร้อย ๆ ปี ก็ทำให้ส่วนผสมซิลิกาออกไซด์และปูนขาวผสานกันกับหินภูเขาไฟ รวมถึงส่วนผสมคอนกรีต จนเกิดเป็นความทนทานต่อการกัดกร่อนของความเค็มน้ำทะเลขึ้นมา.



ผู้ตั้งกระทู้ ืืืneungreungtaicpe (neungreungtaicpe-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2021-05-05 18:19:15 IP : 184.22.98.199


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.